PEACE TV LIVE

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คลิป เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
สาเหตุของความขัดแย้ง

ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 มีความพยายามกลับประเทศไทย ของ จอมพลประภาส จารุเสถียร ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2519 และการกลับประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 หลังจากที่ทั้งสองได้เดินทางออกนอกประเทศหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา

หลังจากการกลับมาของจอมพลประภาส ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ ชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้จอมพลประภาส เดินทางกลับออกนอกประเทศ จนกระทั่งในที่สุด จอมพลประภาสจึงยินยอมเดินทางออกนอกประเทศในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2519
ต่อมา จอมพลถนอมได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศอีกในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 โดยก่อนหน้านั้นได้แวะที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อบวชเป็นสามเณรที่วัดไทยในสิงคโปร์ และได้รับอนุญาตให้เข้าอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร ได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้และตั้งฉายาว่า "สุกิตติขจโร" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ มล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์ ราชเลขาธิการในขณะนั้น อัญเชิญผ้าไตรพระราชทานมาด้วย ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงได้ชุมนุมเพื่อขับไล่อีก

ในขณะนั้นได้เกิดความแตกแยก ทั้งในพรรคการเมืองและกลุ่มประชาชน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สนับสนุนบทบาทของนิสิตนักศึกษา และ กลุ่มที่ต่อต้านนิสิตนักศึกษา ทำให้สถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศลาออกจากตำแหน่ง แต่พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ ก็ตัดสินใจเลือก ม.ร.ว. เสนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง

ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2519 นายวิชัย เกษศรีพงษา และนายชุมพร ทุมไมย พนักงานการไฟฟ้านครปฐม และสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกซ้อมตายระหว่างออกติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม และถูกนำศพไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่จัดสรร บริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม แต่ ตำรวจสรุปสำนวนคดีว่าเกิดจากการผิดใจกับคนในที่ทำงาน

ความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ขับไล่พระถนอม ทวีความรุนแรงมากขึ้น มหาวิทยาลัยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการชุมนุมเพื่ออภิปรายโจมตีรัฐบาล ต่อต้านการกลับมาของจอมพลถนอม และให้จัดการจับฆาตกรสังหารโหดฆ่าแขวนคอที่นครปฐม สภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาล ให้จอมพลถนอมออกนอกประเทศภายใน 5 วัน มิฉะนั้นจะหยุดงานทั้งประเทศตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นไป ทั้งนักศึกษา สภาแรงงาน และผู้ต่อต้าน ได้รวมตัวกันประท้วงที่สนามหลวง จากนั้นจึงย้ายเข้าไปชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทางด้านกลุ่มที่ต่อต้านการกระทำของนิสิตนักศึกษา อันประกอบด้วย กลุ่มนวพล (พลโท สำราญ แพทยกุล เป็นแกนนำ รหัส นวพล001 เป็นหนึ่งในองคมนตรี) กลุ่มพิทักษ์ชาติไทย กลุ่มกระทิงแดง และอื่น ๆ ได้ร่วมกันแถลงการณ์กล่าวหาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สภาแรงงาน และนักการเมืองบางคนว่า ได้ถือเอากรณีพระถนอม เป็นเงื่อนไขสร้างความไม่สงบในประเทศ ต่อมากลุ่มเหล่านี้จึงเดินทางเข้ามาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สนามเสือป่า ราชตฤณมัยสมาคม และสนามหลวง เพื่อต่อต้านการชุมนุมของนิสิตนักศึกษา กลุ่มเหล่านี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลจับกุม และปลดรัฐมนตรีบางคนที่เชื่อว่าให้การสนับสนุนนิสิตนักศึกษา แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้สั่งการประการใด

ในวันที่ 4 ตุลาคม มีการชุมนุมที่ลานโพธิ์ มีการอภิปราย และการแสดงละครเกี่ยวกับกรณีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้านครปฐม จัดโดยชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นสถานีวิทยุยานเกราะนำโดย พ.ท.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นายสมัคร สุนทรเวช, ทมยันตี, ฯลฯ ออกข่าวว่านักศึกษาที่แสดงละคร มีใบหน้าคล้ายเจ้าฟ้าชายถูกแขวนคอ ต่อมาหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบางกอกโพสต์ ฉบับเช้าวันที่ 5 ตุลาคม เผยแพร่ภาพการแสดงล้อการแขวนคอของนักศึกษาที่ลานโพธิ์ โดยพาดหัวข่าวเป็นเชิงว่า การแสดงดังกล่าวเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
คืนวันที่ 5 ตุลาคม สถานีวิทยุยานเกราะและชมรมวิทยุเสรี ออกอากาศกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เรียกร้องให้ประชาชน และลูกเสือชาวบ้าน ไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจับกุมผู้กระทำการหมิ่นองค์สยามมกุฎราชกุมารมาลงโทษ ตลอดทั้งคืน

กลุ่มเจ้าหน้าที่ราชการ

  • ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จากค่ายนเรศวร หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์
  • ตำรวจนครบาล ภายใต้การนำของ พล ต.อ. ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น

กลุ่มพลังฝ่ายขวา

กลุ่มสำคัญต่าง ๆ ที่มีส่วนในการปราบปรามและสังหารนักศึกษาและประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้แก่

กลุ่มนวพล

กลุ่มนวพลก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มทหารในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เช่น พล.อ. วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ อดีตเจ้ากรมข่าวทหาร และ พล.อ. สายหยุด เกิดผล เสนาธิการ กอ.รมน. เป็นต้น พล.อ.วัลลภ ได้อธิบายเหตุผลในการก่อตั้งกลุ่มว่า ชาติจะอยู่รอดได้ด้วยสถาบันวัดกับวัง จึงต้องระดมประชาชนเพื่อป้องกันสองสถาบันหลักนี้ ซึ่งสอดคล้องกับความหมายหนึ่งของชื่อกลุ่มนวพล คือที่หมายความว่า “พลังเก้า” ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือ “กำลังใหม่” (ตามรูปแบบการก่อตั้ง)
ผู้นำสำคัญของกลุ่มนวพล
  • พลโท สำราญ แพทยกุล ซึ่งเป็นองคมนตรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 และเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทอย่างยิ่ง พลโทสำราญเป็นนวพลอันดับแรก หรือ นวพล 001
  • พล.อ. วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ อดีตเจ้ากรมข่าวทหาร
  • พล.อ. สายหยุด เกิดผล เสนาธิการ กอ.รมน.
  • นายวัฒนา เขียววิมล ปัญญาชนจากสหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากรประจำกลุ่มและเป็นผู้ประสานงานกลุ่ม
  • พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติวุฑโฒ ภิกขุ) พระภิกษุผู้ประกาศต่อสาธารณชนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 ว่า “การฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”
กลุ่มนวพลมีส่วนเป็นอย่างมากในการเข้าร่วมกรณีสังหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

