PEACE TV LIVE

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สุเทพตอแหล กลางสภา วันที่19พค.53 ไม่มีทหารอยู่บน รางรถไฟฟ้า BTS


สุเทพตอแหล กลางสภา วันที่19พค.53 ไม่มีทหารอยู่บน รางรถไฟฟ้า BTS
---------------------------------------
ใน เวลา 18.30น. (วันที่19พค.53)ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารของเราบนรางรถไฟฟ้า บีทีเอส
ภาพนี่เป็นภาพที่ถ่ายในวันที่20พฤษภาคมเพื่อคุมกันประชาชนให้ออกจากวัดปทุมวัน






ทหารรับยิงปืนเอ็ม 16 เข้าไปในวัดปทุมฯ

ศาลอาญากรุงเทพใต้ เบิกตัว ทหารรบพิเศษ 3 ที่ประจำการบนรางรถไฟฟ้าสยามสแควร์ 3 นาย ขึ้นไต่สวนการตาย 6 ศพ ที่วัดปทุมวนาราม ช่วง ศอฉ.กระชับพื้นที่ปี 2553  รับยิงปืนเอ็ม 16 รุ่น เอ 2 ใช้กระสุนจริงเข้าไปในวัด เพื่อสกัดชายชุดดำที่มีอาวุธ แม้จะรู้ว่ามีผู้ชุมนุมอยู่ในนั้น 

คำเบิกความของพันโทนิมิตร วีระพงศ์ อดีตหัวหน้าชุดทหารรบพิเศษ ที่ปฏิบัติการบนรางรถไฟฟ้าสถานีสยาม ระหว่างวันที่ 18 และ 19 พฤษภาคม  2553 ช่วงปฏิบัติการกระชับพื้นที่ผู้ชุมนุมของ ศอฉ. ซึ่งเขายอมรับว่า ทหารบนรางรถไฟฟ้ายิงปืนเอ็ม 16 รุ่น เอ 2 ใช้กระสุน เอ็ม 855 หรือขนาด 5.56 เข้าไปในวัดปทุมวนาราม เพื่อสกัดชายชุดดำที่มีอาวุธแฝงตัวอยู่ในนั้น และเป็นการคุ้มกันทหารจากกองพันทหาราบที่ 31 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติการเคลียร์พื้นที่ บนถนนพระรามที่ 1 ใต้รางรถไฟฟ้า แม้จะรู้ดีว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ภายในวัด

การยอมรับว่า ใช้กระสุนปืนจริงและยิงเข้าไปในวัด ของหัวหน้าชุดปฏิบัติการ ในการไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา , นายอัฐชัย ชุมจันทร์ ,  นายมงคล เข็มทอง , นายรพ สุขสถิต , นางสาวกมนเกด อัคฮาด  และนายอัครเดช ขันแก้ว ผู้เสียชีวิตที่ 6 ทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ในเหตุการณ์กระชับพื้นที่ของศอฉ. ที่วันนี้ (14 ก.พ.56) อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 เบิกตัว พันโทนิมิตร , จ่าสิบเอกสมยศ ร่มจำปา และสิบเอกเดชาธร มาขุนทด ทหารจากกองพันชุดจู่โจม รบพิเศษ 3 ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี ซึ่งวันเกิดเหตุปฏิบัติหน้าที่บนรางไฟฟ้าฟ้าและมีภาพปรากฏในคลิปหลักฐาน

พันโทนิมิตร ยืนยันว่า ทหารรบพิเศษ 3 ชุดที่ประจำบนรางรถไฟฟ้า ล้วนมีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธสงครามและรบในเมือง ก่อนเข้าร่วมปฏิบัติการกับ ศอฉ. ได้ผ่านการฝึกควบคุมฝูงชน และได้ปฏิบัติการตามกฎการใช้กำลังจากเบาไปหาหนัก

โดยหลังเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนซึ่งมีทหารเสียชีวิตที่บริเวณ 4 แยกคอกวัว ทำให้ ศอฉ. อนุญาตให้ทหารใช้กระสุนจริงโต้ตอบกลุ่มติดอาวุธที่ทำร้ายเจ้าหน้าที่

