PEACE TV LIVE

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ด่วน!!! ภาพหลุดพิมพ์ลายนิ้วมือ นช.อภิสัตว์ มาอีกแล้ว



ประมวลภาพ ชาวคอนเนกติกัตจัดพิธีไว้อาลัยเหยื่อกราดยิง 26 ศพในโรงเรียนประถม

วันนี้ ( 15 ธ.ค. ) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองนิวทาวน์ รัฐคอนเนกติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ชาวเมืองนิวทาวน์จำนวนมากเดินทางไปรวมตัวกันยังโบสถ์ประจำเมือง เพื่อจุดเทียนไข และร่วมกันสวดมนต์เพื่อไว้อาลัยให้แก่ผู้เสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมกราดยิงภาย ในโรงเรียนประถมศึกษาแซนดี้ ฮุค ที่ทำให้นักเรียนเสียชีวิต 20 ศพ และครูอีก 6 ศพ รวมถึงครูใหญ่

พระคุณเจ้าโรเบิร์ต ไวซ์ แห่งโบสถ์ เซนต์โรสแห่งลิมา ซึ่งเป็นศาสนสถานนิกายคาทอลิกประจำเมืองนิวทาวน์ เป็นผู้กล่าวนำในการไว้อาลัยและสวดมนต์ รวมถึงการยืนสงบนิ่ง ที่มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากจนล้นออกไปภายนอกอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในอาการตื่นตระหนก หลายรายจับมือกันแน่นระหว่างเข้าร่วมในพิธี

ด.ญ.อเล็กซิส วาซิค วัย 8 ขวบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแซนดี้ ฮุค หนึ่งในนักเรียนผู้รอดชีวิตจากเหตุกราดยิงที่เลวร้ายที่สุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์สหรัฐ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นว่า เธอและเพื่อนๆตกใจมากและพากันร้องไห้ ทันทีที่ได้ยินเสียงกระสุนนัดแรก ดังมาจากห้องเรียนที่อยู่ติดกัน ขณะที่ครูรีบพาเธอและเพื่อนๆออกจากห้องเรียนไปซ่อนตัวในห้องน้ำ และตู้ล็อคเกอร์ ก่อนที่มือปืนจะมาถึงห้องเรียนของเธอ

อเล็กซิสกล่าวต่อว่า เธอรู้สึกกลัวจนตัวสั่น ขณะที่หลบอยู่ภายในห้องน้ำตามคำสั่งของครู จนกระทั่งได้ยินเสียงตำรวจจำนวนมาก ซึ่งเธอรอจนกระทั่งตำรวจสองถึงสามนายพังประตูห้องน้ำที่ล็อคอย่างแน่นหนา เพื่อเข้ามาช่วยเหลือเธอและเพื่อนๆ

ขณะที่ด.ช.เบรนแดน เมอร์เรย์ กล่าวว่า กำลังเรียนวิชาพลศึกษาอยู่ขณะเกิดเหตุ ครูได้สั่งให้ตนและเพื่อนๆวิ่งหาที่กำบังทันที ซึ่งตนไม่รู้ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าใดจนได้ยินเสียงตำรวจจำนวนมากทยอยเคาะ และพังประตูทีละห้อง เพื่อช่วยเหลือตนและเพื่อนๆ ให้ไปรวมกันอยู่ด้านนอก เจ้าหน้าที่สั่งให้ทุกคนเอามือปิดตาตลอดทาง ก่อนออกมาพบผู้ปกครองจำนวนมากมารออยู่

ด้านนายโรเบิร์ต ลิคาตา หนึ่งในผู้ปกครอง กล่าวว่า บุตรชายวัย 6 ขวบเห็นมือปืนลั่นไกสังหารครูต่อหน้าต่อตา ซึ่งมือปืนไม่ปริปากเลยแม้แต่คำเดียว แต่บุตรชายอาศัยจังหวะชุลมุน วิ่งพาเพื่อนจำนวนหนึ่งหลบหนีออกมาด้วยกัน

รายงานล่าสุดของเจ้าหน้าที่ยืนยันแล้วว่า มือปืนคือนายอดัม แลนซา วัย 20 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนดีเด่น แต่มีปัญหาทางจิต สังหารนางแนนซี แลนซา ผู้เป็นมารดา เสียชีวิตภายในบ้านพัก ก่อนขับรถของมารดาไปยังโรงเรียนแล้วใช้ปืน 3 กระบอก ในจำนวนนี้รวมถึงปืนไรเฟิล .223 คาลิเบอร์ ก่อเหตุสะเทือนขวัญดังกล่าว และยิงปลิดชีพตัวเองหนีความผิด ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้เพิ่มเป็น 28 ศพ
 http://www.dailynews.co.th/world/172506

คำต่อคำ "นิค นอสติทซ์" ในโซนฆ่าฟัน เมษาเลือด










นิค นอสติทซ์ ในโซนฆ่าฟัน
แปลจาก Nick Nostitz in the killing zone, ตีพิมพ์ครั งแรกบนเว็บไซต์ New Mandala,
http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/05/16/nick-nostitz-in-the-killing-zone/ โดย
สฤณี อาชวานันทกุล
งา
http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/wp-content/uploads/2010/06/nostitz-killing-Thai.pdf

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๙ (สาวตรี สุขศรี)บทเรียนจากคำพิพากษายกฟ้องคดี 112 (คดีสุรภักดิ์)

  http://www.enlightened-jurists.com/blog/73

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๙ (สาวตรี สุขศรี)

30 November 2012
Blog Icon
บทเรียนจากคำพิพากษายกฟ้องคดี 112 (คดีสุรภักดิ์)
สาวตรี สุขศรี
เกริ่นนำ

หลาย คนที่ติดตามสถานการณ์หรือสังเกตการณ์กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศ ไทยอยู่ คงรู้สึกสงสัย หรือตั้งคำถามในใจว่า เป็นไปได้ด้วยหรือที่การยกฟ้องจำเลยในคดีมาตรา 112 จะเกิดขึ้นได้ในพ.ศ.นี้ ภายหลังพบว่าในเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 2555 ณ ศาลอาญา รัชดา1 ผู้พิพากษาออกนั่งบัลลังก์แล้วอ่านคำพิพากษาให้ยกฟ้องคดี ซึ่งมีนายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) เป็นจำเลย ด้วยข้อหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และ มาตรา 3, 14, 17 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (ต่อไปจะเรียกว่า คดีสุรภักดิ์) ด้วยเหตุผลว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ยังมีความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2 

หากจะกล่าวกันจริง ๆ แล้ว ในบรรดาคดีที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  (โดยจะมีข้อหาอื่น เช่น ข้อหาตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ 2550 ด้วยหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา คดีสุรภักดิ์ไม่ใช่คดีแรกที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย เพราะ...

  คดีนพวรรณ (ต) หรือที่บางคนรู้จักในชื่อ "คดี Bento" ศาลชั้นต้น (อ.599/2554) ก็มีคำพิพากษายกฟ้องเช่นกัน ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกันว่า โจทก์ไม่สามารถสืบพิสูจน์จนสิ้นสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด2  แต่สาเหตุที่ทำให้คดีสุรภักดิ์อยู่ในความสนใจมากกว่าคดี Bento อาจเป็นเพราะว่า คดีที่ตัดสินหรือสิ้นสุดลง (โดยศาลไม่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด) ไปก่อนหน้าคดีสุรภักดิ์  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสามัญชนเป็นจำเลย และได้รับความสนใจจากสาธารณะชน อาทิ คดีดา ตอร์ปิโด3, คดีสุวิชา (ท่าค้อ)4, คดีบุญยืน5, คดีธันย์ฐวุฒิ (หนุ่ม นปช.)6, คดีโจ กอร์ดอน7, คดีจีรนุช (ประชาไท)8 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีอำพล (อากง SMS)9  ทุกคดีล้วนแล้วแต่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลย หรือจำเลยถอดใจไม่สู้คดี และหันไปขอพระราชทานอภัยโทษทั้งสิ้น กระทั่งคดีมาตรา 112  คดีล่าสุดที่พึ่งตัดสินไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 (ภายหลังคดีสุรภักดิ์) หรือคดีอุทัย (แจกใบปลิว)10 ศาลก็พิพากษาลงโทษจำเลยเช่นกัน แม้จะให้รอลงอาญาไว้ก็ตามที ดังนั้น ผลของคดีสุรภักดิ์จึงมีความน่าสนใจยิ่ง ว่าในช่วงที่ประเทศไทยตกอยู่ในบรรยากาศของการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างมากชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน ในบรรยากาศของการกล่าวหากันด้วยข้อหา "ล้มเจ้า" หรือในบรรยากาศที่มีการปะทะกันทางความคิดของมวลชนฝ่ายหนึ่งที่เรียกร้องให้ ยกเลิก หรือแก้ไขมาตรา 112 กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ห้ามแตะต้องมาตรานี้โดยเด็ดขาด แล้วเหตุใดจำเลยในคดีประเภทนี้จึงได้รับการพิพากษายกฟ้อง

กล่าวในทางกฎหมายอาญานั้น การพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุผลว่า โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่มี "ภาระการพิสูจน์" ไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นจนสิ้นสงสัยได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษอาญา ซึ่งเป็นโทษที่รุนแรงและกระทบกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างมากได้ จำเป็นต้องมีข้อเท็จจริงยืนยันได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดที่แท้ จริง หรือการกระทำของเขาเป็นความผิดโดยไม่มีเหตุยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษ (มาตรา 185 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) หากยังมีเหตุอันควรสงสัยอยู่ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำจริงหรือไม่ ศาลจำเป็นต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย กล่าวคือ ยกฟ้องจำเลยไป สอดคล้องกับสุภาษิตกฎหมายที่ว่า "ปล่อยคนผิดสิบคนดีกว่าจับ หรือลงโทษผู้บริสุทธิ์เพียงคนเดียว"  อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏว่าการพิจารณาและพิพากษาคดีมาตรา 112 ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีอากง SMS  ซึ่งมี นายอำพล ตั้งนพกุล (เสียชีวิตไปแล้วขณะอยู่ในเรือนจำ)  กลับถูกตั้งคำถามอย่างมากจากสังคม ว่าการบังคับใช้กฎหมายของศาลเป็นไปตาม "หลักการ" ดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้เพราะจำเลยในคดีนี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือส่งข้อความ สั้น (SMS) ที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ โดยไม่มีประจักษ์พยาน ในขณะที่พยานแวดล้อมกรณีเองก็มีจำนวนไม่มาก และไม่น่าจะมีน้ำหนักเพียงพอ  แต่ศาลก็ยังพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยถึง 20 ปี ท่ามกลาง "ความสงสัย" หลายข้อที่แม้แต่ตัวคำพิพากษาเองก็ไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างแจ้งได้ แน่นอนว่า ด้วยผลของคำพิพากษาของคดีอำพล ได้ก่อกระแสต่อต้านและสร้างความไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมให้เกิด ขึ้นในหมู่ประชาชนที่ติดตามคดีประเภทนี้อยู่  รวมทั้งเคลือบแคลงในอุดมคติ ทัศนะคติ อคติ กระทั่งความเป็นอิสระในการใช้ดุลพินิจของทั้งผู้พิพากษา อัยการ และพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดีมาตรา 112  ในฐานะที่ผู้เขียนติดตามคดีประเภทนี้มาบ้าง รวมทั้งได้รับรู้ถึงแนวคิด และขั้นตอนการต่อสู้ในคดีสุรภักดิ์ ซึ่งเป็นคดีที่มีประเด็นทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้วย จึงเห็นควรวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้คดี รวมทั้งบทบาทและการทำหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องถอดไว้เป็นบทเรียน หรือกรณีศึกษาต่อไป       

อนึ่ง บทเรียนชิ้นนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับบทบัญญัติมาตรา 112 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องอัตราโทษที่รุนแรงเกินไปและขัดกับหลักความได้สัดส่วน  ไม่เปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้ตามความเหมาะสมแห่งความ เสียหาย และความร้ายแรง ในขณะที่กลับเปิดโอกาสให้ใครก็ได้เป็นผู้กล่าวโทษ ทั้งยังไม่มีบทมาตราใดอนุญาตให้จำเลยพิสูจน์ถึงการวิพากษ์วิจารณ์อย่าง สุจริตที่ยังอยู่ในกรอบแห่งรัฐธรรมนูญ และแนวทางประชาธิปไตย  นอกจากนี้ ผู้เขียนยังไม่เห็นด้วยกับลักษณะการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้โดยไม่คำนึงถึง สิทธิในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาหรือจำเลย ด้วยการไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการประกันตัว โดยอ้างว่าเป็นความผิดต่อความมั่นคง หรือการละเลย ย่อหย่อนในการแจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหา เพราะพฤติการณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไม่เป็นไปตามหลักแห่งวิธีพิจารณาความอาญา ที่ "ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเขาเป็นผู้กระทำความผิด" (Presumption of Innocence) อย่างไรก็ตาม ณ เวลาปัจจุบัน ที่กฎหมายมาตรานี้ยังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ผู้เขียนยังคงเห็นว่า หากข้อความที่เผยแพร่เข้าข่ายเป็นความผิดจริงตามองค์ประกอบความผิด ซึ่งได้รับการตีความภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตย รวมทั้งฝ่ายผู้กล่าวหามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่า จำเลยเป็นผู้กระทำผิดจริง ไม่ใช่การกลั่นแกล้งฟ้องกัน หรือใช้มาตรานี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และไม่ใช่กรณีที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมไม่มีทางเลือกอื่นใดอีกแล้ว นอกจากต้องลงโทษ บุคคลดังกล่าวก็ควรต้องรับผิดตามมาตรานี้ แต่ในอัตราโทษที่เหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ข้อเท็จจริงแห่งคดี11

จำเลย คือ นายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) มีอาชีพโปรแกรมเมอร์ และมีบริษัทรับเขียนโปรแกรมสำหรับสำนักงานต่าง ๆ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 โดยข้อมูลจากศาลอาญาระบุว่า นายสุรภักดิ์ ถูกประชาชนรายหนึ่งกล่าวโทษกับพนักงานสอบสวนว่าเป็นเจ้าของอีเมล dorkao@hotmail.com และน่าจะเป็นคนเดียวกับเจ้าของเฟซบุคที่ตั้งชื่อเพจว่า “เราจะครองแผ่นดินโดทำรัฐประหาร”  และเขียนข้อความที่อาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ เผยแพร่ในเพจดังกล่าวจำนวน 5 ข้อความ ต่างวันและเวลากัน อันเป็นความผิด 5 กรรม ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ก็ได้รับแจ้งเบาะแสจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอีกรายหนึ่งว่า พบถ้อยคำดังกล่าวเช่นกันโดยน่าจะมีนายสุรภักดิ์ เป็นผู้สร้างหน้าเฟซบุคนี้ ตำรวจจากหน่วยงานปอท. จึงเข้าจับกุมนายสุรภักดิ์ในวันที่ 2 กันยายน 2554 เวลาประมาณ 14.00 น.  ตามที่อยู่ที่ได้รับแจ้งมา พร้อมเบาะแส รวมทั้งยึดของกลาง อันได้แก่  เครื่องคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค 1 เครื่อง, แอร์การ์ด 1 อัน, ซิมการ์ดของบริษัททูมูฟ 2 อัน, ซิมการ์ดวันทูคอล 1 อัน, แผ่นซีดีบรรจุในกระเป๋าซีดี 52 แผ่น, โมเด็มเร้าท์เตอร์ 1 เครื่อง, คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง และ แผงวงจรไฟฟ้า 1 ตัว  ซึ่งเป็นของนายสุรภักดิ์เองไปตรวจพิสูจน์

ในชั้นจับกุมและชั้นสอบ สวนจำเลยให้การปฏิเสธ และนับตั้งแต่สุรภักดิ์ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ก็ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยไม่เคยได้รับอนุญาตให้ประกันตัวเลย จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษายกฟ้องในวันที่ 31 ตุลาคม 2555  รวมระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัวทั้งสิ้นราวหนึ่งปีกับอีกหนึ่งเดือน ในชั้นพิจารณาจำเลยยื่นคำให้การโดยปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ตลอดข้อกล่าวหา และยื่นบัญชีระบุพยานเป็นพยานบุคคล 3 ปาก หนึ่งในนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ 1 ปาก ในขณะที่พยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์นำมาพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด นั้น นอกจากพยานบุคคลแล้ว ยังประกอบด้วยพยานเอกสารอีกหลายฉบับ แต่มีฉบับสำคัญ ๆ คือ

1) เอกสารภาพถ่ายหน้าจอ (Screen shot) ข้อความที่เขียนในเฟซบุคจำนวน 5 ข้อความ
2) เอกสารจากบริษัทไมโครซอร์ฟซึ่งฝ่ายโจทก์อ้างว่า แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเลขหมายประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (IP Address) ของจำเลย กับบัญชีผู้ใช้อีเมล dorkao@hotmail.com จนทำให้ทราบว่าเป็นบุคคลคนคนเดียวกัน รวมทั้ง Log File ที่บันทึกวันเวลาการลงทะเบียนเข้าใช้งานอีเมลดังกล่าว
3) เอกสารประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์โดยพนักงานสอบสวน และ
4) เอกสารที่โจทก์อ้างว่าแสดง "ข้อมูล" การเข้าใช้ทั้งอีเมล dorkao@hotmail.com และการลงทะเบียนเข้าใช้เฟซบุค "เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร" ซึ่งบันทึกอยู่ในแฟ้มเก็บบันทึกชั่วคราว (Temporary Internet File) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย

แนวทางการต่อสู้คดี และข้อค้นพบสำคัญ

คดี นี้ทนายจำเลยไม่ต่อสู้ในประเด็น "เนื้อหา" ของข้อความจำนวน 5 ข้อความที่ถูกกล่าวโทษเลย เนื่องจากเห็นว่าเป็นข้อความที่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ จริง จึงไม่มีประเด็น หรือความจำเป็นต้องกล่าวถึงเนื้อหาดังกล่าวซ้ำอีก แนวทางหลักในการต่อสู้คดีนี้จึงมุ่งเน้นที่ปัญหาว่า "จำเลย เป็นผู้เขียนหรือโพสต์ข้อความดังกล่าวในเฟซบุคจริงหรือไม่"  ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต ซึ่งทนายความโดยคำแนะนำของพยานผู้เชี่ยวชาญพบว่า พยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์มีปัญหาเรื่อง "ความแท้จริง" หรือมี "ข้อพิรุธทางเทคนิค" หลายส่วน รวมทั้งใช้วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ มาตรฐานการตรวจพิสูจน์ทาง "นิติคอมพิวเตอร์" (Computer Forensics) จนกลายเป็นสาเหตุให้เกิดความสงสัยแก่ศาล และพิพากษายกฟ้องจำเลยในท้ายที่สุด

ประเด็นสำคัญ และข้อพิรุธด้านเทคนิคต่าง ๆ มีดังนี้
   
1)  ไม่มีความชัดเจนว่า จำเลยเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ใช้อีเมล  dorkao@hotmail.com  ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นอีเมลของผู้เขียนข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามที่ฟ้องจริงหรือไม่ 

2) วิธีการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์โดยเจ้าพนักงานในคดีนี้ ไม่ได้มาตรฐานตามหลักนิติคอมพิวเตอร์ จึงขาดความน่าเชื่อถืออย่างยิ่ง

3) ข้อมูลที่ถูกอ้างว่าพบในเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง มีพิรุธ หรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้  ทั้งในแง่ของจำนวนไฟล์ที่ค้นพบ และระยะเวลาการคงอยู่ของไฟล์ดังกล่าว

4)  เฟซบุค มีนโยบายไม่อนุญาตให้บันทึกการใช้งานไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้  จึงย่อมเป็นไปไม่ได้เลย ที่โจทก์จะค้นพบไฟล์การใช้งานดังกล่าว แล้วนำมาอ้างว่าเก็บบันทึกอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย

ทั้งนี้ รายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งภาพประกอบเพื่ออธิบาย "ข้อพิรุธทางเทคนิค" ทั้ง 4 ข้อ อยู่ใน "บทเรียนขนาดยาว"  หากท่านใดสนใจศึกษา สามารถคลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดได้ที่นี่ บทเรียนจากคำพิพากษายกฟ้องคดี 112 (คดีสุรภักดิ์) หรือที่ท้ายประกาศนิติราษฎร์ฉบับนี้

ข้อวิเคราะห์บทบาท และการทำหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับคดี

ศาล หรือองค์คณะผู้พิพากษา

ปฏิเสธ ได้ยากว่า อุดมการณ์ ทัศนคติ ระดับความเป็นกลาง รวมทั้งความกล้าหาญในวิชาชีพของผู้พิพากษา มีผลอย่างมากต่อการพิจารณาคดีที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่น ประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ฯ ตามมาตรา 112  เพราะหากผู้พิพากษาผู้มีอำนาจพิจารณา และพิพากษาคดียังใช้และตีความมาตรา 112 ภายใต้แนวคิด และอุดมการณ์การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ ผู้ใดมิอาจกล่าวถึง หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้เลย ย่อมทำให้ มิเพียงแต่การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 เท่านั้นที่จะเป็นความผิด  หากแต่ยังขยายความอย่างกว้างขวางจนทำให้เพียงการพูดถึงในลักษณะที่ "ไม่เคารพ" หรือ “ไม่จงรักภักดี" (อย่างเพียงพอ) รวมทั้ง การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของพระมหากษัตริย์ฯ ในขอบเขตและความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ ถูกถือเป็นความผิดไปด้วย ซึ่งย่อมไม่ใช่ความมุ่งหมาย หรือเจตนารมณ์ของมาตรา 112  ที่ถูกตราขึ้นในยุคของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อุดมการณ์และทัศนะคติราชาชาตินิยม หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังกล่าว นอกจากถือเป็น “สิ่งที่ไม่ถูกต้อง” และไม่สอดคล้องกับระบอบการปกครองในปัจจุบันแล้ว ยังไม่เป็นมิตรกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนผู้เป็น เจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกด้วย

ทัศนคติ และอุดมการณ์เช่นว่านี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มักถูกสะท้อนออกมาในรูปของการเขียนคำพิพากษา ผ่านถ้อยคำเยินยอพระเกียรติ เทิดทูนอย่างมาก หรือสื่อเป็นนัยว่าใครก็มิอาจแตะต้องหรือกล่าวถึงสถาบันฯ ได้เลยไม่ว่าในทางใด กระทั่งเชิงตำหนิติเตียนจำเลยว่า เป็นผู้ไม่สำนึกในบุญคุณแผ่นดิน หรือขาดความจงรักภักดี ทั้ง ๆ ที่ ถ้อยคำที่สื่อถึงความนึกคิด หรืออารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ ไม่ควรปรากฎอยู่ได้เลยใน “คำตัดสินที่อาศัยหลักกฎหมาย” โดยผู้พิพากษาที่กล่าวอ้างกับสังคมเสมอมาว่าเป็นผู้ "สิ้นแล้วซึ่งอคติ" นอกเหนือจากถ้อยคำในสำนวนหรือคำพิพากษาแล้ว ในบางคดีผู้พิพากษายังถูกตั้งคำถามถึงอคติส่วนตัว จากบรรดาผู้สังเกตการณ์คดีทั้งชาวไทย และต่างประเทศด้วย ต่อการไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยประกันตัวในเกือบทุกกรณี การสั่งตัดพยานฝ่ายจำเลยจนส่งผลต่อการแพ้ชนะในคดี  รวบรัดตัดตอนการพิจารณา และที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ พิพากษาโดยไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมาย

อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาต่าง ๆ ในส่วนของศาลและผู้พิพากษานี้ ย่อมไม่อาจกล่าวได้อย่างเหมารวมไปเสียทุกคดี เพราะการพิจารณาคดีประเภทนี้ในบางคดี ไม่เฉพาะแต่คดีสุรภักดิ์เท่านั้น ผู้พิพากษาหลายคนก็ได้ทำหน้าที่พิจารณาไปตามสำนวน และรับฟังพยานหลักฐานทั้งโจทก์ และจำเลยอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน จริงอยู่ที่ว่า ผู้พิพากษาที่มีอคติเป็นผู้พิพากษาที่ต้องถูกตำหนิได้ แต่การตำหนิผู้พิพากษาโดยที่ผู้ตำหนิก็ตกอยู่ภายใต้อคติของตัวเองที่มีต่อ ผู้พิพากษาอย่างเหมารวม ย่อมถือเป็น “สิ่งไม่ถูกต้อง” เฉกเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผู้ตำหนิมองไม่เห็นหรือมองข้าม “ข้อบกพร่อง” ในการสู้คดีอันเนื่องจากเหตุอื่น ๆ ไปด้วย  ไม่ว่าจะเป็น ความหนักแน่นเพียงพอของพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยเอง  ความรู้ความเชี่ยวชาญของพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ความสามารถ ความแม่นยำในข้อกฎหมาย ประสบการณ์ รวมทั้งความขยันขันแข็งในการตระเตรียมคดีของทนายความฝ่ายจำเลย

ย้อน กลับมาที่ประเด็นทัศนคติของบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม ควรต้องทราบด้วยว่า แม้ในคดีสุรภักดิ์จะไม่ได้มีการต่อสู้ในเรื่องถ้อยคำหรือเนื้อหาของข้อความ ที่ถูกกล่าวอ้างว่าผิดมาตรา 112  เลย หรือกล่าวอีกอย่างว่าเป็นการต่อสู้กันด้วย “ปัญหาเชิงเทคนิค” ล้วน ๆ แต่ประเด็นในเรื่อง “ทัศนคติต่อการบังคับใช้มาตรา 112”  ก็ยังปรากฏให้เห็นในคดีนี้ได้อย่างน่าสนใจ เพราะทนายความสามารถเลือกจังหวะ และรูปแบบการนำเสนอเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสม ดังปรากฏตอนหนึ่งในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งทนายความฝ่ายจำเลยถามพยานผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งรับราชการทหาร ว่า  “ทำไมอาจารย์จึงมาเป็นพยานในคดีนี้ ?”  พยานผู้เชี่ยวชาญ ตอบคำถามดังกล่าวไว้ทำนองว่า 
ด้วย หน้าที่การงานของผมซึ่งเป็นทหาร ผมเองย่อมต้องมีความจงรักภักดีในสถาบันฯ  สำหรับผม ความจงรักภักดีในสถาบันฯ มีหลายรูปแบบ แต่ผมไม่เห็นด้วยเลยกับการจงรักภักดี แบบที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน อย่างเช่น กลุ่มล่าแม่มด หรือกลุ่มที่อ้างตัวว่าเทิดทูนสถาบันฯ อื่น ๆ ที่ไล่ล่าฟ้องร้องคนที่ตัวเองสงสัยว่าหมิ่นสถาบันฯ โดยหลายครั้งไม่ทราบข้อกฎหมาย ไม่มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เพียงพอ  ในขณะที่ผู้ที่ถูกฟ้องได้รับความเดือดร้อนทันที  และเมื่อได้รับความเดือดร้อน ย่อมไม่พอใจในตัวสถาบันฯ เป็นธรรมดา และไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ถูกฟ้องเท่านั้น ญาติของผู้ที่ถูกฟ้องก็อาจไม่พอใจสถาบันฯ ไปด้วย และเราไม่รู้หรอกว่า ความไม่พอใจในสถาบันฯ ดังกล่าวนั้นจะขยายไปมากมายเพียงใด หน้าที่ของผมในครั้งนี้  ก็คือ การช่วยค้นหาความจริง เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้แก่ผู้ต้องสงสัย ซึ่งผมถือว่าเป็นวิธีการปกป้องสถาบันฯ รูปแบบหนึ่ง
บทเรียน หนึ่งที่อาจถอดได้จากคดีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เชื่อว่า จำเลย หรือผู้ถูกกล่าวหาไม่ใช่ผู้กระทำความผิด แต่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าทุก ๆ ฝ่ายที่รับผิดชอบคดี มักพิจารณาโดยติดอยู่ในกรอบคิดบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ก็คือ การต่อสู้คดีประเภทนี้ จำเป็นต้องมีการเน้นย้ำ และสอบทานอุดมการณ์ และทัศนคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับคดีเสมอ ในจังหวะและด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทั้งนี้  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้พิพากษาตัดสินคดีอย่างมีอคติ หรือตัดสินคดีเพียงเพื่อรับใช้อุดมการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ของตนเอง หรือของผู้อื่น  หรือหากในที่สุดแล้ว แม้ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบคดีนั้นจะไม่เคยสนใจหรือละอายใจต่อความมีอคติของ ตน รวมทั้งไม่เคยคิดว่าอุดมการณ์ที่ไม่เป็นมิตรกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของประชาชนเป็นเรื่องที่มีปัญหาต้องแก้ไข การทำคดีในลักษณะที่คอยกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงพิษภัยของการตีความมาตรา 112  อย่างเกินเลยออกไป ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็คือภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เอง ก็น่าจะทำให้ผู้พิพากษานั้นไม่อาจตัดสินลงโทษจำเลยได้โดยง่าย หรืออย่างไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอมารองรับการตัดสินใจของตน

ทนายความฝ่ายจำเลย

เนื่อง จากระบบการพิจารณาคดีอาญาในประเทศไทยเป็น "ระบบกล่าวหา" (accusation system) กล่าวคือ เป็นระบบที่แยกองค์กรสอบสวนฟ้องร้องคดี กับองค์กรพิจารณาพิพากษาคดี ออกจากกันอย่างชัดเจน อีกทั้งฐานะของผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลยก็เปลี่ยนจาก "วัตถุ" แห่งการถูกซักฟอก หรือเป็น “กรรม” ในคดีอาญามาเป็น “ผู้ร่วม” ในการเสนอ และค้นหาความจริงในคดี จำเลยจึงย่อมได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่12  ดังนั้น บทบาทของทนายความ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้อาจไม่ได้มีมากเท่ากับระบบกล่าวหาแบบที่มีลูกขุนก็ตาม คดีมาตรา 112  เป็นคดีที่มีความยากลำบากโดยตัวเอง เพราะดังกล่าวไปแล้วว่า คดีประเภทนี้มิอาจจบลงได้เพียงแค่การต่อสู้กันในเรื่อง “องค์ประกอบของความผิด” แบบคดีโดยทั่วไปเท่านั้น  แต่ยังต้องสู้กับอุดมการณ์ และทัศนคติของผู้พิพากษา รวมทั้งวัฒนธรรมความเชื่อ ความเข้าใจของคนในสังคมด้วย เช่นนี้ ทนายความจึงนอกจากต้องเป็นผู้มีประสบการณ์สูงในการต่อสู้คดี มีความแม่นยำในหลักกฎหมาย  มีความชัดเจนในการกำหนดประเด็นต่อสู้ รวมทั้งมีความกล้าหาญที่จะยืนยันความถูกต้อง แล้ว ยังต้องมีความทนทานต่อเสียงกดดันจากสังคมทั่วไปด้วย กล่าวเฉพาะสำหรับคดีสุรภักดิ์ หรือคดีที่มีประเด็นทางเทคนิค หรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทนายความยังจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตพอสมควรอีกโสตหนึ่ง

จริงอยู่ที่ว่า ประเด็นทางเทคนิคที่ซับซ้อนมาก ๆ คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพยานผู้เชี่ยวชาญ แต่ความรู้พื้นฐานของทนายความยังคงมีความสำคัญ  เพราะทนายความคือคนที่ต้องวิเคราะห์สำนวน และตัดสินใจว่าประเด็นใดที่จะมีผลทางกฎหมาย หรือเป็นประโยชน์กับคู่ความฝ่ายตน ทนายความต้องสามารถถามคำถามพยานผู้เชี่ยวชาญได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น และสื่อความหมาย หรือสิ่งที่ต้องการให้ศาลรู้ได้ว่าคำถามที่ถามนั้นต้องการตอบโจทย์อะไร และมีความเกี่ยวพันอย่างไรกับคดี เพื่อให้ศาลสามารถเข้าใจและจดบันทึกเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาได้อย่างไม่ผิด พลาดคลาดเคลื่อน  ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทนายความจำเป็นต้องทำการบ้าน และเตรียมคดีในระดับที่มากกว่าคดีปกติ หรือจำเป็นต้องขอคำปรึกษา หรือกระทั่งแนวคำถามจากพยานผู้เชี่ยวชาญ

