PEACE TV LIVE

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

โอ๊คพานทองแท้ โชว์รูป "กรณ์ และ เมีย" ดักรอพบ"ทักษิณ" ที่ฮ่องกง




Oak Panthongtae Shinawatra


ผมไม่ทราบว่าพฤติกรรมลับๆล่อๆ คลุมเครือๆ ทำไมนิยมทำกันนักครับ พรรคฯนี้

คราว ก่อนก็ทีนึง ออกมาปล่อยข่าวเองว่า สุภาพสตรีสูงศักดิ์มาขอสุเทพฯให้ไปพบทักษิณฯ ผมถามไปถามมา ทำท่าจะกลายเป็นมาขอทักษิณฯให้สุเทพฯเข้าพบเสียมากกว่า

มาคราวนี้อีก เหมือนกัน ไปฮ่องกงจะไปพบหรือไม่พบใคร ได้เข้าพบหรือไม่ได้เข้าพบ ก็ชี้แจงกันไปตรงๆครับ ไม่ใช่พูดกันงึมงำๆ ข้าพศพผัวศพเมีย เรียกเสียงกรี๊ดสลิ่มเข้าว่า

จะชี้แจงกับพี่น้องประชาชนทั้งทีพูดไม่ เคลียร์แบบนี้ ไม่ดีกับทุกๆฝ่ายครับ ฝั่งผมนะไม่เท่าไหร่ครับ หนักเเน่นกันอยู่เเล้ว เเต่สลิ่มทั้งหลายอ่ะดิ ยิ่งขวัญอ่อนกันอยู่

ดร.เสรีฯ อดีตแฟนคลับตัวยง อุตส่าห์ถามด้วยความเป็นห่วง กลับโดนสลิ่มบ้องตื้นขี้ตกใจทั้งหลายรุมด่ากันกระเจิง จนถอนสมอประกาศเลิกเชียร์ปชป.กันไปคนนึงแล้ว

อธิบายกันแค่นี้ทำกัน ไม่เป็น ก็อย่าจะไปคิดทำการใหญ่กันเลยครับ ก็แค่บอกไปตรงๆว่า วันนั้นที่ฮ่องกงไปทำอะไร บังเอิญหรือจงใจ ที่ไปนั่งเล่นอยู่เป็นชั่วโมง2ชั่วโมง ไปดักรอพบใครหรือเปล่า ได้เข้าพบหรือไม่ได้เข้าพบ ก็พูดความจริงไปเท่านั้นเอง

ฝั่งผมชี้แจงชัดเจน "จะบังเอิญอย่างไร ก็ไม่ให้พบ" เคลียร์มั๊ยครับ??

ปล. ถ้านึกไม่ออกว่าวันไหน ดูจากในรูปก็ได้ บังเอิญมีคนถ่ายภาพวิวแล้วติดมาครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=500410483340723&set=a.187295081318933.44541.186006744781100&type=1&theater

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล วันที่16 เมษายน 2556

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล วันที่16 เมษายน 2556
รางวัลที่ 1 คือ 843846
เลขท้าย 3 ตัว 834,862,906,828
เลขท้าย 2 ตัว 86





ตรวจหวย งวด 16 เม.ย. ทุกรางวัล ที่นี่ >> http://lottery.kapook.com/

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

สบน.ไขปมหนี้สาธารณะ ยันกู้2ล้านล้านไม่มีปัญหา

สบน.ไขปมหนี้สาธารณะ ยันกู้2ล้านล้านไม่มีปัญหา

คอลัมน์ รายงานพิเศษ

ความเห็นที่แตกต่างกันเรื่องหนี้สาธารณะสร้างความสับสนให้คนที่ติดตามข่าวนี้ไม่น้อย

ฝ่าย รัฐบาลยืนยันว่าแม้จะมีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และเงินกู้อื่นๆ หนี้สาธารณะสูงสุดของไทยอยู่ที่ 49% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในปรเะเทศ (จีดีพี) จากขณะนี้อยู่ในระดับ 44% ต่อจีดีพี ซึ่งไม่เกินกรอบวินัยการเงินการคลังที่ 60% ต่อจีดีพี

ด้านฝ่ายที่คัดค้านมองแนวโน้มหนี้สาธารณะของไทย ช่วงปี 2555-2562 จะอยู่ในระดับ 60-80% ต่อจีดีพี



หนังสือ พิมพ์ข่าวสดจึงสัมภาษณ์ น.ส. จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งเป็นผู้ชี้แจงได้กระจ่างชัดที่สุด

ข้อเป็นห่วงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท การกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ประชานิยมของรัฐบาล ทำให้หนี้สาธารณะเกิน 60% ต่อจีดีพี

พยายาม ติดตามข้อมูลว่าทำไมจึงแตกต่างกัน พบว่ามีการนำตัวเลขประชานิยม อาทิ รถคันแรก มาบวกในหนี้สาธารณะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับหนี้สาธารณะเลย เพราะเงินที่คืนให้กับโครงการรถคันแรกเป็นเงินที่เก็บมาจาก ผู้ซื้อรถยนต์ ไม่ได้กู้เงินมาจ่าย

ส่วนโครงการรับจำนำข้าวนั้นกำหนดกรอบกู้เงิน ไว้ไม่เกิน 4.1 แสนล้านบาท กู้ช่วง 2 ปีงบประมาณคือ 2555-2556 จะได้รับเงินคืนจากการขายข้าวบ้าง ไม่ใช่จะเสียหายทันที 4.1 แสนบาท การนำทุกอย่างมารวมในหนี้ ตัวเลขจึงสูง



สวนทางกับนักวิชาการ และฝ่ายค้านที่มองว่าหนี้สาธารณะจะสูง 60-80%

ใน การบริหารหนี้สาธารณะมีคณะกรรมการเกี่ยวข้องหลายคณะ มีระเบียบข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากรอบจะกำหนดไว้ 60% ต่อจีดีพี แต่รัฐบาลกำหนดแนวทางปฏิบัติต้องไม่เกิน 50% ต่อจีดีพี เพื่อให้มีช่องว่างไว้สำหรับกู้เงินหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

คนที่ คิดตัวเลขจะนำอะไรมาบวกก็ได้ เพื่อให้ตัวเลขสูง แต่ในส่วนของสบน.เอง ยืนยันว่าตัวเลขที่ไม่เกิน 50% ต่อจีดีพีนั้นรวมหนี้ทุกอย่างตามกฎหมายแล้ว คือ หนี้รัฐบาล หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้สถาบันการเงินของรัฐ(แบงก์รัฐ) ที่รัฐบาลค้ำประกัน หนี้หน่วยงานรัฐอื่นๆ

สบน.นำเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เงินกู้บริหารน้ำ 3.01 แสนล้านบาท เงินกู้ประกันภัยพิบัติล่าสุดที่กู้ยังไม่ถึง 5 หมื่นล้านบาท มาคำนวณ พบว่าหนี้สาธารณะสูงสุดคือในปี 2559-2560 อยู่ที่ 49% ต่อจีพีดี โดยในปี 2560 คาดว่าจีดีพีจะมีมูลค่า 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้สาธารณะที่ระดับ 8 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 5 ล้านล้านบาท



การก่อหนี้ของไทยอาจซ้ำรอยวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป และญี่ปุ่น

หนี้ ของไทยที่มีแผนก่อหนี้ใหม่ อาทิ 2 ล้านล้านบาท ถือเป็นหนี้ที่มีคุณภาพ เพราะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่มีผลตอบแทนในอนาคต ทำให้ระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเหล่า นั้น ระดับหนี้สาธารณะของไทยยังต่ำกว่ามาก ของไทยอยู่ที่ 44% ต่อจีดีพี เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น หนี้สาธารณะอยู่ในระดับ 237% ต่อจีดีพี กรีซ 171% สิงคโปร์ 106% อิตาลี 126% สหรัฐ 107% เวียดนาม 50% มาเลเซีย และลาว ที่ 53% พม่า 44% เกาหลีใต้ 34% กัมพูชา 29% จีน 22%



กรอบหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ 60% ต่อจีดีพี จะแน่ใจได้อย่างไรว่าในอนาคต สบน.จะบริหารไม่ให้เกินระดับนี้

กรอบ หนี้แม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับ ที่ผ่านมาการกำหนดกรอบหนี้มีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ อาทิ ช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง กำหนดกรอบหนี้ไว้สูงสุดถึง 65% เพราะต้องไปกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หนี้พุ่งสูงสุดที่ 61.71% ในปี 2543 หลังจากนั้นปรับหลายครั้งจนล่าสุดอยู่ที่ 60%

รัฐบาลมีนโยบายลดขาด ดุลงบประมาณทุกปี มีเป้าหมายจัดทำงบสมดุลในปี 2559 ทำรายรับให้เท่ากับรายจ่าย การกู้มาชดเชยขาดดุลปีละ 2-4 แสนล้านบาท จะลดลงเหลือเพียงกู้ตามโครงการที่ยังค้างอยู่คือ 2 ล้านล้านบาท จึงมั่นใจว่าการบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปตามแผนที่วางไว้



สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เหมาะสมของไทย

คง ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ สถาน การณ์ทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นในการใช้เงิน พร้อมทั้งต้องพิจารณาถึงตลาดตราสารหนี้ที่รองรับพันธบัตรและการกู้เงินจาก รัฐบาล

ในอดีตช่วงปี 2539 อยู่ในระดับที่ต่ำมากเพียง 14.55% ต่อจีดีพี แต่พอเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ขึ้นมาอยู่ที่ 35.58% ต่อจีดีพี และเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 61.71% ต่อจีดีพี ในช่วงปี 2543 หลังจากนั้นเริ่มปรับลดลงมาอยู่ที่ 37.27% ต่อจีดีพี เมื่อปี 2551 จนล่าสุดในปี 2556 อยู่ในระดับ 44% ต่อจีดีพี

ระดับหนี้ผูกพันกับจี ดีพี ขณะนี้มีมูลค่าที่ 12 ล้านล้านบาท คาดการณ์ว่าจากนี้ไปจีดีพีโตเฉลี่ยอย่างน้อย 4.5% คาดว่าในปี 2663 จะมีระดับจีดีพีที่ 20.2 ล้านล้านบาท ถ้าดูแล้วหากจะก่อหนี้ในระดับ 50% ต่อจีดีพี สามารถมีหนี้รวมต้องไม่เกิน 10.1 ล้านบาท เทียบกับขณะนี้จีดีพีมูลค่า 12 ล้านล้านบาท มีระดับหนี้สาธารณะที่ 5 ล้านล้านบาท หรือ 44%



รายได้ที่จะนำเงินมาใช้หนี้มาจากส่วนไหนบ้าง

หลักๆ คือจากภาษีต่างๆ การจัดเก็บภาษีจะเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนที่เป็นแหล่งรายได้รอง อาทิ เงินนำส่งของรัฐวิสาหกิจ รายได้จากทรัพย์สินที่กรมธนารักษ์ถืออยู่ ปีนี้รัฐบาลตั้งเป้าจัดเก็บที่ระดับ 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการจัดสรรเงินมาใช้หนี้เงินกู้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น เป็นไปตามการพิจารณาของสำนักงบประมาณ ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับกว่า 10% ของงบประมาณรายจ่าย เงินที่ได้รับจัดสรรมาชำระหนี้ต้องไม่เกินจากกรอบความยั่งยืนทางการคลัง กำหนดไว้ไม่เกิน 15% ของงบประมาณรายจ่าย



ไทยยังมีหนี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่นับรวมเป็นหนี้สาธารณะ (หนี้แฝง) เท่าไหร่

เท่า ที่ดูมีจำนวนไม่มากนัก คือหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่กว่า 7,000 แห่ง เท่าที่ดูเบื้องต้นในระดับหมื่นล้าน ส่วนหนี้อื่นๆ เคยมีผู้โยงไว้คือ หนี้ของแบงก์รัฐ ที่กู้เอง ซึ่งตามกฎหายไม่ถือว่าเป็นหนี้สาธารณะ แต่เชื่อว่าในระบบการดูแลแบงก์รัฐ ที่มีทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดูแลอยู่คงไม่เกิดปัญหาง่ายๆ หากมีปัญหาจริง กระทรวงการคลังต้องเพิ่มทุน หรือควบรวมกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับหนี้สาธารณะ เพียงแต่ถูกเชื่อมโยงว่าแบงก์รัฐ หากเกิดปัญหารัฐก็ต้องดูแล



การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทฝ่ายค้านระบุว่าผิดกฎหมาย เพราะเป็นเงินนอกงบประมาณ

ที่ผ่านมามีการกู้เงินในลักษณะนี้หลายครั้ง และคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 12 (กฎหมายการคลัง) พิจารณาแล้วว่าทำได้



ภาระหนี้ 2 ล้านล้านบาท ที่กำหนดให้ใช้หนี้ใน 50 ปี เหมาะสมหรือไม่

การ พิจารณาเรื่องใช้หนี้ 50 ปีนั้น สบน.นำตัวอย่างมาจากญี่ปุ่นที่การกู้ส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาใช้หนี้ชัดเจน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของไทย ที่กำหนดเวลาใช้หนี้อย่างชัดเจน

สำหรับ ระยะเวลาในการใช้หนี้ สบน.คิดจากผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง อาทิ รถไฟ ท่าเรือ ถนน ที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องสูงสุด 50 ปี ดังนั้นการใช้หนี้ 50 ปีจึงเหมาะสม ที่บอกกันว่าเป็นการสร้างหนี้ให้ลูกหลาน สบน.มองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมเช่นกัน เพราะสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ทำให้เพื่อลูกหลานใช้ประโยชน์ ลูกหลานควรต้องใช้หนี้ที่เกิดขึ้น

หวังว่าคำอธิบายของผู้อำนวยการสบน. น่าจะสร้างความกระจ่างได้บ้างตามสมควร


หน้า 8

 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEUwTURRMU5nPT0%3D&sectionid=TURNd05RPT0%3D&day=TWpBeE15MHdOQzB4TkE9PQ%3D%3D


twitter

ห้องแชทKonthaiuk