สอดคล้องกับคำให้การของจ่าสิบเอกสมยศ ซึ่งวันนั้นเขารับหน้าที่เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการบนรางรถไฟฟ้า คุมกำลัง 5 นาย รับว่า เขาและลูกน้องยิงตอบโต้ชายชุดดำ ผ่านช่องว่างที่กำบังรางรถไฟฟ้าลงไปที่บริเวณกำแพงวัด หลังรับแจ้งผ่านวิทยุว่า มีชายชุดดำ 4 คนยิงปืนใส่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณนั้นแล้วหลบเข้าไปภายในวัด

คดีนี้ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนทุกวันพฤหัสบดีไปจนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม และจะมีคำสั่งในคดีต่อไป
 http://news.voicetv.co.th/thailand/63181.html


 
 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่ง 6 ศพวัดปทุมฯ ชี้ตายจากทหาร ยันไม่มีชายชุดดำ "ทหารค่ายเอราวัณ"ยันรับคำสั่งจากศอฉ.
ศาลออกนั่งบัลลังค์อ่านคำสั่งคำ ร้องชันสูตรการเสียชีวิต คดีหมายเลขดำที่ ช.5/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของนายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี เกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3 นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี พนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4 น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี พยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5 และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตบริเวณวัดปทุมวนาราม ใกล้แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ช่วงสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้องและญาติผู้ตายทั้งหก อันประกอบด้วยประจักษ์พยาน พยานแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ตายที่ 1 และที่ 3-6 ถึงแก่ความตายเพราะถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ขนาด .223 หรือ 5.56 มิลลิเมตร(มม.) จากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันจู่โจม กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ ที่ประจำการอยู่บนรถไฟฟ้า และผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายเพราะถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ขนาด .223 หรือ 5.56 มิลลิเมตร จากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ที่ประจำการอยู่บนถนนพระรามที่ 1 โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน จากกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ตรวจสอบภายในวัดปทุมฯ และบริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส พบรอยคล้ายถูกอาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุหลายนัด และเมื่อพิจารณาจากผลการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตทั้งหกคนประกอบได้ความว่า ด้านหลังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสมีเพียงอาคารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแห่งเดียว และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าเพียง 100 เมตร หากยิงจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องผ่านสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงเป็นไปไม่ได้ที่กระสุนปืนจะยิงมาจากอาคารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นายเบิกความไปในทำนองเดียวกันว่า พยานได้อยู่บนชั้น 12 อาคาร 19 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ยินเสียงปืนดังหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายเก็บไว้ และยังเห็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสบริเวณหน้าวัด ปทุมฯ ใช้ปืนยิงไปที่กลุ่มผู้ชุมนุมโดยไม่มีการต่อสู้ และไม่มีท่าทีหลบกระสุน