 ลูกเสือชาวบ้าน

ลูกเสือชาวบ้านเป็นกองกำลังหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการปราบปรามขบวนการนัก ศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา โดยส่วนใหญ่พันผ้าพันคอพระราชทานในวันนั้นด้วย ผู้ที่มีบทบาทในการก่อตั้งกลุ่มลูกเสือชาวบ้านคือ พล.ต.ต. สมควร หริกุล ผู้กำกับตำรวจชายแดนเขต 4 ร่วมมือกับข้าราชการท้องถิ่นอีกหลายคน โดยได้จัดการอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นแรก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และต่อมา พล.ต.ต. เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ก็ได้เข้าร่วมผลักดัน
กิจการลูกเสือชาวบ้านขยายตัวอย่างมากหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 มีนายทหารและนักการเมืองสำคัญเข้าร่วมหลายคน เช่น พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นผู้ตรวจการลูกเสือชาวบ้าน นายธรรมนูญ เทียนเงิน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการลูกเสือชาวบ้านพระนคร

ชมรมวิทยุเสรี

ชมรมวิทยุเสรี เป็นกลุ่มสถานีวิทยุของทหารที่ทำงานประสานกันตั้งแต่ พ.ศ. 2519 โดยมีสถานีวิทยุยานเกราะเป็นแกนกลาง มีบทบาทสำคัญในการชี้นำฝ่ายกระทิงแดง และกลุ่มฝ่ายขวาอื่นๆ ในการเคลื่อนไหวต่อต้านนักศึกษาในวันที่ 5-6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา

ชมรมแม่บ้าน

ชมรมแม่บ้านเป็นการรวมกลุ่มของภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้าน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 เพื่อโจมตีขบวนนักศึกษาที่เคลื่อนไหวต่อต้านฐานทัพอเมริกาโดยตรง โดยมี ทมยันตี หรือนางวิมล ศิริไพบูลย์ (เจียมเจริญ) เป็นแกนสำคัญ โดยโจมตีขบวนการนักศึกษาว่าเป็นผู้บ่อนทำลายมิตรประเทศ

การสังหารในวันที่ 6 ตุลาคม
ไทยรัฐ ลงข่าวการสังหารหมู่นองเลือด ซึ่ง ไทยรัฐ เป็นเพียงหนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับที่ไม่โดนคำสั่งคณะปฏิวัติ ปิดเป็นเวลา 3 วัน หลังเหตุการณ์
เวลาเช้ามืดราว 2 นาฬิกา กลุ่มกระทิงแดงทุกจุด รอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตรียมปฏิบัติการโดยประสานงานกับตำรวจนอกเครื่องแบบ และมีกลุ่มกระทิงแดงเข้าแทรกตัวปะปนกับหมู่นิสิตนักศึกษา กลุ่มนวพลได้เรียกร้องให้รัฐบาลจับกุมนิสิตนักศึกษา

เวลาราว 5 นาฬิกา เริ่มมีการยิงจากภายนอกเข้าสู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยถูกล้อมไว้ เวลา 7 นาฬิกา กลุ่มทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง และกลุ่มอันธพาล ได้ใช้รถบัสพุ่งชนประตูมหาวิทยาลัย ทั้งหมดเข้าสู่มหาวิทยาลัยและใช้อาวุธหนักระดมยิง ตำรวจหน่วยคอมมานโด หน่วยปฏิบัติการพิเศษและตำรวจนครบาลจาก ท้องที่ต่างๆเข้าถึงที่เกิดเหตุ เวลา 8 นาฬิกา ตำรวจตระเวนชายแดนพร้อมอาวุธครบมือเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมยิงกระสุนเข้าใส่นักศึกษา

เวลา 8.30 น. - 10.00 น. นักศึกษาและประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิ่งหนีวิถีกระสุนจากตำรวจตระเวนชายแดนและกลุ่มผู้ก่อเหตุ นักศึกษาบางคนวิ่งหนีออกทางประตูหน้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาบางส่วนหนีอออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา หลายคนถูกรุมตี รุมกระทืบ บางคนที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บถูกนำไปแขวนคอ และถูกผู้คนแสดงท่าทางเยาะเย้ยศพ กลุ่มคนบางกลุ่มลากเอาศพนักศึกษามาเผากลางถนนราชดำเนิน ตรงข้ามพระแม่ธรณีบีบมวยผม โดยใช้ยางรถยนต์ทับและราดด้วยน้ำมันเบนซิน บางส่วนใช้ของแข็งทำอนาจารศพนักศึกษาหญิง

เวลาราว 11 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าเคลียร์พื้นที่ และให้นักศึกษานอนคว่ำหน้ากับพื้นสนามฟุตบอล จากนั้นจึงนำตัวผู้ต้องหาขึ้นรถออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อควบคุมตัวไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน กลุ่มคนที่มุงดูใช้ก้อนหิน อิฐ ไม้ ขว้างปาผู้ที่อยู่บนรถ

เวลาราว 16 นาฬิกา กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน นำโดย พล.ต.ท. เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน และกลุ่มแม่บ้าน นำโดย ทมยันตี ได้บุกเข้าทำเนียบรัฐบาล โดยใช้รถบรรทุกที่ทำเป็นเวทีปราศรัยบุกพังประตูเข้าไป บางคนได้ถือเชือกเข้าไปโดยจะเข้าไปแขวนคอ 3 รัฐมนตรีของรัฐบาล ได้แก่ นายชวน หลีกภัย, นายดำรง ลัทธพิพัฒน์, นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เนื่องจากกล่าวหาว่าบุคคลทั้ง 3 เป็นคอมมิวนิสต์ แต่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ลงไปพบและยืนยันว่าบุคคลทั้ง 3 ไม่ได้มีพฤติกรรมดังกล่าว มีผู้ตะโกนถามว่า ท่านจะจัดการอย่างไร ม.ร.ว. เสนีย์ตอบว่า ท่านจะบอกให้รัฐมนตรีทั้ง 3 ลาออกเองเพื่อความสงบของบ้านเมือง มีผู้ถามต่อไปว่า ถ้าบุคคลทั้ง 3 ไม่ลาออกจะทำอย่างไร ม.ร.ว. เสนีย์ตอบว่า ท่านจะลาออกเอง แต่ภายหลังข้อความนี้ได้ถูกวิทยุยานเกราะนำไปตัดต่อกลายเป็นข้อความว่า ท่านไม่เคยรู้มาก่อนว่าบุคคลทั้ง 3 นี้เป็นคอมมิวนิสต์ และท่านจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ครั้นถึงเวลา 18.00 น. คณะทหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง มีผลให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่ง และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

หลังจากเหตุการณ์นี้ มีการพิจารณาคดีในศาลยืดยาวถึง 3 ปี โดยแกนนำนักศึกษา 19 คนถูกคุมขังตีตรวนโดยตลอด แต่ฝ่ายผู้เข้าล้อมปราบไม่มีผู้ใดได้รับการลงโทษ มีผู้เข้าฟังการพิจารณาคดีจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชนจากประเทศต่างๆ จนเมื่อ 3 ปีผ่านไป ได้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทำให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้ ไม่ต้องถูกสอบสวนลงโทษแต่อย่างใด

บุคคลที่เสียชีวิตหรือสูญหายในเหตุการณ์


ญาติของผู้เสียชีวิตร่ำไห้เมื่อมารับศพ
ฝ่ายนักศึกษาและประชาชน เสียชีวิตอย่างน้อย 41 ราย ในจำนวนนี้ เป็นศพถูกเผา ระบุรายละเอียดแยกชายหญิงไม่ได้ จำนวน 4 ราย (หนึ่งในนั้น คือ จารุพงษ์ ทองสินธุ์ กรรมการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ซึ่งเป็นระดับแกนนำผู้ชุมนุมเพียงคนเดียวที่เสียชีวิต ผู้เสียชีวิตที่เหลือเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น และแกนนำที่รอดชีวิตส่วนใหญ่ถูกจับรวม 18 คน และนำตัวขึ้นศาลทหารข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนอยู่ 3 ปี จึงได้รับการปล่อยตัวเมื่อมีการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็น พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ส่วนแกนนำที่รอดจากการถูกจับกุมขึ้นศาลทหารได้ส่วนใหญ่ก็หลบหนีเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรือ พคท.)
รายชื่อผู้เสียชีวิตเป็นศพชายไทยไม่ทราบชื่อ จำนวน 6 ราย และเป็นศพที่ระบุชื่อได้ จำนวน 30 ราย คือ
  • นายพงษ์พันธ์ เพรามธุรส : ถูกระเบิด
  • นายวิชิตชัย อมรกุล : ถูกของแข็งมีคมและถูกรัดคอ
  • นายอับดุลรอเฮง สาตา : ถูกกระสุนปืน
  • นายมนู วิทยาภรณ์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายสุรสิทธิ์ สุภาภา : ถูกกระสุนปืน
  • นายสัมพันธ์ เจริญสุข : ถูกกระสุนปืน
  • นายสุวิทย์ ทองประหลาด : ถูกกระสุนปืน
  • นายบุนนาค สมัครสมาน : ถูกกระสุนปืน
  • นายอภิสิทธิ์ ไทยนิยม : ถูกกระสุนปืน
  • นายอนุวัตร อ่างแก้ว : ถูกระเบิด
  • นายวีระพล โอภาสพิไล : ถูกกระสุนปืน
  • นายสุพจน์ พันธุ์กาฬสินธุ์ : ถูกกระสุนปืน
  • นางสาวภรณี จุลละครินทร์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายยุทธนา บูรศิริรักษ์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายภูมิศักดิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย : ถูกกระสุนปืน
  • นางสาววัชรี เพชรสุ่น : ถูกกระสุนปืน
  • นายดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง : ถูกกระสุนปืน
  • นายไพบูลย์ เลาหจีรพันธ์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายชัยพร อมรโรจนาวงศ์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายอัจฉริยะ ศรีสวาท : ถูกกระสุนปืน
  • นายสงวนพันธุ์ ซุ่นเซ้ง : จมน้ำ
  • นางสาววิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายสมชาย ปิยะสกุลศักดิ์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายวิสุทธิ์ พงษ์พานิช : ถูกกระสุนปืน
  • นายสุพล บุญทะพาน : ถูกกระสุนปืน
  • นายศิริพงษ์ มัณตะเสถียร : ถูกกระสุนปืน
  • นายวสันต์ บุญรักษ์ : ถูกกระสุนปืน
  • นายเนาวรัตน์ ศิริรังษี : ถูกกระสุนปืน
  • นายปรีชา แซ่เซีย : ถูกของแข็ง อาวุธหลายชนิด และถูกรัดคอ
  • นางสาวอรุณี ขำบุญเกิด : ถูกกระสุนปืน

เหตุการณ์ภายหลัง

  1. ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ และได้กลับมาในภายหลัง
  2. นายสมัคร สุนทรเวช ผู้จัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย) โดยดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถึง 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520
  3. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตผู้นำเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี 4 สมัย ต้องลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2522และยุติบทบาททางการเมืองไปทั้งหมด
  4. นางวิมล เจียมเจริญ (ทมยันตี) แกนนำชมรมแม่บ้านที่เคลื่อนไหวโจมตีกลุ่มนักศึกษา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และต่อมาก็ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
  5. ดร. สรรพสิริ วิริยศิริ ผู้อำนวยการช่อง 9 อสมท. ถูกปลดออกจากตำแหน่ง หลังแพร่ภาพเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ต่อสาธารณะ
  6. นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ หนึ่งในรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ต้องยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด และภายหลังเหตุการณ์ได้บวชเป็นพระ และเขียนจดหมายขึ้นมาฉบับหนึ่ง ชี้แจงถึงเหตุการณ์ทั้งหมด
  7. หนังสือพิมพ์ทุกฉบับในประเทศไทย ถูกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ห้ามตีพิมพ์เผยแพร่เป็นเวลา 3 วัน (6 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516) หลังจากนั้นตลอดรัฐบาลธานินทร์ มีการสั่งปิดหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผล "โจมตีรัฐบาล" ในขณะที่หนังสือพิมพ์ที่ไม่โจมตีรัฐบาล เช่น ไทยรัฐ และ บางกอกโพสต์ สามารถดำเนินกิจการอย่างราบรื่น
    1. 11 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ปิดหนังสือพิมพ์ ดาวดารายุคสยาม รายวัน
    2. 10 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ปิดหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์ ไม่มีกำหนด รวม 13 ฉบับ (ปิดตาย)
    3. 29 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ปิดหนังสือพิมพ์ ชาวไทย รายวัน 7 วัน ด้วยเหตุผล ลงข่าวเรื่อง ปลัดชลอ วนภูติ โกงอายุราชการ
    4. 14 มกราคม พ.ศ. 2520 ปิด เสียงปวงชน 3 วัน ด้วยเหตุผล พาดหัวข่าวไม่ตรงกับความจริง
    5. 18 มกราคม พ.ศ. 2520 ปิด ปฏิญญา รายปักษ์ ไม่มีกำหนดเพราะตีพิมพ์ข้อความอันมีลักษณะโฆษณาชวนเชื่อให้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์
    6. 20 มกราคม พ.ศ. 2520 ปิด แนวหน้าแห่งยุค เดลินิวส์ ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์ข้อความที่ทำให้ต่างชาติอาจเข้าใจรัฐบาลไทยผิด
    7. 26 มกราคม พ.ศ. 2520 ปิด เดลิเมล์รายวัน ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากใบอนุญาตขาดการต่ออายุไปแล้ว
    8. 27 มกราคม พ.ศ. 2520 ปิด ดาวดารายุคสยาม ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์ข้อความเป็นเท็จ
    9. 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ปิด บ้านเมือง 7 วัน ด้วยเหตุผล ตีพิมพ์ข้อความที่มีลักษณะกล่าวร้ายเสียดสีรัฐบาลไทย
    10. 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ปิด เด่นสยามรายวัน ไม่มีกำหนด ด้วยเหตุผล วิจารณ์การปิดเดลินิวส์
    11. 31 มีนาคม พ.ศ. 2520 ปิด ชาวไทย ไม่มีกำหนด ด้วยเหตุผล เขียนข้อความบิดเบือนความเป็นจริง
    12. 10 เมษายน พ.ศ. 2520 ปิด เดลิไทม์ ไม่มีกำหนด
    13. 12 เมษายน พ.ศ. 2520 ปิด บางกอกเดลิไทม์ ไม่มีกำหนด
    14. 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ปิด บูรพาไทม์ ยุคชาวสยาม ไม่มีกำหนด ด้วยเหตุผล กล่าวร้ายรัฐบาล กรณีใช้ ม.21 ประหารชีวิต พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
    15. 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ยึดหนังสือ "เลือดล้างเลือด"
    16. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ปิด สยามรัฐ 7 วัน
    17. 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ปิด เสียงปวงชน ไม่มีกำหนด
    18. 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ปิด ยุคใหม่รายวัน ไม่มีกำหนด ที่ราชบุรี
    19. 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ปิด หลังเมืองสมัย ไทยเดลี่ 7 วัน จากการลงบทความ "รัฐบาลแบบไหน"
    20. 13 สิงหาคม พ.ศ. 2520 เสียงปวงชน ถูกสั่งปิด จากบทความเรื่อง 'อธิปไตยของชาติ'
  8. สมาชิกกลุ่มกระทิงแดง นวพล และตำรวจ ที่เข้าปราบปรามทั้งหมดได้รับการพ้นโทษ จากกฎหมายนิรโทษกรรม
  9. มีการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้แก่ นักศึกษาที่ถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
  10. ตำรวจ กลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มนวพล ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ ได้รับกระเช้าเยี่ยมพระราชทาน
  11. แกนนำนักศึกษาบางคนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถูกจับกุมคุมขังเป็นเวลา 3 ปีโดยไม่ได้รับการพิจารณาคดี
  12. พ.ศ. 2542 จอมพลถนอม กิตติขจร ถูกเสนอชื่อจากกองทัพ ให้เป็น นายทหารพิเศษรักษาพระองค์
  13. พ.ศ. 2544 อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ก่อตั้งสำเร็จบนที่ดินเช่าของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณใกล้เคียงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนิน ใช้เวลา 27 ปีนับตั้งแต่มีการเสนอให้สร้างใน ปี พ.ศ. 2517

การแถลงข่าว นปช. แดงทั้งแผ่นดิน 5 ต.ค.2555

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาพข่าวพระราชกรณียกิจเมื่อ6ตุลาคม2519

ภาพข่าวพระราชกรณียกิจเมื่อ6ตุลาคม2519

เมื่อลมฝนบนฟ้ามาแล้ว ร่มโพธิ์แก้วจะพาพฤกษาสดใส(ภาพขวา)-พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 6 ต.ค. พสกนิกรชาวไทยผู้มั่นคงในองค์พระมหากษัตราธิราช เฝ้าถวายความจงรักภักดีโดยคับคั่ง

พุทธมามก(ภาพซ้าย)-สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ถวายสักการะสมเด็จพระญาณสังวร ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามก ปฏิบัติพระองค์โดยเบญจศีล ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อวันที่ 6 ต.ค. นี้ (ภาพและคำบรรยาย:เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
6 ตุลาคม 2554

สถาบันกษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนสักการะของพสกนิกรชาวไทยได้มีบทบาทสำคัญในการดับ วิกฤตการณ์การเมืองมาหลายคราว ให้เหตุร้ายต่างๆสงบเย็นลงด้วยพระบารมี ทว่าในคราวเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เมื่อ 35 ปีที่แล้ว ไม่ได้มีบันทึกทางราชการไว้ในแง่มุมนี้แต่อย่างใด

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บันทึกไว้ในบทความทางวิชาการว่า จากการศึกษานั้นพบว่า ไม่ได้มีการบันทึกในหนังสือทางการชื่อ พระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม 2519 –กันยายน 2520 ของสำนักราชเลขาธิการ แต่อย่างใด (ดูหน้า 2 ของหนังสือ ซึ่งสรุปพระราชกรณียกิจวันที่ 5 ตุลาคม แล้วข้ามไปวันที่ 8 ตุลาคมเลย)

กระนั้นก็ตามหนังสือพิมพ์ในยุคนั้น ก็ได้บันทึกพระราชกรณียกิจอันเปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระราชวงศ์ ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยไว้ดังต่อไปนี้


วันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ที่ถูกขับไล่ไปในคราวเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ได้กลับเข้าประเทศ โดยบวชเป็นสามเณรมาจากสิงคโปร์ จากนั้นได้มายังวัดบวรนิเวศฯ เพื่อบวชเป็นภิกษุ โดยมีพระญาณสังวร เป็นองค์อุปัชฌาย์
ต่อ มาในเวลา 21.30 น.วันที่ 23 กันยายน 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระบรมราชินีฯเสด็จไปที่วัดบวรนิเวศ เพื่อสนทนาธรรมกับพระญาณสังวรฯ ซึ่งเคยเป็นพระพี่เลี้ยงเมื่อพระองค์ทรงผนวช

ในระหว่างการเยือน คุณหญิงเกษหลง สนิทวงศ์ นางสนองพระโอษฐ์ ได้แถลงว่า สมเด็จพระราชินีให้มาบอกว่า ได้ทราบว่าจะมีคนใจร้ายจะมาเผาวัดบวรนิเวศ จึงทรงมีความห่วงใยอย่างมาก “ขอให้ประชาชนช่วยกันดูแลป้องกัน อย่าให้ผู้ใจร้ายมาทำลายวัด” (ที่มา:www.2519.net)

เย็นศิระเพราะพระบริบาล-เด ลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ได้ตีพิมพ์ภาพในหลวงและสมเด็จพระบรมฯ กำลังทรงเสด็จทอดพระบาท โดยมีลูกเสือชาวบ้านจำนวนหนึ่งนั่งถวายบังคมกับพื้น พร้อมคำบรรยายว่า “เมื่อลมฝนบนฟ้ามาแล้ว ร่มโพธิ์แก้วจะพาพฤกษาสดใส พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 6 ต.ค. พสกนิกรชาวไทยผู้มั่นคงในองค์พระมหากษัตราธิราช เฝ้าถวายความจงรักภักดีโดยคับคั่ง”

ดร.สมศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าคำบรรยายนี้ถูกต้อง ก็แสดงว่า ในวันนั้น ในหลวงทรงเสด็จไปยังบริเวณใกล้กับสถานที่เกิดเหตุ (ธรรมศาสตร์-สนามหลวง)มาก น่าเสียดายว่า คำบรรยายไม่ได้ระบุว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอะไรและเวลาใด (ทั้ง 2 พระองค์อยู่ในฉลองพระองค์สูทสากล)

ติดกันยังเป็นพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมฯทรงกำลังนมัสการพระญาณสังวร โดยมีคำบรรยายว่า “พุทธมามก สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ถวายสักการะสมเด็จพระญาณสังวร ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามก ปฏิบัติพระองค์โดยเบญจศีล ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อวันที่ 6 ต.ค. นี้” (ทรงอยู่ในฉลองพระองค์สูทสากล จึงอาจเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่เสด็จวัดพระแก้วในอีกภาพหนึ่ง)
ที่มา:บทความ"เราสู้" หลัง 6 ตุลา โดยสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ทรงต้องการให้บ้านเมืองสามัคคี-หนังสือพิมพ์ดาวสยาม ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ตีพิมพ์ว่า เมื่อเวลา 17.00 น.ของวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้รับสั่งเรียกนายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าการกรุงเทพมหานครเข้าเฝ้าฯ ทรงรับสั่งเกี่ยวกับการที่ได้มีลูกเสือชาวบ้านจากต่างจังหวัดนับเป็นหมื่นๆ คนได้มาชุมนุมนั้นอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับอาหารและที่พัก ทรงรับสั่งให้นายธรรมนูญชี้แจงให้ลูกเสือชาวบ้านสลายตัว

ในขณะนั้นเองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพร้อมกับนายธรรมนูญ เทียนเงิน มาที่ทำเนียบรัฐบาลและที่ชุมนุมลูกเสือชาวบ้านด้วย ได้ทรงมีพระราชดำรัสกับกลุ่มลูกเสือชาวบ้านที่มาชุมนุมว่า
"ข้าพเจ้า ขอให้ทุกคนยิ้มแย้มและใจเย็นๆ ไม่มีอะไรที่แก้ไขไม่ได้ แต่ต้องค่อยแก้ค่อยไป บ้านเมืองตอนนี้กำลังต้องการความสามัคคีและกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่สำคัญ ฉะนั้นขอให้ทุกคนสลายตัวเสีย ถือว่าให้ของขวัญกับข้าพเจ้า ท่านเหนื่อยกันมามากแล้ว ขอให้กลับไปหลับนอนเสียให้สบาย ทุกคนโปรดทราบว่า สองล้นเกล้าฯทรงเป็นห่วง ไม่มีอะไรที่สองล้นเกล้าฯจะเสียใจเท่ากับพวกเราฆ่ากันเอง ขอให้ทุกคนโชคดี"..

ขณะที่วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ ได้บันทึกเกี่ยวกับพระราชดำรัสครั้งนี้ว่า “ได้มีรับสั่งขอบใจที่ทุกคนรู้สึกเจ็บร้อนแทนพระองค์” (ยังเตอร์กของไทย, หน้า 219)

ที่มา:เชิงอรรถบทความ เราสู้หลัง6ตุลา โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

พระมหากรุณาธิคุณ-เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์เจ้าฟ้าชายในหน้า 1 พร้อมคำบรรยายว่า
“เสด็จฯ ทำเนียบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯไปทำเนียบรัฐบาลเมื่อเย็นวันที่ 6 ต.ค. ทรงมีรับสั่งกับลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งไปชุมนุมอย่างแน่นขนัดประมาณ 6 หมื่นคน”

ที่มา:เชิงอรรถบทความ เราสู้หลัง6ตุลา โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


พระมหากรุณาธิคุณจาก2ทูลกระหม่อม-หนังสือ พิมพ์เสียงปวงชน ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงกำลังก้มลงสอบถามอาการผู้บาดเจ็บที่กำลังนอนอยู่บนเตียงผู้หนึ่ง ด้วยพระพักตร์ห่วงใย พร้อมคำบรรยายภาพว่า
“ทูลกระหม่อมทั้งสอง พระองค์เสด็จเยี่ยมตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการกวาดล้างที่ธรรมศาสตร์ ที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อ 15.00 น. วันที่ 7 เดือนนี้ และพระราชทานเงินของมูลนิธิสายใจไทยให้ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บทุกคน”


สองสัปดาห์ต่อมา คือในวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ได้มีพิธีบำเพ็ญกุศลและ บรรจุศพนายเสมอ อ้นจรูญ ลูกเสือชาวบ้านคนหนึ่งที่บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยในเช้าวันที่ 6 และเสียชีวิต (จากกระสุนของฝ่ายนักศึกษา?) โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ เสด็จพระดำเนินทรงร่วมงานด้วย วันต่อมา ไทยรัฐ ตีพิมพ์บนหน้า 1 พระฉายาลักษณ์ทั้งสองพระองค์ในฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ดำ กำลังทรงนั่งย่อพระวรกายลงสนทนากับครอบครัวของนายเสมออย่างใกล้ชิด พร้อมคำบรรยายภาพสั้นๆ (ในลักษณะที่หนังสือพิมพ์เรียกว่า “ภาพเป็นข่าว”)

วันที่ 22 ตุลา ไทยรัฐ และ ไทยเดลี่ ตีพิมพ์พระฉายาลักษณ์ของ 2 พระองค์ในพระอริยาบทเดียวกันระหว่างทรงสนทนากับลูกเสือชาวบ้านที่มาร่วมงาน และเฝ้ารับเสด็จในวันบรรจุศพนายเสมอ แต่อยู่ในหน้า 4

มีเพียง เดลินิวส์ ฉบับวันนั้น ที่นอกจากตีพิมพ์พระฉายาลักษณ์ในหน้า 1 แล้ว ยังรายงานข่าวในหน้าเดียวกัน ดังนี้:


ฟ้าหญิงฯ สดุดีศพลูกเสือชาวบ้าน

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองเสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลและบรรจุศพ “นายเสมอ อ้นจรูญ” ลูกเสือชาวบ้านที่เสียชีวิตจากการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ จากเหตุการณ์จลาจล “6 ต.ค.” ที่วัดพระศรีมหาธาตุ ท่ามกลางลูกเสือชาวบ้านร่วมพิธีกว่า 5 พันคน ทรงสดุดีวีรกรรมว่าสมควรแก่การเชิดชูเป็นแบบอย่าง

เมื่อเวลา 15.00 น. (ที่ 20 ตุลาคม 2519) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ เสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลและบรรจุศพ นายเสมอ อ้นจรูญ ลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ 5 ค่ายวังสราญรมย์ 206/3 กทม. 70 ณ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อเสด็จมาถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระสงฆ์ 39 รูป สวดมาติกาจบแล้ว เจ้าพนักงานลาดภูษาโยง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯเสด็จไปทอดผ้าแล้วทรงหลั่งทักษิโณทก

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา ทรงกล่าวสดุดีเกียรติคุณ นายเสมอ อ้นจรูญ ว่า
“การ ปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้ [เป็นไปตาม] คำสัตย์ปฏิญาณที่ได้ปฏิญาณไว้กับลูกเสือชาวบ้าน สมควรแก่การเชิดชู เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ลูกเสือชาวบ้านต่อไปในด้านมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์”
แล้วเสด็จไปที่หน้าหีบศพ ทรงหยิบดินห่อผ้าขาวดำวางบนพานที่ตั้งหน้าหีบศพ ทรงวางพวงมาลา

ในโอกาสนี้ ทั้งสองพระองค์ เสด็จเยี่ยมลูกเสือชาวบ้านกว่า 5,000 คน ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดใกล้เคียง ที่มาเฝ้ารับเสด็จอย่างคับคั่งตามพระอัธยาศัยด้วย

สำหรับวีรกรรมของนายเสมอ ที่ได้ปฏิบัติจนถึงแก่เสียชีวิต คือ เมื่อวันที่ 6 ต.ค.นี้ เวลา 08.00 น. นายเสมอได้ติดตามตำรวจเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้ ถูกฝ่ายผู้ก่อการไม่สงบระดมยิงมาจากด้านข้างหอประชุมใหญ่ ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ที่มา:บทความ เราสู้หลัง 6 ตุลา โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ทรงเยี่ยมกับพสกนิกร-ในหลวง และพระบรมราชวงศ์เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร และลูกเสือชาวบ้านที่จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ทรงพระเกษมสำราญกับราษฎรอย่างใกล้ชิด อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

จากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ในช่วงนั้น ก็คงทำให้พสกนิกรชาวไทยได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยทั่วกันว่า แผ่นดินไทยสงบร่มเย็นมาตลอดได้ก็ด้วยพระบารมี ขอทรงพระเจริญ
 http://thaienews.blogspot.tw/2011/10/62519.html

เมื่อร้านหนังสือ ไม่กล้าขาย ความจริง 98 ศพ


ประกาศร้านหนังสือซี-เอ็ด ไม่รับวางหนังสือ ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53

by Thanapol Eawsakul on Tuesday, October 2, 2012 at 12:02pm ·
ได้ รับแจ้งจากสายส่งเคล็ดไทยว่า ภายหลังส่งหนังสือ ความจริงเพื่อความยุติธรรม:  เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53 ให้ร้่านซีเอ็ดพิจารณาแล้วปรากฎว่า "ไม่ผ่าน"


 ดังนั้นถ้าท่านต้องการหนังสือเล่มดังกล่าวก็อย่าไปถามที่ร้านซี-เอ็ด


ร้านหนังสือที่รับวางหนังสือเล่มนี้ (ผ่าน สายส่งเคล็ดไทย) เช่น บีทูเอส นายอินทร์ ร้านศึกษิตสยาม (วัดราชบพิธ)


ส่วนร้านหนังสือที่เราวางจำหน่ายเองเช่น  ร้านริมขอบฟ้า (อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย), ร้านโอเดียน สยาม(ใกล้โรงหนังสกาลา), ร้านตะวัน (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), ร้านเล่า เชียงใหม่ (ถ.นิมมานฯ), ร้าน Book re:public เชียงใหม่,  ร้านเอกาลิเต้ (ลำปาง)


หรือ  สั่งซื้อได้โดยที่สำนักพิมพ์


โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ชื่อบัญชี บริษัท โค-โลคัล จำกัด ธนาคารกรุงเทพ สาขาลุมพินี เลขที่ 124-4-24850-4


ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาลุมพินี เลขที่ 256-1-24803-0


และแฟกซ์สำเนาใบโอนเงินไปที่ 02-9656414 หรือสแกนส่งทางอีเมลไปที่ sameskybooks@gmail.com

http://www.sameskybooks.net/2012/09/02/pic2010/

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

นิติราษฏร์ เสวนา "๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร"(มีคลิป)

นิติราษฎร์ จัดเสวนา "๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร"
ใน วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีกำหนดการดังนี้
๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ “นักกฎหมายไทยกับรัฐประหาร” ปาฐกถานำ โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ
๑๓.๓๐ - ๑๔.๐๐ กิจกรรมรำลึกนวมทอง ไพรวัลย์ “๖ ปี แท็กซี่ชนรถถัง”
๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ “รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ”
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
ปิยบุตร แสงกนกกุล
ดำเนินรายการโดย ธีระ สุธีวรางกูร
๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ บทบาทของ คอป. กับการ "ปรองดอง"? อภิปรายและตอบคำถามโดย คณะนิติราษฎร์
เปิดประตูหอประชุมตั้งแต่ ๑๒.๐๐ น. เป็นต้นไป จึงขอเรียนเชิญประชาชนผู้สนใจทุกท่าน
นอกจากนี้ คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำ ดีวีดี “นิติราษฎร์เสวนา” รวมการเสวนาของคณะนิติราษฎร์ตลอด ๒ ปี
มีจำนวน ๑๐ แผ่น จำหน่ายก่อนเริ่มงาน จำนวน ๕๐๐ ชุด
ในราคาชุดละ ๕๐๐ บาท เพื่อนำรายได้จ่ายค่าหอประชุม
และ คณะนิติราษฎร์ขอเรียนทุกท่านทราบว่าพวกเราไม่ประสงค์รับบริจาคเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจากบุคคลใด หน่วยงานใด หรือโดยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น









ถ่ายทอดสดโดยทีมงานม้าเร็ว http://speedhorsetv.blogspot.com/
http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=3458