วิธี การต่อสู้ในคดีพื้นฐานทั่วไป หลาย ๆ กรณี เป็นเรื่องต้องห้าม หรือไม่ควรทำอย่างยิ่งในคดีเทคโนโลยี อาทิเช่น การถามคำถามวกวนไปมากับคู่ความ หรือพยานของฝ่ายตรงข้ามโดยคาดหวังว่าอีกฝ่ายอาจเผลอตอบในสิ่งที่เข้าตัว หรือเป็นประเด็นที่สำคัญแก่คดีออกมาเอง หรือการพยามปิดบังอำพรางสิ่งที่ฝ่ายตัวเองต้องการรู้เอาไว้ เพราะเกรงว่าทนายของคู่ความฝ่ายตรงข้ามจะเดาออก  แล้วหาทางต่อสู้หรือแก้ต่างได้ เนื่องจาก สิ่งเหล่านี้ในที่สุดแล้ว อาจทำให้ผู้พิพากษาไม่เข้าใจไปด้วย ซึ่งย่อมเป็นผลเสียอย่างยิ่งต่อฝ่ายผู้ถามเอง และข้อสำคัญที่ทนายความในคดีเทคโนโลยี ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็คือ การสรุปรวบยอด หรือขมวดประเด็นในตอนท้ายสุดของการถามคำถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเทคนิค ให้ศาลเข้าใจได้ว่า  ที่ถามมาทั้งหมดนั้น แสดงให้เห็นถึงสิ่งใด หรือต้องการทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานของอีกฝ่ายในเรื่องใด เป็นต้น

พยานหลักฐาน พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์  และพยานผู้เชี่ยวชาญ

เป็น ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าคดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมาก หรือโดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่มักไม่มี "ประจักษ์พยาน" (Eyewitness) ซึ่งหมายถึง พยานบุคคลที่ได้รู้เห็นหรือสัมผัส (perceive) กับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่มาเบิกความด้วยตนเองโดยตรง ทั้งนี้ไม่ว่าจะรู้เห็นมาด้วยประสาทสัมผัสประเภทใดก็ตาม ดังนั้น ข้อยืนยันแบบแน่นอนถ่องแท้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจึงแทบเป็นไปมิได้เลย คดีลักษณะนี้จึงจำเป็นต้องอาศัย "พยานแวดล้อมกรณี" (Circumstantial Evidence) หรือ “พยานแวดล้อม” เป็นสำคัญ กล่าวคือ พยานหลักฐานที่มุ่งพิสูจน์ข้อเท็จจริง ซึ่งมิได้เป็นประเด็นพิพาทในคดีโดยตรง หากแต่ใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่จะช่วยบ่งชี้ได้ว่าข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นพิพาทนั้นน่าจะเกิดขึ้นหรือ ไม่ หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วใครน่าจะเป็นผู้กระทำการนั้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักสำคัญที่เกี่ยวกับการพิจารณา และพิพากษาคดีอาญาที่ว่า ในคดีอาญานั้นต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้กล่าวหา หรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเขาเป็น ผู้กระทำความผิด ซึ่งความผิดนั้นจะต้องได้รับการพิสูจน์จนสิ้นสงสัยด้วย (All defendants in criminal cases are presumed to be innocent until proven guilty beyond a reasonable doubt) อันเป็นหลักที่ปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามมาตรา 227 ความว่า 
“ศาลมีดุลยพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้ง ปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
    เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย” 
ดัง นั้น แม้คดีที่เกิดขึ้นจะแสวงหาประจักษ์พยานได้ยาก แต่ก็มิได้หมายความโดยอัตโนมัติว่า คดีประเภทนี้ ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้ แม้ยังปรากฏข้อสงสัยอยู่ คดีลักษณะนี้ต้องอาศัยพยานแวดล้อมที่เพียงพอแน่นหนาจริง ๆ หรือที่มิอาจโต้แย้งได้ และเพื่อให้เกิดการอำนวยความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงต้องใช้ความรู้ความสามารถ และความพยายามในการแสวงหา  วิเคราะห์ และรับฟังพยานหลักฐานต่าง ๆ มากกว่าในคดีปกติธรรมดา อาทิ ผู้พิพากษาควรต้องเปิดโอกาสให้มีการสืบพยานแวดล้อมประเภทต่าง ๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับคดีอย่างกว้างขวางและเท่าเทียม แม้อาจทำให้ดูเหมือนล่าช้าไปบ้าง อนุญาตให้มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าสืบโดยตรงไม่ใช่แค่เพียงสืบจาก สำเนา หรือ  Print out  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ต้องมีการแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงาน หรือระบบการประมวลผลของอุปกรณ์เหล่านั้น  กระทั่งความเป็นไปได้ในกรณีที่ข้อมูลซึ่งนำมาเป็นพยานอาจถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือสร้างขึ้น ฯลฯ  ในขณะที่ฝ่ายโจทก์เองก็ต้องหาพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพียงพอ ที่สามารถบ่งชี้ได้อย่างแน่นหนาว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้กระทำความ ผิด แม้จะไม่มีประจักษ์พยานผู้พบเห็นขณะกระทำความผิดก็ตาม  ซึ่งในที่นี้อาจหมายถึง พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงถึงตัวผู้เป็นจำเลยได้ตามสมควร  หรือพยานที่แสดงพฤติกรรมของจำเลยที่เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สำหรับคดีสุรภักดิ์ มีประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง ก็คือ ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยนำคอมพิวเตอร์ประกอบการสืบพยานในชั้นพิจารณา ได้ ในขณะที่ศาลในคดี 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ คดีอื่น ๆ ที่ผ่านมา ศาลมักไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น ด้วยเหตุผลทำนองว่า ไม่ว่าประเด็นในคดีจะมีความซับซ้อนเพียงใด คู่ความก็ต้องหรือควรสามารถอธิบายให้ศาล รวมทั้งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจได้โดยใช้ "ปากเปล่า" ซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง เพียงการอธิบายปากเปล่านั้น หากเทคนิคไม่ซับซ้อนมากก็ “อาจ” พอทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น นอกจากการอธิบายด้วยถ้อยคำเพียงอย่างเดียวจะไม่ทำให้เห็นภาพใด ๆ ได้แล้ว ยังทำให้น้ำหนักของพยานที่กล่าวอ้างนั้นถูกลดทอนลง ในขณะที่ศาลเองเมื่อไม่เข้าใจก็พร้อมที่จะไม่เชื่อในพยานหลักฐานนั้น ซึ่งย่อมกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรม 

อนึ่ง เนื่องจากพยานส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดในคดีประเภทนี้ (รวมทั้งคดีนี้) เป็นพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของการตีความหมาย ความน่าเชื่อถือ และความอ่อนไหวของตัวพยานหลักฐาน กล่าวคือ ลบ สร้างใหม่  แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้ง่ายดาย และรวดเร็ว การสืบพิสูจน์พยานอิเล็กทรอนิกส์จึงมีความจำเป็น หรือแทบมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องอาศัยการแปลความหมาย และการตรวจสอบ หรือยืนยันความถูกต้องแท้จริงจาก พยานผู้เชี่ยวชาญ (Expert witness) เสมอ ซึ่งในทางกฎหมายถือเป็น “พยานบุคคล” ประเภทหนึ่ง ที่มาเบิกความในลักษณะของการ “แสดงความเห็น” โดยอาศัยความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ของตนต่อข้อมูลหรือประเด็นแห่งคดี ทั้งนี้ มิใช่ในฐานะที่ตนได้พบเห็นเหตุการณ์มา แต่เป็นเพราะคดีนั้นมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาการเฉพาะทาง  โดยพยานผู้เชี่ยวชาญอาจให้ความเห็นเป็นถ้อยคำด้วยการเบิกความต่อหน้าศาลเลย หรือทำเป็นเอกสารความเห็นก็ได้13  โดยนอกจากหลักฐานในเรื่องคุณวุฒิ การศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และความรู้ความเชี่ยวชาญแล้ว คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักอย่างยิ่งก็ต่อเมื่อ ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า พยานผู้เชี่ยวชาญที่นำเข้าสืบนั้นไม่ว่าจะมาจากฝ่ายโจทก์ หรือจำเลย มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติ หรือกระทั่งสนิทสนมคุ้นเคยกับคู่ความมาก่อน โดยวิธีการหนึ่งที่อาจช่วยสะท้อนให้ศาลเห็นได้ ก็คือ การให้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับทัศนคติของพยานผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคดีความนั้น ๆ ก่อนเริ่มสืบพยาน

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ากังวลว่า แม้พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 จะประกาศใช้บังคับมาแล้วกว่า 5 ปี แต่พนักงานสอบสวนผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในระดับ ที่ถือได้ว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” จริง ๆ นั้นยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนคดีความประเภทนี้14  ในฝั่งฟากของเอกชนเอง แม้อาจมีจำนวนมากกว่า แต่ก็หาไม่ได้ง่ายนัก หรือมิเช่นนั้นก็ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่ตามกฎหมาย รวมทั้งแนวนโยบายแห่งรัฐไทยไม่เคยมีการสนับสนุนค่าใช้จ่าย หรือช่องทางการเข้าถึง “พยานผู้เชี่ยวชาญ” ให้แก่ฝ่ายจำเลย ซึ่งนั่นอาจหมายความว่า  พยานผู้เชี่ยวชาญที่นำมาสืบในคดีจำนวนไม่น้อย ในที่สุดแล้วอาจมีความรู้ความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่ถึงมาตรฐานของความ เชี่ยวชาญ ฉะนั้น “การพิสูจน์ถึงความเชี่ยวชาญ” ของพยานผู้เชี่ยวชาญที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้าง ในคดีเทคโนโลยี จึงนับเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ในคดีสุรภักดิ์นั้น ทนายความฝ่ายจำเลยขอให้พยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายโจทก์  ให้ความเห็นหรือยืนยันต่อศาลว่า  เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้สามารถเก็บบันทึกข้อมูลการใช้งาน (Cache File) เว็บไซต์เฟซบุค ไว้ในพื้นที่บันทึกชั่วคราว (Temporary File) ได้หรือไม่  ปรากฎว่าพยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายโจทก์ยืนยันว่าสามารถเก็บบันทึกได้  แต่เมื่อพยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลย สามารถใช้คอมพิวเตอร์แสดงให้ศาลเห็นได้ว่า เฟซบุคไม่ Cache ไฟล์ (ดังอธิบายไว้ในบทเรียนขนาดยาว) จึงกลายเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า พยานผู้เชี่ยวชาญที่ฝ่ายโจทก์อ้างมา มีปัญหาในเรื่องของ “ความเชี่ยวชาญ” ซึ่งย่อมกระทบต่อความน่าเชื่อถือของการให้ถ้อยคำของพยานนั้นเองโดยอัตโนมัติ

บทสรุป

แม้ ในที่สุดแล้ว คำพิพากษายกฟ้องของศาลในคดีสุรภักดิ์ จะไม่ได้ตอบโจทก์ใด ๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับปัญหาของตัวบทบัญญัติ รวมทั้งการบังคับใช้มาตรา 112  เนื่องจากไม่มีการสืบสู้กันในประเด็นความหมายของถ้อยคำ หรือเพื่อยืนยันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในอันที่จะกล่าวถึง หรือกระทั่งวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยสุจริต หรือในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ  แต่การตัดสินยกฟ้องคดีดังกล่าวท่ามกลางกระแสการเทิดทูนสถาบัน ฯ อย่างเกินพอดีในปัจจุบัน ภายใต้เงื่อนไขที่ไร้ข้อกังขาว่า “ถ้อยคำ” ที่ถูกฟ้องนั้นเป็นความผิดหรือไม่  ย่อมถือเป็นก้าวสำคัญอันน่ายินดี ทั้งยังทำให้ประชาชนมองเห็นแสงสว่างรำไรว่า “หลักกฎหมาย” สำคัญหลายข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักที่ว่า  “ต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด” นั้น ยังคง “ใช้การ” ได้อยู่บ้างในกระบวนการยุติธรรมไทย             

Montesquieu  เคยกล่าวว่า  ”There is no crueler tyranny than that which is perpetuated under the shield of law and in the name of justice.”  (ไม่มีความเลวร้ายใดที่จะยิ่งไปกว่า ความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือในนามของกระบวนการยุติธรรม) หากเรามองว่าทั้งตัวบทบัญญัติมาตรา 112  เอง การบังคับใช้  รวมทั้งอุดมการณ์ ทัศนคติของคนในกระบวนการยุติธรรม ณ ปัจจุบัน เป็นอุปสรรคในการแสวงหาความจริง หรือกระทบเลยเถิดไปถึงกระบวนการสร้างประชาธิปไตย อุปสรรคนี้ย่อมไม่น่ากลัว หรือยากที่จะฟันฝ่าไปได้เลย หากเราเองยึดมั่นในหลักนิติรัฐประชาธิปไตย รวมทั้งมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการช่วยกันแสวงหาความยุติธรรมให้กับบุคคลที่ โดนคดีประเภทนี้ ดังที่ใครบางคน เคยกล่าวว่า “Obstacles are those frightful things you see when you take your eyes off your goals” (อุปสรรค คือ สิ่งที่น่าตกใจ ก็ต่อเมื่อคุณไม่ได้มองไปที่จุดหมายปลายทาง). 

----------------------------------
เชิงอรรถ

1. ดูคำพิพากษาได้ที่ http://prachatai.com/journal/2012/10/43413

2. ดูรายละเอียดคดีนี้ใน http://freedom.ilaw.or.th/th/case/27,
https://www.facebook.com/serithai.net/posts/324251984254044

3. ดูรายละเอียดคดี และคําพิพากษาใน http://prachatai.com/journal/2011/12/38334

4. ดูรายละเอียดคดี และคําพิพากษาใน http://prachatai.com/journal/2009/04/20601

5. ดูรายละเอียดคดี และคําพิพากษาใน http://lmwatch.blogspot.com/2009/04/blog-post_2270.html

6. ดูรายละเอียดคดี และคําพิพากษาใน http://prachatai.com/journal/2011/03/33552

7. ดูรายละเอียดคดี และคําาพิพากษาใน http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37320

8. ดูรายละเอียดคดี และคําาพิพากษา ใน http://prachatai.com/journal/2012/05/40757

9. ดาวน์โหลดคําาพิพากษาได้ที่ http://prachatai.com/sites/default/files/Ampon.pdf

10. ดูรายละเอียดคดี และคําาพิพากษานี้ ใน http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43892

11. ดูรายละเอียดของคดีใน http://ilaw.or.th/node/1363
12. ณรงค์ ใจหาญ, หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1, กรุ งเทพฯ : วิญญูชน, 2555, หน้า 28.

13. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 “ผู้ใดโดยอาชีพหรือมิใช่ก็ตาม มีความเชี่ยวชาญในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมื อ พาณิชยการ การแพทย์ หรือ กฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของผูนั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา อาจเป็นพยานในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้นว่า ตรวจร่างกายหรือจิตของผู้เสี ยหาย ผูตองหา หรื อจําาเลย ตรวจลายมือทําาการทดลองหรือกิจการอย่างอื่นๆ
     ผู้เชี่ยวชาญอาจทําาความเห็นเป็นหนังสือก็ได้แต่ตองส่ งสําเนาหนังสือดังกล่าวให้ศาล และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบ และต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือคู่ความไม่ติดใจซักถามผู้เชี่ยวชาญนั้น ศาลจะให้รับฟังความเห็นเป็นหนังสือดังกล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญไม่ตองมาเบิกความ ประกอบก็ได้
     ในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญต้องมาเบิกความประกอบ ให้ส่งสําาเนาหนังสื อดังกล่าวต่อศาลในจําานวนที่เพียงพอล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันเบิก ความ เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมารับไป
     ในการเบิกความประกอบ ผู้เชี่ยวชาญจะอ่านข้อความที่เขียนมาก็ได้”

14. สาวตรี สุขศรี / ศิริพล กุศลศิลป์ วุฒิ/อรพิณ ยิงยงพัฒนา, อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ?: งานวิจยหัวข้อ ผลกระทบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิ ทธิ เสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น, 2555, หน้า 114 – 117.


คลิ๊กที่ชื่อเรื่อง หรือลูกศรเล็ก เพื่อดาวน์โหลด "บทเรียนขนาดยาว"
บทเรียนจากคำพิพากษายกฟ้องคดี 112 (คดีสุรภักดิ์)

ภาพหลุดอีกแล้ว ลายเซ็น ผู้ต้องหา สุเทพ เทือกสุบรรณ


คลิป นปช.แถลงข่าว ประจำวันศุกร์ ที่14 ธัีนวาคม 2555


นายกรัฐมนตรีมอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2556 "รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน"


วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คลิป รายการ นายแน่มาก โดย คุณคฑาวุธ วันพุธ ที่ 12 ธันวาคม 2555

สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด


สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด

by Jarupan Kuldiloke on Wednesday, December 12, 2012 at 5:44pm ·


http://www.ipu.org/hr-e/191/th183.htm

THAILANDCASE N° TH/183 - JATUPORN PROMPAN
Resolution adopted unanimously by the IPU Governing Council at its 191st session(Québec, 24 October 2012)
The Governing Council of the Inter-Parliamentary Union,
Having before it the case of Mr. Prompan Prompan, a former member of the House of Representatives of Thailand, which has been examined by the Committee on the Human Rights of Parliamentarians, pursuant to its Procedure for the treatment by the Inter-Parliamentary Union of communications concerning violations of the human rights of members of parliament,
Considering the following information provided by the source:
  • Mr. Jatuporn Prompan, a leader of the so-called United Front for Democracy against Dictatorship (UDD) and at the time a member of the House of Representatives, played a prominent role in the "Red Shirt" demonstrations that took place in central Bangkok between 12 March and 19 May 2010; in the weeks following the demonstrations, Mr. Prompan and his fellow UDD leaders were officially charged with participating in an illegal gathering that contravened the state of emergency declared by the government; later, Mr. Prompan was among the leaders indicted on terrorism charges relating to arson attacks on several buildings that took place on 19 May 2010, after the UDD leaders had been taken into police custody; unlike the other UDD leaders, Mr. Prompan’s status as a member of parliament resulted in his quick release on bail; 
  • On 10 April 2011, Mr. Prompan took the stage during the commemoration organized at the Democracy Monument in Bangkok to mark the first anniversary of the government crackdown on the Red Shirt demonstrations; in his speech, he criticized the then government and the Royal Thai Army for using the pretext of "protecting the monarchy" to criminalize the Red Shirt movement and kill its members the year before; Mr. Prompan also criticized the Constitutional Court for sparing the Democrat Party from dissolution, making reference to leaked video recordings that showed some of the justices colluding with party officials; following this, representatives of the Royal Thai Army filed a complaint alleging that Mr. Prompan had committed lese-majesty in his speech; although a year-long investigation subsequently found the charges to be baseless, the Department of Special Investigations asked the Criminal Court to revoke his bail, which it did on 12 May 2011; Mr. Prompan was subsequently held in Bangkok Remand Prison until 2 August 2011;
  • A week after the revocation of his bail, Mr. Prompan’s name was included on the party list submitted by Pheu Thai for the legislative elections to be held on 3 July 2011; the Election Commission endorsed the list after verifying that the candidates met the required legal conditions; in advance of the elections, Mr. Prompan’s lawyers repeatedly filed motions requesting that the Criminal Court grant bail or temporary release to allow him to vote; the requests were denied and Mr. Prompan was thereby prevented from exercising his right to vote; according to the source, his failure to cast a vote was immediately seized upon by the opposition as evidence that he was not qualified to sit in parliament; at first, the Election Commission certified the election results, allowing Mr. Prompan to be sworn in as a member of the new House of Representatives, which first met on the day of his release; in late November 2011, however, the Electoral Commission ruled by a 4-1 vote that Mr. Prompan should be disqualified as a member of parliament, asking the Speaker of the House of Representatives to refer the case to the Constitutional Court for a final ruling;
  • On 18 May 2012, the Constitutional Court ruled that Mr. Prompan’s detention on election day, and consequent failure to vote in the election, disqualified him from serving as a member of parliament; it reasoned that Mr. Prompan was prohibited from voting under Article 100(3) of the 2007 Constitution, which specifies that "being detained by a warrant of the Court or by a lawful order" on election day is one of the prohibitions leading to disenfranchisement, and that this in turn meant that he had automatically lost his membership in his political party under the 2007 Organic Act on Political Parties; the loss of party membership was subsequently the basis (under Articles 101(3) and 106(4) of the Constitution) on which he was disqualified from sitting in the House of Representatives,
Considering that the source affirms that the criminal charges pending against Mr. Prompan in connection with his involvement in the 2010 Red Shirt rallies are wholly inappropriate, that the specific charge of participation in an illegal gathering stemmed from the previous government’s unlawful use of emergency powers, and that the terrorism charges on which Mr. Prompan and other fellow Red Shirt leaders were indicted in August 2010 are politically motivated, but that, according to the source, while the Red Shirts were accused by the government of committing various acts of violence, there exists no evidence that their leaders played a role in planning the attacks, or even knew about them; considering also that the next hearing in the case is scheduled for 29 November 2012,
Considering further that Mr. Prompan was sentenced on 10 July and 27 September 2012 respectively in two criminal cases to two six-month prison sentences (with a two-year suspension) and fines of 50,000 baht on charges of defaming then Prime Minister Abhisit Vejjajiva, but that an appeal is pending in both cases; bearing in mind that the United Nations Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression reiterated in his report (A/HRC/17/27 of 16 May 2011) the call for all States to decriminalize defamation,
Bearing in mind that Thailand is a party to the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) and therefore obliged to protect the rights enshrined therein,
  1. Is deeply concerned that Mr. Prompan was disqualified on grounds that appear directly to contravene Thailand’s international human rights obligations;
  2. Considers that, although the Thai Constitution specifically provides for the disenfranchisement of persons "detained by a lawful order" on election day, preventing those accused of a crime from exercising the right to vote is at odds with the provisions of the ICCPR, Article 25 of which guarantees the right to "take part in the conduct of public affairs" and "to vote and to be elected at genuine periodic elections" without "unreasonable restrictions";
  3. Considers in this regard that denying an incumbent member of parliament temporary release from prison to exercise the right to vote is an "unreasonable restriction", particularly in the light of the ICCPR provisions guaranteeing persons accused of a crime the right to be presumed innocent (Article 14) and "separate treatment appropriate to their status as unconvicted persons" (Article 10(2)(a)); points out that Mr. Prompan’s disqualification also appears to run counter to the spirit of Article 102(4) of the Thai Constitution, which stipulates that only those convicted, not those accused, of a crime lose their right to stand for election once a candidacy has been submitted;
  4. Is likewise concerned that Mr. Prompan’s political party membership was terminated at a time when it had not been established that he had committed any wrongdoing and on account of a speech he had made that appeared to fall clearly within the exercise of his right to freedom of expression, as borne out by the subsequent dismissal of the charge; is also concerned that the courts can rule on the question of party membership when this is first and foremost a private matter between Mr. Prompan and his party and there was no dispute between them on the question;
  5. Sincerely hopes that, in the light of the above, the competent Thai authorities will do everything possible to reconsider Mr. Prompan’s disqualification and ensure that all current legal provisions are in line with the relevant international human rights standards; wishes to ascertain the official views on this point;
  6. Is concerned about the alleged legal basis for and facts adduced to substantiate the charges pending against Mr. Prompan and the possibility that the court may order his return to preventive detention; wishes to receive a copy of the charge sheet and to be informed of the outcome of the next hearing; considers that, in the light of the concerns in the case, it would be useful to explore the possibility of sending a trial observer to the proceedings, and requests the Secretary General to look into the matter;
  7. Is also concerned that Mr. Prompan was prosecuted, sentenced and convicted on charges of defamation; concurs in this regard with the recommendation made by the United Nations Special Rapporteur that defamation should not be considered an offence under criminal law; wishes to ascertain, therefore, whether the Thai authorities are contemplating reviewing the existing legislation with this in mind; wishes to receive a copy of the first-instance rulings and to be kept informed of the appeal proceedings;
  8. Requests the Secretary General to convey this resolution to the competent authorities and to the source;
  9. Requests the Committee to continue examining this case and to report back to it in due course.
-----------
ประเทศไทย
คดีเลขที่ TH/183 - นายจตุพร พรหมพันธุ์

มติที่มีการรับรองเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมสภาบริหาร IPU (IPU Governing Council) สมัยประชุมที่ 191
(ควีเบก 24 ตุลาคม 2555)

สภาบริหารสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ

ได้พิจารณากรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งประเทศไทย โดยเป็นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา (Committee on the Human Rights of Parliamentarians) และเป็นไปตามขั้นตอนปฏิบัติการรับข้อร้องเรียนกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาของสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ

ได้พิจารณาข้อมูลจากผู้ร้องที่ให้มาแล้วว่า

  • นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และในขณะนั้นดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีบทบาทสำคัญในระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงกลางกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม - 19 พฤษภาคม 2553 ช่วงหลังการชุมนุม นายจตุพรและแกนนำนปช.คน อื่น ๆ ได้ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนร่วมในการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ประกาศใช้ ในเวลาต่อมา มีการสั่งฟ้องคดีต่อนายจตุพรและแกนนำคนอื่น ๆ ในข้อหาก่อการร้าย ทั้งในส่วนของการวางเพลิงเผาทำลายอาคารหลายแห่งซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 หลังจากแกนนำนปช.ได้ถูกตำรวจควบคุมตัวไว้แล้ว ต่างจากแกนนำนปช.คนอื่น ๆ เนื่องจากนายจตุพรมีตำแหน่งเป็นสส. เขาจึงได้รับการประกันตัวอย่างรวดเร็ว

  • ในวันที่ 10 เมษายน 2554 นายจตุพรเข้า ร่วมการชุมนุมรำลึกซึ่งจัดขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ เพื่อรำลึกการครบรอบปีการปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงของรัฐบาล ในการกล่าวปราศรัย เขาได้วิจารณ์รัฐบาลและกองทัพไทยที่ได้อ้าง “การปกป้องราชบัลลังก์” เพื่อหาทางเอาผิดกับขบวนการคนเสื้อแดง และยังมีการสังหารคนเสื้อแดงเมื่อปีก่อนหน้านี้ นายจตุพรยังได้วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยอ้างถึงคลิปวีดิโอที่หลุดรอดออกมาและเผยให้เห็นการสมคบคิดกันระหว่างผู้ พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญบางท่านกับเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง หลังจากนั้นเป็นเหตุให้กองทัพบกได้ส่งตัวแทนแจ้งความดำเนินคดีกับนายจตุพรใน ข้อหากล่าวปราศรัยในลักษณะที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และแม้จะมีการสอบสวนอีกหนึ่งปีต่อมาและพบว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูลความ จริง แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษก็ยังร้องขอศาลอาญาให้ยกเลิกเงื่อนไขการประกันตัวของ เขา และศาลก็มีคำสั่งเช่นนั้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 เป็นเหตุให้นายจตุพรถูกควบคุมตัวที่เรือนจําพิเศษกรุงเทพจนกระทั่งวันที่ 2 สิงหาคม 2554

  • หนึ่งสัปดาห์หลังยกเลิกการประกันตัว มีการใส่ชื่อนายจตุพรไว้ในบัญชีรายชื่อสมาชิกรัฐสภาของพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และ ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เห็นชอบต่อบัญชีรายชื่อนั้นหลังจากตรวจพบว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการตรวจสอบล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว ทนายความของนายจตุพรได้ร้องขอต่อศาลอาญาหลายครั้งให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว หรืออนุญาตให้ออกจากเรือนจำชั่วคราวเพื่อลงคะแนนเสียง แต่ศาลปฏิเสธคำขอ เป็นเหตุให้นายจตุพรไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งได้ ทั้งนี้ตามข้อมูลจากผู้ร้อง การที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงได้ถูกฝ่ายตรงข้ามใช้ประโยชน์ โดยอ้างเป็นหลักฐานว่าเขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา ในเบื้องต้น กลต.รับรอง ผลการเลือกตั้งเช่นนั้น และอนุญาตให้นายจตุพรสาบานตนเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาคนใหม่ ซึ่งมีการประชุมในวันที่เขาได้รับการปล่อยตัว แต่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 กลต.มีมติ 4-1 ว่านายจตุพรขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา และขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องนี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย

  • ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ศาลรัฐ ธรรมนูญมีคำสั่งว่าเหตุที่นายจตุพรถูกควบคุมตัวในวันเลือกตั้ง และเป็นเหตุให้ไม่สามารถไปลงคะแนนเสียงได้ เป็นเงื่อนไขทำให้เขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา โดยศาลให้เหตุผลว่านายจตุพรถูกห้ามไม่ให้ไปลงคะแนนเสียงตามมาตรา 100(3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่ง กำหนดไว้ว่า “ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อห้ามและเป็นเหตุให้มีการจำกัดสิทธิการเลือกตั้งของเขา และหมายถึงว่าเขาต้องสูญเสียสมาชิกภาพของพรรคการเมืองไปโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 และการสูญเสียสมาชิกภาพพรรคการเมือง (ตามมาตรา 101(3) และ 106(4) ของรัฐธรรมนูญ) เป็นเหตุให้เขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา

พิจารณาว่า ผู้ร้องยืนยันว่า การแจ้งข้อหาอาญาต่อนายจตุพรเนื่องจากบทบาทของเขาในการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ขาด ความเหมาะสมอย่างยิ่ง โดยอ้างว่าข้อหาการเข้าร่วมการชุมนุมที่ผิดกฎหมายเป็นผลมาจากการใช้อำนาจใน สถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา และการตั้งข้อหาก่อการร้ายต่อนายจตุพรและแกนนำคนเสื้อแดงคนอื่น ๆ ซึ่งมีการสั่งฟ้องเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 มีสาเหตุมาจากแรงจูง ใจทางการเมือง โดยตามความเห็นของผู้ร้อง ในขณะที่คนเสื้อแดงถูกรัฐบาลกล่าวหาว่าก่อความรุนแรงหลายครั้ง แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าบรรดาแกนนำได้วางแผนให้กระทำความรุนแรงเหล่า นั้น หรือทราบล่วงหน้าว่าจะมีการกระทำเช่นนั้น และพิจารณาอีกว่า จะมีการไต่สวนคดีนี้ขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555

พิจารณาต่อไปว่า นายจตุพรได้ถูกศาลตัดสินลงโทษในวันที่ 10 กรกฎาคม และ 27 กันยายน 2555 ในความอาญาสองคดีให้ได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาหกเดือนทั้งสองคดี (ให้รอลงอาญาไว้สองปี) และโทษปรับเป็นเงินจำนวน 50,000 บาทในข้อหาหมิ่นประมาทนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่คดียังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ทั้งสองคดี ระลึกไว้ว่า ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกเน้นย้ำในรายงาน (A/HRC/17/27 วันที่ 16 พฤษภาคม 2554) เรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ลดการเอาผิดทางอาญาจากการหมิ่นประมาท

ระลึกว่า ไทยเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) เป็นเหตุให้มีพันธกรณีต้องคุ้มครองสิทธิตามที่กำหนดไว้ในกติกา

- กังวลอย่างมากว่า นายจตุพรได้ถูกพิจารณาว่าขาดคุณสมบัติด้วยเหตุผลที่ขัดแย้งโดยตรงกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย

พิจารณาว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญไทยกำหนดให้มีการจำกัดสิทธิของบุคคลที่ “ต้องคุมขังอยู่โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในข้อบทที่ 25 ของ ICCPR ที่ ประกันสิทธิที่จะ “มีส่วนร่วมในการปฏิบัติรัฐกิจ” และ “ออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระ” ทั้งนี้โดยไม่มี “ข้อจำกัดอันไม่สมควร”

พิจารณาว่า ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีความเห็นว่าการไม่อนุญาตให้สมาชิกรัฐสภาได้รับการ ปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำเพื่อใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เป็น “ข้อจำกัดอันไม่สมควร” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบข้อบทใน ICCPR ที่ประกันให้บุคคลที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญามีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (ข้อบทที่ 14) และ "ได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษ และต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้องโทษ” (มาตรา 10(2)(a)) และยังชี้ให้เห็นว่าการวินิจฉัยว่านายจตุพรขาดคุณสมบัติขัดกับเจตนารมณ์ของมาตรา 102(4) ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้เพียงผู้ที่ต้องโทษตามคำสั่งศาลแล้วเท่านั้นที่จะสูญเสียสิทธิ ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อมีการยื่นเรื่องเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ยังเป็นแค่จำเลย

- จึงมีความกังวลกับการวินิจฉัยให้สมาชิกภาพพรรคการเมืองของนาย จตุพรสิ้นสุดลง ในขณะที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเขาได้กระทำความผิดใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำปราศรัยของเขา ซึ่งอันที่จริงเป็นเพียงการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกของเขาอย่าง ชัดเจน และได้รับการยืนยันจากการสั่งไม่ฟ้องคดีในเวลาต่อมา และยังกังวลกับการที่ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นสมาชิกภาพพรรคการเมืองของเขา ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างนายจตุพรกับพรรคของเขาเอง และไม่ปรากฏว่ามีข้อพิพาทระหว่างเขากับพรรคของเขาให้เป็นประเด็นที่ศาลต้อง พิจารณาเลย

- หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตามข้อมูลข้างต้น หน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่ของไทยจะกระทำทุกวิถีทางเพื่อทบทวนการตัดสมาชิก ภาพของนายจตุพร และประกันว่าข้อบัญญัติทางกฎหมายที่เป็นอยู่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และต้องการยืนยันความเห็นอย่างเป็นทางการในประเด็นนี้

- กังวลเกี่ยวกับเหตุผลและข้อเท็จจริงทางกฎหมายที่นำมาใช้เพื่อ ตั้งข้อกล่าวหาต่อนายจตุพร และความเป็นไปได้ที่ศาลอาจมีคำสั่งให้ควบคุมตัวเขาอีกครั้งหนึ่ง ต้องการได้รับสำเนาคำฟ้องที่เกี่ยวข้อง และได้รับทราบผลของการพิจารณาในครั้งต่อไป พิจารณาว่าจากข้อกังวลในกรณีนี้ อาจเป็นประโยชน์ที่จะเสนอให้มีการส่งตัวแทนเข้าร่วมสังเกตการณ์คดี และร้องขอให้เลขาธิการพิจารณากรณีนี้

และกังวลเกี่ยวกับ การที่นายจตุพรได้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ถูกตัดสินและลงโทษในข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งเป็นความกังวลที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชา ชาติว่า การหมิ่นประมาทไม่ควรถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องการยืนยันว่า ทางการไทยจะพิจารณาทบทวนกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่ ต้องการได้รับสำเนาคำตัดสินของศาลชั้นต้น และได้รับแจ้งถึงขั้นตอนในชั้นอุทธรณ์คดี

- ร้องขอให้เลขาธิการส่งมอบมติฉบับนี้ให้กับหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่และผู้ร้อง

- ร้องขอให้คณะกรรมการตรวจสอบกรณีนี้ต่อไป และให้รายงานกลับมาในเวลาอันเหมาะสม

แปลจาก http://www.ipu.org/hr-e/191/th183.htm

 https://www.facebook.com/notes/jarupan-kuldiloke/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%AA-%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/10151136217466370

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำต่อคำสัมภาษณ์ 'อภิสิทธิ์' ใน 'บีบีซี': พ้อ-ไม่แฟร์ที่หาว่า "สั่งใช้กระสุนจริง" (มีคลิป)

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 55 รายการ BBC World News ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ ได้เผยแพร่การสัมภาษณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อเรื่องการสั่งฟ้องและการมีส่วนรับผิดชอบในคดีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม ที่มีสาเหตุจากเจ้าหน้าที่รัฐในระหว่างการสลายการชุมนุมเดือนพ.ค. 53 โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การใช้กำลังทหารและการใช้กระสุนจริงในระหว่างการสลายการชุมนุมเป็นเรื่องที่ จำเป็น เนื่องจากมีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในพื้นที่ชุมนุม หรือชายชุดดำ ซึ่งยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และผู้ชุมนุม และยังกล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตราว 20 คน ที่สรุปได้แล้วว่า เสียชีวิตจากกลุ่มติดอาวุธภายในผู้ชุมนุม
ผู้ดำเนินรายการ มิชาล ฮุสเซน ถามแย้งว่า แต่รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ที่ทำการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตมาจากทหาร และถามอดีตนายกฯ ว่า ยอมรับหรือไม่ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร นายอภิสิทธิ์ตอบว่า จาก 20 คดีที่ได้ทำการสอบสวนไป มีเพียงสองคดีเท่านั้นที่เสียชีวิตจากกระสุนปืนของทหาร นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่า ผู้ชุมนุมได้ปล้นปืนของทหารไปด้วย
ต่อคำถามของผู้ดำเนินรายการว่า นายอภิสิทธิ์ยอมรับหรือไม่ว่าตนมีส่วนรับผิดชอบในการเสียชีวิตบางส่วน เขาตอบว่า ไม่ เพราะการตั้งข้อกล่าวหาต่อตนเองในตอนนี้ มาจากคดีการเสียชีวิตของคนที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุมด้วยซ้ำ (คดีพัน คำกอง คนขับรถแท็กซี่) แต่เป็นเพียงผู้เห็นเหตุการณ์ที่บังเอิญออกมาดูและโชคร้ายที่เขาโดนลูกหลงเข้า (got caught)
เขากล่าวยอมรับว่า ตนเป็นผู้สั่งใช้กระสุนปืนจริง แต่มิได้รู้สึกเสียใจต่อการออกคำสั่งดังกล่าว เพราะเป็นวิธีที่จะสามารถจัดการกับกลุ่มผู้ที่ติดอาวุธได้ และกล่าวว่า เหตุการณ์เมื่อปี 53 เป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงจริง แต่หากไม่มีกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธและยิงตำรวจ ทหารและประชาชน ความรุนแรงและความเสียหายดังกล่าวก็คงจะไม่เกิดขึ้น
อดีตนายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลนี้ (รัฐบาลอภิสิทธิ์) เป็นรัฐบาลแรกที่อนุญาตให้ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการ และศาลเข้าสืบสวนสอบสวน ตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว เขากล่าวว่า ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ตนก็จะยอมรับโทษนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นโทษประหารชีวิต และขอเรียกร้องแบบเดียวกันต่อนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และสมาชิกในรัฐบาลนี้ ให้ทำแบบเดียวกันด้วย
อนึ่ง กรณีที่นายอภิสิทธิ์กล่าวอ้างถึง รายงานของ คอป. ที่ระบุว่า "มีราว 20 กรณีที่ผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งมีอาวุธ "  ตามที่ คอป. โดยนายสมชาย หอมลออ แถลงเมื่อวันที่ 17 ก.ย.  ระบุมีเพียง 9 กรณี เท่านั้น และ คอป.ก็ยังมิได้ระบุว่าเป็นการกระทำของผู้ชุมนุม เพียงระบุว่าเป็นการกระทำของชายชุดดำ ที่ คอป.ระบุว่า หลายคนใกล้ชิด เสธ.แดง การ์ด นปช. รู้เห็นเป็นใจ แต่ไม่มีหลักฐานโยงถึงแกนนำ(ดู http://prachatai.com/journal/2012/09/42697)


อดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตอบคำถามบีบีซี กรณีสลายการชุมนุมปี 2553 ปัดผู้ประท้วงเสียชีวิตเพราะทหาร ปฏิเสธสั่งฆ่าประชาชน