นอกจากนี้ ทหารสังกัดกองพันจู่โจม กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ เบิกความยอมรับว่าได้รับคำสั่งจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)ให้ ปฏิบัติหน้าที่บนรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ โดยคุ้มกันเจ้าหน้าที่ทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ที่อยู่บนถนนพระราม 1 ซึ่งใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ชนิด เอ4 และเอ2 บนรางบีทีเอสชั้น 1-2 กระทั่งเวลา 15.00 น. วันที่ 19 พ.ค.2553 มีชาย 2 คนใช้ปืนยิงใส่เจ้าพนักงานที่ยืนประจำอยู่แยกเฉลิมเผ่า จากนั้นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ได้เคลื่อนย้ายไปบริเวณหน้าวัดปทุมฯ และเจ้าหน้าที่ทหารได้ใช้ปืนยิงไปที่ตอหม้อและกำแพงวัดปทุมฯ หลายนัด โดยอ้างว่าเห็นชายชุดดำยืนอยู่ แต่เมื่อพิจารณาภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเคลื่อนไหวบน รางรถไฟฟ้าบีทีเอส นอกจากทหารสังกัดกองพันจู่โจมฯ เท่านั้น และเมื่อพิจารณาวัตถุของกลางจากการผ่าพิสูจน์ชันสูตรศพผู้ตายพบเครื่อง กระสุนและเศษกระสุนปืนทองแดงหุ้มเหล็ก ขนาด .223 หรือ 5.56 มม. โดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนจากกรมสรรพวุธ เบิกความว่ากระสุนดังกล่าวใช้กับอาวุธปืนเอ็ม 16 ชนิดเอ4 และเอ 2 ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายของทหารและตำรวจที่ใช้ในการสงคราม ทหารหน่วยกองพันจู่โจมฯ ก็ใช้อาวุธปืนดังกล่าวด้วย แม้ว่าสน.ปทุมวันจะส่งเศษกระสุนไปพิสูจน์เปรียบเทียบที่สำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ และผลตรวจปรากฎว่าเศษกระสุนที่พบไม่ได้ใช้ยิงจากปืนดังกล่าว ซึ่งพยานยันยืนยันอีกว่า การตรวจอาวุธปืนได้ส่งไปตรวจหลังเกิดเหตุเป็นเวลานาน อีกทั้งชิ้นส่วนของปืนสามารถถอดประกอบได้ หากมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนก็ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับเศษกระสุนได้ และทุกครั้งที่ใช้งานจะต้องทำความสะอาด ทำให้ร่องรอยเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้ไม่ปรากฏว่าตรงกับความจริง
ส่วนประเด็นที่อ้างว่ามีชายชุดดำในที่เกิดเหตุ โดยทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 เบิกความว่าเห็นชาย 2 คนที่ตอหม้อรถไฟฟ้าบีทีเอสใช้ปืนยิงมานั้น เห็นว่า ขณะเกิดเหตุเป็นช่วงเวลากลางวัน มีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีภาพชายชุดดำมาแสดงเพียงภาพเดียว และไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงต่อสู้ คำเบิกความมีพิรุธน่าสงสัย และเจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำการอยู่ใกล้กันยังเบิกความว่า ไม่พบใครอยู่บริเวณดังกล่าว จึงไม่ได้ใช้ปืนยิง ซึ่งหากมีชายชุดดำยืนอยู่จริง คงไม่ปล่อยให้เจ้าพนักงานทหารยิงต่อสู้ เพียงลำพังนานถึง 40 นาที คงต้องเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน อีกทั้งทหารที่ประจำการอยู่บนรถไฟฟ้าบีทีเอสเบิกความยอมรับว่า ขณะปฏิบัติหน้าที่ไม่มีชายชุดดำในวัดปทุมฯ จึงไม่ได้ใช้ปืนยิงต่อสู้ แสดงให้เห็นว่าพยานที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐให้การขัดแย้งกันเอง จึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ และที่พยานซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเห็น ปากกระบอกปืนในกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น ตรวจสอบพบว่าก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ทหารได้พาพยานไปที่ค่ายทหารแห่งหนึ่ง เพื่อรับเงินและนำตัวไปให้ตำรวจสอบปากคำ เห็นว่าทหารได้พาพยานไปสอบสวนเองไม่ใช่เป็นการสมัครใจของพยานและยังมีการให้ เงินจูงใจ พยานปากนี้จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังได้
สำหรับประเด็นการตรวจคราบเขม่าดินบนนิ้วมือผู้ตาย ที่ผลตรวจของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และกองพิสูจน์หลักฐาน (พฐ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติต่างกัน เห็นว่าพยานจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เบิกความว่า ได้รับการประสานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษให้เข้าไปตรวจสอบคราบเขม่าดินปืนของผู้ ตายทั้ง 6 ศพ โดยเข้าไปถึงในพื้นที่เป็นหน่วยงานแรก และการตรวจได้บันทึกและแสดงวิธีการจัดเก็บอย่างละเอียด ขณะที่ผลตรวจสอบพฐ.ไม่ได้แสดงว่ามีการจัดเก็บสำลีพันปลายแหลมเมื่อใด เวลาใด และอย่างไร เหตุดังกล่าวผลตรวจของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่า พฐ. เชื่อว่ามือทั้งสองข้างของผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ศพไม่มีคราบเขม่าดินปืนและไม่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืน
สำหรับอาวุธปืนพยานเบิกความว่าในระหว่างการชุมนุมศอฉ.ได้ ตั้งด่านตรวจเข้มแข็ง และมีการประกาศห้ามไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาในพื้นที่ รวมทั้งสั่งห้ามใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำและทางบก รวมถึงระงับการเดินรถไฟฟ้าบริเวณโดยรอบการชุมนุม และห้ามนำอาวุธเข้ามาบริเวณที่ชุมนุมจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นว่าการตั้งด่านเข้มแข็งย่อมเป็นไปได้ยากที่คนจะนำอาวุธเข้ามาใน พื้นที่ที่ควบคุมได้ เพราะแม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ทหารจะอนุญาต และวันที่ 19 พ.ค.2553 ทหารได้ยึดพื้นที่ทั้งหมด แต่ไม่พบว่าสามารถตรวจยึดอาวุธปืนและจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมดำเนินคดี ต่อมาได้มีการตรวจยึดอาวุธปืนหลังยุติการชุมนุมมาเป็นเวลานานหลายเดือน การตรวจยึดจึงเป็นข้อพิรุธ จึงไม่น่าเชื่อว่าพบอาวุธปืนในวัด
ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ตายที่ 1- 6 ถึงแก่ความตายในวัดปทุมฯ เวลากลางวัน เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 เหตุและพฤติกรรมที่ตาย เนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หรือ 5.56 มม. ซึ่งวิถีกระสุนมาจากเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยบน รางรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณระหว่างถนนพระราม 1 และหน้าวัดปทุมฯ ในการควบคุมพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ตามคำสั่งของศอฉ. เป็นเหตุให้ผู้ตายที่ 1 มีบาดแผลกระสุนปืนทะลุปอดและหัวใจเสียโลหิตปริมาณมาก ผู้ตายที่ 2 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด ผู้ตายที่ 3 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด หัวใจ และตับ ผู้ตายที่ 4 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอดและตับ ผู้ตายที่ 5 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง และผู้ตายที่ 6 มีบาดแผลกระสุนทะลุในช่องปาก โดยยังไม่ทราบว่าใครทำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสำนวนการชันสูตรพลิกศพคดีนี้ถือเป็นสำนวนที่ 10 ที่ศาลมีคำสั่งหลังจากที่ก่อนหน้านี้ทั้งศาลอาญา และศาลอาญากรุงเทพใต้มี คำสั่งชี้สาเหตุการตายของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมไปแล้ว 9 ราย ประกอบด้วย นายพัน คำกอง ( ถูกยิง ถนนราชปรารภ 14 พ.ค.2553 ) , ด.ช. คุณากร ศรีสุวรรณ (ถูกยิง ถนนราชปรารภ วันที่ 14 พ.ค.2553 ) , นายมานะ อาจราญ (ถูกยิงในสวนสัตว์เขาดิน วันที่ 10 เม.ย.2553) , พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ (ถูกยิงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดอนเมือง วันที่ 28 เม.ย.2553 ) , นายชาติชาย ชาเหลา ( ถูกยิง ถนนพระราม 4 วันที่ 13 พ.ค.2553 ) , นายบุญมี เริ่มสุข (ถูกยิง ถนนพระราม 4 วันที่ 14 พ.ค.2553 ) , นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ( ถูกยิง ถนนพระราม 4 วันที่ 14 พ.ค.2553 ) ,นายชาญณรงค์ พลศรีลา ( ถูกยิง ถนนราชปรารภ วันที่ 15 พ.ค.2553 ) และนายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี (ถูกยิงเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 บริเวณแยกศาลาแดง) จากสำนวนที่ขณะนี้มีการยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพกรุงเทพใต้ และศาลอาญาแล้วทั้งสิ้น 24 ราย ซึ่งคดีที่ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาล 9 ราย ประกอบด้วย นายวสันต์ ภู่ทอง , นายสยาม วัฒนนุกุล , นายจรูญ ฉายแม้น , นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ (Hiroyuki Muramoto) และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ที่ถูกยิง ถนนดินสอ วันที่ 10 เม.ย.2553 , นายพรสวรรค์ นาคะไชย และ นายมานะ แสนประเสริฐศรี ที่ถูกยิง ถนนพระราม 4 วันที่ 15 พ.ค.2553 , นายประจวบ ประจวบสุข และ นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล ที่ถูกยิง ถนนพระราม 4 วันที่ 16 พ.ค.2553
นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความ กล่าวภายหลังฟังคำสั่งว่า จากคำสั่งของศาลการตายในแต่ละศพ พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และพยานบุคคลยืนยันชัดเจนว่าเกิดขึ้นจากการ กระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งคดีนี้ถือว่ามีความชัดเจน โดยกระบวนการกฎหมายหลังจากนี้ศาลจะส่งคำสั่งไปให้อัยการ และอัยการจะส่งสำนวนกลับไปให้พนักงานสอบสวนของดีเอสไอ ซึ่งเป็นสำนวนคดีหลัก เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป โดยทางพนักงานสอบสวนจะพิจารณาพยานหลักฐานและตั้งข้อหาอีกครั้ง
ขณะที่ญาติผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่รู้สึกพอใจกับคำสั่งของศาล โดยนางพะเยาว์ ฮัคฮาด แม่ของน.ส.กมนเกด กล่าวว่า คำสั่งของศาลวันนี้ทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น เพราะมีรายละเอียดมากกว่าคดีอื่นๆ และมีความชัดเจนว่าฝ่ายไหนเป็นคนยิง ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ดีว่าไม่ควรนิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำ เกินความเหตุ อยากให้กฎหมายนิรโทษกรรมควรลงลึกไปในรายมาตราไม่นิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ รัฐที่กระทำเกินกว่าเหตุ
ด้านพ.ต.ท.ธีระวัฒน์ ชุมจันทร์ ญาตินายอัฐชัย กล่าวว่า ถือเป็นความพอใจในคำสั่งของศาล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรมเบื้องต้น และอยากฝากถึงคนที่สั่งฆ่าและคนยิงบุคคลเหล่านี้เขามีพ่อแม่ที่ยังรู้สึก โกรธแค้น และจะรอจนกว่าพวกที่ยิงจะได้รับโทษ
ขณะที่นายถวิล ใสยลำเพราะ ลุงของนายอรรคเดช กล่าวว่า ยังไม่พอใจกับคำสั่งเท่าไหร่ เพราะคนกระทำผิดยังไม่ถูกลงโทษ อยากให้คนกระทำผิดถูกลงโทษเสียก่อน หากไม่มีคนสั่งยิงก็ไม่มีคนตาย ตอนนี้ตนยังรู้สึกเสียใจอยู่
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. กล่าวว่า พอใจกับคำสั่งของศาลที่ระบุว่าการเสียชีวิตเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้า หน้าที่ที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าบริเวณถนนพระราม 1 ตามคำสั่งของศอฉ. ซึ่งผอ.ศอฉ.จะ ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคำสั่งของศาลยังมีความชัดเจนว่าไม่มีชายชุดดำในที่ชุมนุม และไม่มีคราบเขม่าดินดินบนนิ้วมือของผู้ตาย รวมถึงไม่มีอาวุธปืนด้วย
นางธิดา ยังกล่าวถึงร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนปช.และร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทยว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมทั้งสองฉบับไม่ได้นิรโทษกรรมให้ทหาร เพราะเท่ากับจะเป็นการยกโทษให้คนกระทำผิดในการฆ่าประชาชน ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้คนที่กล่าวหาว่า กลุ่ม นปช.ฆ่าคน เอาหลักฐานมายืนยัน และแสดงความรับผิดชอบในคำพูด ตนมองเห็นปัญหาตั้งแต่การออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยมีการเขียนไว้ชัดเจนว่าเป็นการคุ้มครองให้ทหาร แต่ไม่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ทหารที่กระทำเกินกว่าเหตุ จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องเขียน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้ทหารอีกครั้งหนึ่ง
นางธิดา ยังได้กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณว่า เชื่อว่าในวันพรุ่งนี้(7 ส.ค.)จะไม่มีความรุนแรง เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้วิธีถือดอกไม้และเดินตามหลังส.ส. เพราะฉะนั้นก็จะไม่มีความรุนแรง แต่อาจจะมีภาพแปลกๆออกมาในการชุมนุม อย่างไรก็ตามตนก็อยากรู้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการอย่างไรถ้ากลุ่มผู้ ชุมนุมใช้วิธีถือดอกไม้เดินตามส.ส. ทั้งนี้ยืนยันว่านปช.จะไม่ออกมาเคลื่อนไหวใดๆทั้งสิ้น จะยังคงอยู่ในที่ตั้ง
 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20130806/521769/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%896%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%87.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk