PEACE TV LIVE

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

จับตาคดี ปรส.ทำชาติเสียหาย 8 แสนล้าน ก่อนหมดอายุความ ปี 2556


จับตาคดี ปรส.ทำชาติเสียหาย 8 แสนล้าน ก่อนหมดอายุความ ปี 2556
Mthainews: หากย้อนอดีตไปเมื่อปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ปาเข้าไปนานถึงสิบกว่าปี กับสำนวนคดี การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือปรส.เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท  อีกทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้เอกชน  และหลบเลี่ยงภาษี คดีหมายเลขดำที่ อ.3344/2551
ซึ่งแต่เดิมนั้น ปรส. ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นได้สั่งปิด 56 ไฟแนนซ์ และตั้ง ปรส.ขึ้นมา เพื่อแยกหนี้ดี-หนี้เสียออกจากกัน แล้วค่อยประมูลขาย เพื่อปลดล็อกสินทรัพย์ทั้งหลายถูกแช่แข็งอยู่ออกมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ อย่างรวดเร็วที่สุดและโปร่งใสที่สุด
โดยสินทรัพย์ดีจะได้ขายได้ในราคาที่ดี (โดยใช้วิธีประมูล) อีกทั้งช่วยเหลือผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริต โดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วน 87.54% และเพื่อชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้
แต่ในทางปฏิบัติ สมัย นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปปัตย์มาบริหารประเทศนั้น มี การตั้งข้อสังเกตกันว่ากระทำขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ ไม่ได้มีการแยกสินทรัพย์ดี และเสีย ( Good Bank –Bad Bank ) ทำรัฐเสียหายกว่า 800,000 ล้าน เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ
จาก 8 แสนล้าน เหลือ 2 แสนล้าน  มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 5 คดี ประกอบด้วย
คดี ที่ 1 กรณี บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท
คดีที่ 2 กรณีบริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
คดีที่ 3 – 4 กรณี บริษัท เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1 – 3 ยอดคงค้างทางบัญชี 64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท
คดีที่ 5 กรณี บริษัท วีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทาง บัญชี2,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท
เหล่านี้ คือผลของการกระทำดังกล่าวทำให้ การประมูลทรัพย์ ได้ราคาที่ต่ำมาก ซึ่งดีเอสไอสรุปสำนวนคดี ปรส. ชี้การกระทำดังกล่าวว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และนายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย แถลงสรุปผลการประชุม ยังพบว่า มีการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้
1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สิน จากปรส.โดยมิชอบ
2.คณะกรรมการปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3.ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อพรก.ปรส.
5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.คณะกรรมการปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขาย ทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ
10.ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อน กับสถาบันการเงินอีกแห่ง
จึงมีการทวงถาม ติดตามความคืบหน้าคดีดังกล่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.)เพราะเกรงว่าจะหมดอายุความในปี 2556 และหากปปช. ปล่อยให้คดี ปรส. หมดอายุความไปกับมือ  ปปช. จะแสดงความรับผิดชอบค่าเสียหายอย่างไรต่อประเทศชาติ ซึ่งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องตามสรุปคดี เพื่อไขปัญหาดังกล่าวไม่ให้หลุดไป  ตามเจตนารมณ์แก้ไข ไม่แก้แค้น อย่างแท้จริง
Mthai News

 http://news.mthai.com/hot-news/158384.html

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

ความจริง เรื่อง IMF



http://www.imf.org/external/np/fin/tad/extrans1.aspx?memberkey1=940&endDate=2011-06-28&finposition_flag=yes

พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องกู้เงินจาก IMFมาเพื่อพยุงสถานะของประเทศเมื่อ 22 กรกฎาคา 2540 จำนวน 17200 ล้านเหรียญ 
โดยได้เซ็นสัญญา ฉบับที่หนึ่ง วันที่ 14 ส.ค.2540  และ ฉบับที่สอง เมื่อวันที่14พย.2540
 (เงื่อนไขและวิธีการรับเงินกู้ไอเอ็มเอฟ คือ ไอเอ็มเอฟจะทยอยส่งเงินให้เป็นงวดๆ 3 เดือนต่อหนึ่งงวด โดยแต่ละงวด รัฐบาลไทยก็จะต้องลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง หรือ Letter of Intent : LOI เป็นเงื่อนไขพันธะผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตาม)
พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เิบิกมา2งวด คือเดือนสิงหา จำนวน 1,200,000,000 SDRs และ ธันวา จำนวน 600,000,000 SDRs  (งวดที่สองเซ็นสัญญาวันที่14พย.40 ไม่ทันได้ใช้เงินเพราะลาออกก่อน ลาออกวันที่ 9พย.40  )
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (- 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) รัฐบาลชวนเข้ามาบริหารงานแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่อ และได้เบิกเงินกู้เพิ่มอีกเป็นจำนวนเงินรวม 10300 ล้านเหรียญ
 รวมรบ.ชวลิต และ รบ.ชวนกู้ไอเอ็มเอฟมา 14300ล้านเหรียญ (ประมาณ 5.1แสนล้านบาท)










 รัฐบาลชวน ได้จ่ายหนี้ เพียงงวดเดียวจำนวน1หมื่นล้านบาท (150,000,000SDrs)เมื่อวันที่ 14 สค. 43 เพราะลาออกจากตำแหน่ง วันที่9กพ.44 ก่อนจะเงินงวดวันที่ 14กพ.44(เงื่อนไขและวิธีการจ่ายคืนเงินกู้ไอเอ็มเอฟ คือ เงินกู้แต่ละงวดแต่ละก้อน จะต้องจ่ายคืนเมื่อครบกำหนด 3 ปี ยกตัวอย่าง ก้อนที่ได้มา 14 พ.ย. 40 ก็มีกำหนดจ่ายคืน 14 พ.ย. 43 (นับไปอีก 3 ปี) เป็นต้น


 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่งนายกเมื่อวันที่ 9กพ.44 ต่อจาก นายชวน จึงต้องรับใช้หนี้ที่ สองรัฐบาลกู้จากไอเอ็มเอฟมา จำนวน 5แสนล้านบาท และ จำนวนเงินที่ชำระก่อนกำหนด คือ 60000ล้านบาท
 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่งนายกเมื่อวันที่ 9กพ.44 ต่อจาก นายชวน จึงต้องรับใช้หนี้ที่ สองรัฐบาลกู้จากไอเอ็มเอฟมา จำนวน 5แสนล้านบาท และ จำนวนเงินที่ชำระก่อนกำหนด คือ 60000ล้านบาท






 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่งนายกเมื่อวันที่ 9กพ.44 ต่อจาก นายชวน จึงต้องรับใช้หนี้ที่ สองรัฐบาลกู้จากไอเอ็มเอฟมา จำนวน 5แสนล้านบาท และ จำนวนเงินที่ชำระก่อนกำหนด คือ 60000ล้านบาท





พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องกู้เงินจาก IMFมาเพื่อพยุงสถานะของประเทศเมื่อ 22 กรกฎาคา 2540 จำนวน 17200 ล้านเหรียญ 
โดยได้เซ็นสัญญา ฉบับที่หนึ่ง วันที่ 14 ส.ค.2540  และ ฉบับที่สอง เมื่อวันที่14พย.2540
 (เงื่อนไขและวิธีการรับเงินกู้ไอเอ็มเอฟ คือ ไอเอ็มเอฟจะทยอยส่งเงินให้เป็นงวดๆ 3 เดือนต่อหนึ่งงวด โดยแต่ละงวด รัฐบาลไทยก็จะต้องลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง หรือ Letter of Intent : LOI เป็นเงื่อนไขพันธะผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตาม)
พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เิบิกมา2งวด จำนวนเงิน4000ล้านเหรียญ (งวดที่สองเซ็นสัญญาวันที่14พย.40 ไม่ทันได้ใช้เงินเพราะลาออกก่อน ลาออกวันที่ 9พย.40  )

 วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (- 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) รัฐบาลชวนเข้ามาบริหารงานแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่อ และได้เบิกเงินกู้เพิ่มอีกเป็นจำนวนเงินรวม 10300 ล้านเหรียญ
 รวมรบ.ชวลิต และ รบ.ชวนกู้ไอเอ็มเอฟมา 14300ล้านเหรียญ (ประมาณ 5.1แสนล้านบาท)


รัฐบาลชวน ได้จ่ายหนี้ เพียงงวดเดียวจำนวน1หมื่นล้านบาท เมื่อวันที่ 14 สค. 43 เพราะลาออกจากตำแหน่ง วันที่9กพ.44 ก่อนจะเงินงวดวันที่ 14กพ.44(เงื่อนไขและวิธีการจ่ายคืนเงินกู้ไอเอ็มเอฟ คือ เงินกู้แต่ละงวดแต่ละก้อน จะต้องจ่ายคืนเมื่อครบกำหนด 3 ปี ยกตัวอย่าง ก้อนที่ได้มา 14 พ.ย. 40 ก็มีกำหนดจ่ายคืน 14 พ.ย. 43 (นับไปอีก 3 ปี) เป็นต้น


 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่งนายกเมื่อวันที่ 9กพ.44 ต่อจาก นายชวน จึงต้องรับใช้หนี้ที่ สองรัฐบาลกู้จากไอเอ็มเอฟมา จำนวน 5แสนล้านบาท และ จำนวนเงินที่ชำระก่อนกำหนด คือ 60000ล้านบาท



ทั้งนี้ หนี้ในส่วนโครงการไอเอ็ม จำนวน 1.43 หมื่นล้านดอลลาร์ 
โดยเป็นการกู้จากไอเอ็มเอฟ จำนวน 3.4 พันล้านดอลลาร์ (stand-by arrangement) คิดตามอัตราดอกเบี้ย SDR 2.23%(สกุลเงินไอเอ็มเอฟ โดย 1SDR = 1.31417 ดอลลาร์)
ก้อนที่สอง จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าญี่ปุ่น (J-EXIM) จำนวน 4,000 ล้านดอลลาร์ อัตราดอกเบี้ย 2-3% ต่อปี
ที่เหลือเป็นเงินกู้จากธนาคารกลางประเทศต่างๆ จำนวน 10 ประเทศ ที่ขอเข้าร่วมโครงการอีกประมาณ 6,900 ล้านดอลลาร์ คิดอัตราดอกเบี้ย LIBOR ระยะ 6 เดือน
สัญญาเดิมจ่ายหมดไตรมาส 2 ปี 47
ส่วนการชำระคืนตามสัญญาเดิม เฉพาะเงินกู้ไอเอ็มเอฟ ตกลงกันว่า จ่ายไตรมาสละ 225 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เริ่มชำระคืนงวดแรก ไตรมาส 4 ปี 2543 และหากชำระตามข้อตกลง จะจ่ายหมดภายในไตรมาส 2 ปี 2547 ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้เลื่อนมาจ่ายหมดภายในปี 2546
ในส่วนเงินกู้จากธนาคารกลางต่างๆ ชำระงวดแรก ไตรมาส 1 ปี 2544 ตามสัญญาต้องจ่ายไตรมาสละ 350 ล้านดอลลาร์ และจะหมดในไตรมาส 3 ปี 2547
ขณะที่ J-EXIM จะเริ่มจ่ายไตรมาส 4 ปีหน้า(ปี46) โดยตามสัญญาต้องจ่าย ไตรมาสละ 570 ล้านดอลลาร์ และจะชำระหมดไตรมาส 2 ปี 2548

ใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดสไตล์ทักษิณ
หนี้ก้อนสุดท้าย 1715 ล้านเหรียญ ประมาณ 60000 ล้านบาท
ลดดอกเบี้ยจากการจ่าย หนี้ก่อนกำหนด 2 ปี = 5000 ล้านบาท


 ธปท.สรุปศุกร์นี้ คืนหนี้ไอเอ็มเอฟ ก่อนเวลา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/news/news2002dec25p3.htm

 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี20.30 น. วันที่ 31 กรกฎาคม2546
http://maha-arai.blogspot.tw/2009/03/blog-post_3416.html

กำหนดระยะการชำระคืนหนี้เงินกู้โครงการ IMF
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006august08p04.htm

เงื่อนไขและวิธีการจ่ายคืนเงินกู้ไอเอ็มเอฟ
 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93_%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3


ได้มีผู้บอกว่า ดอกเบี้ยที่กู้จากไอเอ็มเอฟแค่ 0.25% นั้นไม่เป็นความจริง เพราะ ความจริง ดอกเบี้ย คือ 2.23 -3 % เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ ที่จะเอาเงินก้อนสุดท้ายที่ชำระหนึ้ไอเอ็มเอฟ มาฝากธนาคาร และ ได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากนั้น
--------------------
หนี้ในส่วนโครงการไอเอ็ม จำนวน 1.43 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเป็นการกู้จากไอเอ็มเอฟ จำนวน 3.4 พันล้านดอลลาร์ (stand-by arrangement) คิดตามอัตราดอกเบี้ย SDR 2.23%
ก้อนที่สอง จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าญี่ปุ่น (J-EXIM) จำนวน 4,000 ล้านดอลลาร์ อัตราดอกเบี้ย 2-3% ต่อปี
ที่เหลือเป็นเงินกู้จากธนาคารกลางประเทศต่างๆ จำนวน 10 ประเทศ ที่ขอเข้าร่วมโครงการอีกประมาณ 6,900 ล้านดอลลาร์ คิดอัตราดอกเบี้ย LIBOR ระยะ 6 เดือน
---------------------
ธปท.สรุปศุกร์นี้ คืนหนี้ไอเอ็มเอฟ ก่อนเวลา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/news/news2002dec25p3.htm

กำหนดระยะการชำระคืนหนี้เงินกู้โครงการ IMF
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006august08p04.htm


 การที่นายอภิสิทธิ์บอกว่า ที่นายชวนไม่ใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดเพราะไม่ต้องการเสียปรับ เป็นการตอแหลสิ้นดี เพราะ นายชวนไม่มีปัญญาใช้หนี้ได้แน่ๆ เพราะก่อนนายชวนจะลาออกจากนายกฯ ได้จ่ายหนี้เพียงงวดเดียวเท่านั้น
http://www.imf.org/external/np/fin/tad/extrans1.aspx?memberkey1=940&endDate=2011-06-28&finposition_flag=yes

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

หลังสงกรานต์ ทุบแน่ ! ซากตอม่อโฮปเวลล์

หลังสงกรานต์ ทุบแน่ ! ซากตอม่อโฮปเวลล์


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ดู เหมือนจะเป็นงานง่าย ๆ สำหรับการทุบทิ้งซากตอม่อ "โฮปเวลล์" ที่สร้างร้างเรียงรายในแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือร่วม ๆ 500 ต้น ที่อยู่คู่คนกรุงมานานนับ 10 ปี โดยประเมินว่าจะต้องทุบทิ้งแน่ ๆ 300-400 ต้น

ทุกขลาภ "อิตาเลียนไทย"

แต่กลับกลายเป็นทุกขลาภของยักษ์รับเหมา "บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" ผู้รับผิดชอบก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต" ระยะทาง 26 กิโลเมตร

ถึงจะคว้างานสัญญาที่ 2 ด้วยวงเงินค่าก่อสร้าง 21,235 ล้านบาท แบบไม่พลิกโผ แต่เมื่อโฟกัสเนื้องานนอกจากงานสร้างโครงสร้างรถไฟสายสีแดง พร้อมสถานี 6 แห่งแล้ว ยังต้องรับภาระรื้อย้ายโครงสร้างเดิมของโฮปเวลล์ที่ตั้งกีดขวางเส้นทางโครงการด้วย

ล่าสุดเมื่อลงพื้นที่จริง จึงพบว่าไซต์ก่อสร้างโครงการนี้มีความยุ่งยากกว่ารถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการทุบตอม่อโฮปเวลล์ออกมาจากเดิมประมาณ 1 เดือน


ทุบแน่หลังสงกรานต์

"ครั้งแรกเราวางแผนจะเริ่มทุบตอม่อโฮปเวลล์ใน 45 วัน ทันทีที่เซ็นสัญญาก่อสร้างกับการรถไฟฯ คือประมาณสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่เมื่อลงสำรวจพื้นที่พบว่าแต่ละจุดมีความยากง่าย

แตกต่างกัน จึงต้องวางแผนงานให้ชัดเจนขึ้น และมีพิธีกรรมเยอะมาก ทั้งปัญหาเรื่องการจัดคน เครื่องมือ เพราะเป็นงานเฉพาะทาง คาดว่าจะเริ่มทุบได้หลังสงกรานต์นี้ หรือประมาณปลายเมษายนนี้แน่นอน" แหล่งข่าวจาก บมจ.อิตาเลียนไทยฯกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ปัจจุบันบริษัทได้เตรียมการทุกอย่างครบแล้ว ทั้งคนงานนับ 100 คน และเครื่องมือที่จะต้องใช้ เช่น

ใบเลื่อยที่ใช้ตัดได้ทั้งเหล็กและคอนกรีต

รถเครนยักษ์ที่รับน้ำหนักได้ 150 ตัน บันไดปีนขึ้นไปตัดเสาตอม่อแต่ละต้น รถยกที่รับน้ำหนักได้หลาย 10 ตัน เพื่อขนซากคอนกรีตและเหล็กที่จะต้องนำไปทิ้ง เป็นต้น

เบื้องต้นคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายรื้อย้ายโครงสร้างโฮปเวลล์กว่า 200 ล้านบาท

"ส่วนการเข้าพื้นที่นั้น จุดแรกจะเริ่มย่านชานเมืองก่อนเพราะเข้าง่ายไม่มีผู้บุกรุก เป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ้เสร็จจากจุดแรกจะไล่ไปทางหลักสี่ จนถึงหน้าวัดเสมียนนารี เป็นจุดยากที่สุดเพราะโครงสร้างเดิมสร้างคร่อมเส้นทางรถไฟ ทำให้ต้องวางแผนทุบให้ดีและใช้เครื่องมือพิเศษ ส่วนช่วงหลักหกขึ้นไปถึงรังสิตมีตอม่อโฮปเวลล์น้อยมาก คาดว่าจะใช้เวลาทุบทั้งหมดประมาณ 5-6 เดือน"

มิ.ย.นี้ตอกเข็มต้นแรก

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างหลังจากเซ็นสัญญากับ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขณะนี้บริษัทเริ่มงานเตรียมพื้นที่ไซต์ก่อสร้างและรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางงานก่อสร้าง

ล่าสุดได้ลงพื้นที่เสมือนจริงเพื่อเจาะทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มแล้ว คาดว่าจะเริ่มตอกเข็มต้นแรกในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ และในปี 2557 จะเป็นการขึ้นงานโครงสร้างที่สร้างเป็นทางยกระดับ และคาดว่าการก่อสร้างจะอยู่ในเวลาตามกำหนดในสัญญาภายใน

4 ปี แต่จะมีการขยายเวลาเพิ่มอีกหรือไม่ยังไม่รู้ เนื่องจากจะต้องมีการเพิ่มรางอีก 1 ราง จาก 3 รางเป็น 4 ราง ล่าสุดอยู่ระหว่างหารือเรื่องแบบร่วมกับการรถไฟฯ

ถึงแม้วินาทีนี้ยักษ์รับเหมาจะการันตีว่างานก่อสร้างจะแล้วเสร็จในกรอบเวลา แต่ยังต้องลุ้นกับภารกิจการรื้อย้ายผู้บุกรุกตลอดแนวเส้นทางรถไฟสายสีแดง ล่าสุด "ประภัสร์ จงสงวน" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ต้องกุมขมับ เพราะยอดผู้บุกรุกงอกเพิ่มเป็นเท่าตัว จากเดิมประเมินไว้ 500 กว่าราย ปัจจุบันสถิติพุ่งไปถึง 1,000 ราย เงินค่าชดเชยเตรียมไว้ 105 ล้านบาท ไม่พอที่จะจ่าย ต้องขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่ม

นั่นหมายถึงต้นทุนทั้งเงิน "ค่ารื้อย้าย-เวลา" ต้องงอกเพิ่มเป็นเงาตามตัว
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365354008&grpid=10&catid=07

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

คุณ"ทักษิณ" โพสต์เฟซบุ๊ก กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อยู่ที่ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว

วันนี้ (7 เม.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว "Thaksin Shinawatra" https://www.facebook.com/photo.php?fbid=135400399977853&set=a.133931153458111.1073741828.127701087414451&type=1&theater
ถึง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมว่า 

อีกแง่มุมเพื่อความเข้าใจ โครงการ 2 ล้านล้าน

ผม ขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม

ทาง ตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง

ดัง นั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365328848&grpid=03&catid=03&utm_source=Matichon&utm_medium=twitter

twitter

ห้องแชทKonthaiuk