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์รายการ BBC World News ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ เกี่ยวกับบทบาทของเขาในช่วงเหตุการณ์การประท้วงในกรุงเทพเมื่อปี 2553
ต่อไปนี้เป็นคำแปลโดยละเอียด
Abhisit: Everybody knows what happened, and we are the ones that said that the judicial process has to run its course so that they were inquest into the death of the protesters and stand (you know) people who were there and uh...the has to be the accountability
อภิสิทธิ์ : ทุกคนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เราเป็นฝ่ายที่บอกว่า กระบวนการยุติธรรมต้องดำเนินไปตามขั้นตอน เพื่อไต่สวนการเสียชีวิตของผู้ประท้วง และคนที่อยู่ในเหตุการณ์ และต้องมีการรับผิด
BBC: And that includes you because you were the presence in the house when 90 people died in the protest
บีบีซี : และรวมถึงคุณด้วย เพราะคุณอยู่ในตำแหน่งตอนที่ประชาชน 90 คนเสียชีวิตในการประท้วง
Abhisit: Of course we set up an independent commission in terms of fact finding and at the same time the police...and the law enforcing organizations would have to get to work but the charges that are charge  placing against me from so many people seem very far-fetched ...
อภิสิทธิ์ : แน่นอนครับ เราได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นชุดหนึ่งเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ขณะเดียวกัน ตำรวจ และบรรดาหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายก็ต้องทำงาน แต่ข้อกล่าวหาต่อผมดูจะเป็นการกล่าวหาเกินจริง
BBC:  Why very far-fetched?  You were the person in power use of force in tearing down the protest camp.
บีบีซี : เกินจริงอย่างไร? คุณเป็นคนที่มีอำนาจสั่งใช้กำลังในการรื้อทำลายสถานที่ประท้วง
Abhisit: But if you recall we had a situation basically a group of people occupy the middle of city and also had armed people, infused within the protest. They were actually firing grenade, firing at people. We didn't even go in to disperse the protest. what we did was set up the check points .These check points were attacked. And there were fighting on the street and unfortunately some people died.
อภิสิทธิ์ : แต่ถ้าคุณยังจำได้ ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ยึดครองใจกลางเมือง และมีคนที่ติดอาวุธแทรกตัวอยู่ในการชุมนุม คนพวกนี้ยิงลูกระเบิด ยิงปืนใส่ประชาชน เราไม่ได้เข้าไปเพื่อสลายการประท้วง สิ่งที่เราทำคือ ตั้งจุดตรวจ จุดตรวจเหล่านั้นถูกโจมตี และมีการสู้รบบนท้องถนน และโชคไม่ดีที่มีคนตาย
BBC:  Well and almost everyone who died was by the hands of the military gunfire
บีบีซี : เกือบทุกคนได้เสียชีวิตเพราะการยิงของทหาร
Abhisit:  That's not the case.
อภิสิทธิ์ : ไม่จริงครับ
BBC: Human Rights Watch who has done the most comprehensive investigation of the incident in 2010 said almost every dead was caused by the military gunfire.'
บีบีซี : ฮิวแมนไรท์วอทช์ ซึ่งได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เมื่อปี 2553 อย่างรอบด้านที่สุด ระบุว่า เกือบทุกรายเสียชีวิตด้วยกระสุนของทหาร
Abhisit: The most comprehensive account has been made by the independent truth and reconciliation commission. And as far as the charges are concerned, already about 20 cases have been the work of the protestors, or the armed elements.
อภิสิทธิ์ : รายงานที่รอบด้านที่สุดจัดทำโดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งในเรื่องเกี่ยวกับข้อกล่าวหานั้น มีประมาณ 20 รายเสียชีวิตเพราะผู้ประท้วง หรือพวกที่ติดอาวุธ
BBC:  But that's the least of the majority, we're talking about 90 deaths. You would accept the majority of the death was caused by the military?
บีบีซี : แต่นั่นไม่ใช่กรณีส่วนใหญ่ เรากำลังพูดถึงคนตายราว 90 ศพ คุณยอมรับไหมว่า ส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะทหาร
Abhisit:  No, no because so far we have had about 20 inquest. And only two so far have concluded that these people died by bullets that were used in the military. But you also have to remember that the protestors already robbed some of the arms that were used by the military, and for this particularly accuse, you have to know the charges first.
อภิสิทธิ์ : ไม่ยอมรับครับ ไม่ก็เพราะว่าเรากำลังสอบสวนประมาณ 20 กรณี จนถึงขณะนี้ มีแค่ 2 รายที่สรุปได้ว่า เสียชีวิตเพราะกระสุนของทหาร แต่คุณต้องย้อนนึกไปด้วยว่า พวกผู้ประท้วงได้ปล้นปืนของทหารไปส่วนหนึ่ง และในเรื่องข้อกล่าวหานี้ คุณต้องอ่านข้อกล่าวหาให้ดีๆก่อน
BBC: But you do accept that you're responsible for some of the deaths. You do accept that?
บีบีซี : แต่คุณยอมรับไหมว่า คุณมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตในบางกรณี
Abhisit: No, the charge that's being put against me, at the moment, is a death of a person who wasn't even protesting. What happened was that, a van was trying to crush through the barrier by the military. There were shots being fired. This person ran out to see what happened and unfortunately was shot and got caught.
อภิสิทธิ์ : ไม่ยอมรับครับ ข้อกล่าวหาต่อผมในเวลานี้ เป็นกรณีการเสียชีวิตของคนคนหนึ่งซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการประท้วงเสียด้วยซ้ำ เหตุการณ์นี้ก็คือ รถตู้คันหนึ่งได้พยายามฝ่าแนวป้องกันของทหาร มีการยิงเกิดขึ้น คนคนนี้วิ่งออกไปดูเหตุการณ์ โชคไม่ดีเขาถูกยิงและออกมาไม่ได้
BBC:  This happened to be the first case of that has been investigated….
บีบีซี : รายนี้เป็นกรณีแรกที่มีการไต่สวน...
Abhisit:  Sure. But to say that the government ordered the military to kill people, isn't exactly what happened.
อภิสิทธิ์ : ถูกต้องครับ แต่การบอกว่า รัฐบาลสั่งให้ทหารฆ่าประชาชน นั่นไม่จริง
BBC:  You did authorize the use of live ammunition.
บีบีซี : คุณได้อนุมัติให้ใช้กระสุนจริง
Abhisit:  We did authorize the use of live ammunition.
อภิสิทธิ์ : เราได้อนุมัติให้ใช้กระสุนจริง
BBC: Do you regret that decision?
บีบีซี : คุณรู้สึกเสียใจไหม ที่ได้ตัดสินใจอย่างนั้น?
Abhisit: But then how else do you fight people with arms?
อภิสิทธิ์ : แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น คุณจะสู้กับพวกที่มีอาวุธได้อย่างไร?
BBC:  so you don't' regret the use of live ammunition.
บีบีซี : ฉะนั้น คุณไม่เสียใจที่ได้ใช้กระสุนจริง
Abhisit: I regret the losses of people. But the instructions were clear as to how they could use the live ammunition, under which circumstance. The issue was ordered the Deputy PM, first of all it was self defense. It's preventing possible loss to other people, and they must use it with extreme care. And if there's a possibility to use the arms against those people who were somehow mixed with the crowd of … they should avoid it. And to say that this ordering meant that we're ordering the killing of people, I think it's unfair. and Let me say this, I've been  around at a number of meetings, around the world, G-20 somebody died because somebody was trying to do their work, there had to be inquest. The death could be justified or not, according to the law, but I don't see anywhere that the Prime Minister then has to take responsibility for any operations.
อภิสิทธิ์ : ผมเสียใจที่มีผู้เสียชีวิต แต่คำสั่งนั้นมีความชัดเจนว่าจะใช้กระสุนจริงได้ในลักษณะไหน ภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง คำสั่งนั้นออกโดยรองนายกรัฐมนตรี โดยพื้นฐานแล้ว เป็นการใช้เพื่อป้องกันตนเอง ป้องกันการเสียชีวิตของประชาชนคนอื่นๆ และต้องใช้อย่างระมัดระวังที่สุด และถ้าอาจจะต้องใช้อาวุธกับคนที่ปะปนอยู่ในฝูงชนก็ควรหลีกเลี่ยง การบอกว่า คำสั่งนี้เท่ากับสั่งให้ฆ่าประชาชน ผมคิดว่าไม่ยุติธรรม และผมขอบอกว่า ผมเคยไปประชุมหลายแห่งทั่วโลก ในการประชุมจี-20 มีคนตายเพราะเจ้าหน้าที่พยายามทำตามหน้าที่ นั่นต้องการมีสอบสวน การเสียชีวิตนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่เมื่อพิจารณาตามกฎหมาย แต่ผมไม่เคยเห็นที่ไหนเลยว่า คนเป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานั้นต้องรับผิดชอบต่อการปฏิบัติที่เกิดขึ้น
BBC: But PM, this is the worst violent political incident your country have seen for decades. The scale of what we're talking about is considerable. And this is going to be the defining issue of your time in power.
บีบีซี : แต่ท่านนายกรัฐมนตรี นี่เป็นเหตุรุนแรงทางการเมืองครั้งร้ายแรงที่สุดที่ประเทศของคุณได้เผชิญใน ช่วงเวลาหลายทศวรรษ เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องใหญ่ และจะเป็นประเด็นที่เขียนประวัติศาสตร์ของคุณในช่วงที่อยู่ในอำนาจ
Abhisit: Because this is the first time that we had protest with armed people being involved. If these were peaceful protest, the constitutional protest, legal protest, none of this wouldn't have happened. If they didn't have the black shirt people, with weapons, firing at the police firing at the people, firing at the military. None of the losses wouldn't have occurred.
อภิสิทธิ์ : นั่นเป็นเพราะเป็นครั้งแรกที่พวกติดอาวุธเข้ามาเกี่ยวข้องในการประท้วง ถ้าเป็นการประท้วงโดยสันติ เป็นการใช้สิทธิ์ประท้วงตามรัฐธรรมนูญ ประท้วงโดยถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ถ้าพวกนั้นไม่มีชายชุดดำ ติดอาวุธ ยิงใส่ตำรวจ ยิงใส่ประชาชน ยิงใส่ทหาร ก็จะไม่เกิดการสูญเสีย
BBC: How do you feel that this is going to be defining issue of your time and how people would remember your time in power?
บีบีซี : คุณรู้สึกอย่างไร ที่เหตุการณ์นี้จะเป็นประเด็นที่จารึกประวัติของคุณ และผู้คนจะจดจำบทบาทของคุณในช่วงที่อยู่ในอำนาจ?
Abhisit: I don't think that's the case. I think that the people know full well what happened in 2009 and 2010. And the difference is this. As the government, we're the first , that allows the police, the DSI and the attorney general and the court to work through this. And I will accept whatever verdict, even if it's a death penalty, I will accept that. And I'm asking the former PM and members of this government that they should do the same, because they're always looking to find a way to pass the bill to grant themselves the amnesty. That's all I ever ask. I'm willing to face the charge. I will fight. I will prove my innocence in the court, and if the court for whatever reasons passed the guilty verdict I would accept it .
อภิสิทธิ์ : ผมไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น ผมคิดว่า ประชาชนรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นในปี 2552 และปี 2553 เราไม่เหมือนอีกฝ่ายหนึ่ง ในฐานะรัฐบาล เราเป็นคนแรกที่เปิดให้ตำรวจ, ดีเอสไอ,อัยการสูงสุด และศาล สอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมจะยอมรับคำพิพากษาในทุกกรณี แม้เป็นคำตัดสินประหารชีวิต ผมก็จะยอมรับ และผมขอเรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี และบรรดาสมาชิกในรัฐบาลชุดนี้ทำอย่างเดียวกัน เพราะพวกเขากำลังมองหาช่องทางที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ตัวเองอยู่ตลอด เวลา นี่คือเรื่องเดียวที่ผมเรียกร้อง ผมพร้อมเผชิญข้อกล่าวหา ผมจะสู้คดี ผมจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองในศาล ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด หากศาลตัดสินว่าผมผิด ผมจะยอมรับ.http://news.voicetv.co.th/thailand/58109.html

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คลิป พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานเปิดการแข่งขันมวยเฉลิมพระเกียรติ ที่มาเก๊า ถ่ายทอดสด NBT และเอเชียอัพเดท



 







>


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแข่งขันศึกมวยไทยวอริเออร์สปีที่ 2 เทิดไท้องค์ราชัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่โรงแรมมาเก๊า ฟิชเแมน วูฟ เขตปกครองพิเศษมาเก๊า

การแข่งขันรายการนี้มี "บิ๊กตุ้ย" พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะประธานสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก เป็นประธานจัดงาน ซึ่งก่อนเริ่มชกคู่แรกได้มีพิธีเปิดงานโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งระหว่างนั้นมีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 11 ด้วย

การแข่งขันจะเป็นการชกแบบยกทีม นักมวยไทย พบ นักชกต่างชาติ 8 คู่ แต่ละคู่มีคะแนนให้คือ ชนะ 3 แต้ม เสมอ 1 แต้ม และ แพ้ ไม่มีแต้ม ฝ่ายใดได้แต้มมากกว่า จะคว้าแชมป์พร้อมถ้วยรางวัลพระราชทานไปครอง

คู่เอกเป็นการป้องกันแชมป์มวยไทยวอริเออร์สรุ่นเวลเตอร์เวท ระหว่าง แสนชัย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม อดีตนักมวยไทยยอดเยี่ยม พบกับคู่ปรับเก่า เลียม แฮริสัน นักชกจากอังกฤษ อีกคู่รุ่น 66 กก. หลักหาย อ.บุญช่วย อดีตแชมป์เอสวันรุ่น 102 ปอนด์ พบกับ อีดู ลาฟันเต้ นักชกดาวรุ่งจากแดนกระทิงดุ ประเทศสเปน

ส่วนโปรแกรมการชกคู่อื่นมีดังนี้ ชิงแชมป์ว่างมวยไทยวอริเออร์ส รุ่นไลท์เวท ซีอุย ส.สุนันทชัย พบ สตีฟ เมเลดี้ (ไอร์แลนด์), ชิงแชมป์ว่างมวยไทยวอริเออร์สรุ่นซุเปอร์เวลเตอร์เวท โบวี่ ส.อุดมศร พบ วิกเตอร์ นากาเบ้ (ออสเตรเลีย)

รุ่น 64 กก. ชูสวน สุวิทย์ยิมส์ กับ อาโตโร่ ลิน (สเปน), รุ่น 65 กก.  ธันวาเล็ก กีล่าสปอร์ต พบ เคเมน พิกเคน (อังกฤษ), รุ่น 65 กก.ไมเคิล เกียรติบุษา พบ เดง สี ฉี (จีน) และ แสนสำราญ ส.ณรงค์ชัย พบ ชามเบอร์ นาทรานนาแอล (สหรัฐฯ)

ทั้งนี้ จะมีการถ่ายทอดสดทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เวลา 20.30-23.00 น. ของวันนี้ (9 ธ.ค.)

twitter

ห้องแชทKonthaiuk