30 ก.ย. 55 เกษียร เตชะพีระ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาในงาน “นิติราษฎร์เสวนา: 2 ปี นิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร” ในหัวข้อ นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร เกษียร กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของนักกฎหมายไทยกับรัฐประหารเหมือน “ผีเน่ากับโลงผุ” คือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับภาชนะเครื่องมือที่ไม่เลือกนาย คือ ต่อให้เป็นผีเน่าก็ช่าง ถ้าเรียกใช้บริการของโลงผุแล้ว โลงผุก็พร้อมจะสนองรับใช้ ซึ่งผลของมันก็คือ หลักนิติธรรมของรัฐก็ผุผังสึกกร่อนกันไปหมด โดยเกษียร ได้หยิบยกบทกลอนของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่เขียนถึงผีเน่ากับโลงผุว่า ฉันนั้นความเปื่อยเน่าเป็นของแน่ ย้อมเกิดแก้ความนิ่งทุกสิ่งสม แต่แล้วความเน่าในเปือกตม ก็ผุดพรายให้ชมซึ่งดอกบัว “ผมคิดว่านิติราษฎร์ คือ ดอกบัวที่ผุดพรายขึ้นมาจากความเปื่อยเน่า” เกษียรกล่าว เกษียรกล่าวถึงประเด็นนักกฎหมายกับการรัฐประหาร โดยอ้างคำพูดของ ไพศาล พืชมงคล กับการรัฐประหาร คปก. ไพศาลเป็นนักกฎหมายคดีการเมือง อดีตนักเคลื่อนไหวสมัย 14 ต.ค. 6 ต.ค. ไพศาลจับภาพความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างนักกฎหมายกับรัฐประหารอย่างชัดเจน มีชีวิตชีวา ซึ่งความตอนหนึ่งระบุว่าต้องเดินทางเขาไปยังกองบัญชาการทหาร โดยมีโน้ตบุ๊กและตำรารวมทั้งกฎหมายต่างๆ อย่างฉุกเฉินกลางดึก ทำไมทหารต้องการนักกฎหมายเวลาก่อรัฐประหาร เกษียร เตชะพีระ กล่าวว่า ศาสตราจารย์ เฟรด วอเรน ริกส์ เสนอว่าการเมืองไทยเป็นอำมาตยาธิปไตย โดยมีความสัมพันธ์แบบสนธิพลังร่วมระหว่างทหารกับข้าราชการพลเรือน คือทหารเท่านั้นที่ยึดอำนาจได้เพราะมีกำลังอาวุธ ขณะที่ข้าราชการพลเรือนไม่มี แต่แม้ทหารจะขึ้นเป็นผู้นำก็ต้องอาศัยข้าราชการพลเรือนที่จะสามารถทำในสิ่งที่ทหารขาด คือ ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ด้านเทคนิคอันสลับซับซ้อน เช่น ต้องออกประกาศคำสั่ง ต้องร่างรัฐธรรมนูญ วางแผนเศรษฐกิจ การทูต ฯลฯ ทหารจึงต้องแบ่งอำนาจให้ข้าราชการพลเรือน เนติบริการ รัฐศาสตร์บริการ เทคโนแครตการคลังการเงิน ผีเน่าจึงต้องการโลงผุด้วยประการฉะนี้ เกษียรยังกล่าวถึงสองสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จากการปฏิวัติ2475 คือ นิติรัฐ และการใช้กำลังทหารยึดอำนาจ ในช่วงของรัฐบาลจอมพล ป.จะพบว่ามีความพยายามประสานสองหลักนี้ คื มีหลักนิติรัฐอยู่และเหนี่ยวรั้งไม่ให้เป็นเผด็จการ ตลอดสมัยรัฐบาลจอมพลป. จะดีจะชั่วหลักนิติรัฐยังมี แต่ยังมีการใช้กำลังบังคับ ไม่ว่าจะเป็นศาลพิเศษหรือออกกฎหมายพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่มันยังมีสมดุลบางอย่างระหว่างของใหม่สองอย่างที่เป็นไปได้ว่าจะขัดกัน ดุลมาเสียไปหลัง 2490 เข้าสู่ยุคจอมพล ป. สมัยสอง เหลือแต่จอมพล ป. คณะทหารและเผ่า ศรียานนท์ มาคุมตำรวจ เริ่มมีการใช้อำนาจเถื่อนของผู้รักษากฎหมายโดยเฉพาะตำรวจ มีการใช้กำลังบังคับ จี้ลักพาตัว ฆ่าปิดปาก โดยพลตำรวจอัศวินแหวนเพชร และการฆาตกรรมทางการเมืองก็เริ่มอย่างเป็นเรื่องเป็นราว คนที่เคยเห็นหน้าค่าตาลุกขึ้นมาฆ่ากันเป็ฯว่าเล่นเป็นสิบๆ ศพ มีการฆ่าทางการเมือง ปูทางไปสู่จุดสุดยอดในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ ไปสู่ยุค ‘กฎหมายนั้นหรือก็คือกู’ มีการใช้กำลังบังคับด้วยอำนาจเผด็จการ ยิงเป้า จับคนขังคุก ยึดทรัพย์ ปฏิวัติ และสุดท้ายการฆ่ากันทางการเมืองได้ขยายมาสู่การฆ่าประชาชนซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายทางการเมือง เช่น กรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง นี่คือหลัก The Rules of Law กลายมาเป็น The Rules of กู, มีการบัญญัติมาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ที่ระบุว่าให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย นี่คือการทำให้หลักกูกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอย่างเป็นระบบ และเมื่อกระทำการใดๆ แล้วก็แจ้งให้สภาทราบ เช่นยิ่งเป้าคนแล้วค่อยมาบอกสภา อะไรคือผลของมาตรา 17 มันคือการรวบอำนาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการไว้ในมือนายกรัฐมนตรีคนเดียว มันคือการทำให้อำนาจอาญาสิทธิ์แก่คนๆ เดียวได้ปกครองอย่างไม่มีใครขัดขวางได้ กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยเอาไปบัญญัติไว้ในมาตรา 17 จะบัญญัติเช่นนั้นได้ต้องใช้นักกฎหมาย นักกฎหมายจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสถาปนาหลักกูแทนที่หลัก The Rules of Law เกิดนิติธรรมอย่างไทยขึ้น เกษียร กล่าวว่า อาจารย์เสน่ห์ จามริก ชี้ไว้ในหนังสือการเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญว่า บรรดาประกาศ คำสั่งคณะปฏิวัติที่ก่อโดยคนถือปืน ได้รับการปฏิบัติต่อจากนักกฎหมายว่า ศักดิ์สิทธิ์เทียบกฎหมายที่ผ่านสภาฯ โดยชอบ นี่เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของนักนิติศาสตร์ไปอย่างมหาศาล ซึ่งปรีดี พนมยงค์เคยกล่าวว่า หน้าที่ของนักกฎหมายคือการอธิบายหลักที่ว่าด้วยสิทธิของมนุษยชนอันจำเป็นสูงสุดในการศึกษากฎหมายปกครอง และยืนยันว่ากำเนิดแห่งระบอบรัฐธรรมนูญไทยเป็นข้อตกลงหรือสัญญาอันเป็นพระราชประสงค์ของพระปกเกล้าฯ ที่เป็นแม่บทสำคัญ ไม่อาจถวายคืนได้ แต่หลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยนักนิติศาสตร์ในระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ เช่นบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, มีชัย ฤชุพันธ์, วิษณุ เครืองาม นำเสนอตีความว่ากำเนิดแห่งรัฐธรรมนูญไทยนั้นเป็นพระบรมราชานุญาต และดังนั้นการถวายพระราชอำนาจคืน ในความหมายถวายอำนาจอธิปไตยคืนจึงเป็นไปได้ในหลักกฎหมายและทำได้ในความเป็นจริง และยังได้อธิบายความชอบธรรมแห่งธรรมราชา จนหลักเหล่านี้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญไทย “ฝรั่งนั้นเสมอภาคกันแบบลูกกำพร้าไม่มีพ่อ ไม่สามารถซาบซึ้งกับหลักพ่อปกครองลูกแบบไทยๆ ได้” เกษียรกล่าว เขากล่าวด้วยว่า บทบาทสำคัญของนักกฎหมายกลุ่มนี้คือ หนึ่ง เป็นช่างเทคนิคด้านอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ โดยนักกฎหมายเหล่านี้มีความสามารถเป็นพิเศษในการจำกฎหมายจำนวนมาก ใครๆ ต้องวิ่งไปหามีชัย บวรศักดิ์ วิษณุ บุคคลเหล่านี้ก็จะไปนั่งตำแหน่งสำคัญด้านกฎหมายเป็นประจำ เป็นการส่งต่อกัน ไม่ว่าจะเป็น เลขานายก รองนายกฯ และคณะกรรมการกฤษฎีกา เรียกว่า เป็นช่างเทคนิคด้านอำนาจอธิปไตย สอง นักกฎหมายเหล่านี้จะเกลี่ยเชื่อมรอยต่อการเมืองการปกครองระหว่าง ประชาธิปไตยกับเผด็จการ คือไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ล้วนมีสิ่งเดียวกัน คือมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งสิ้น ดังนั้นการเปลี่ยนระบอบที่เป็นเรื่องใหญ่ในที่อื่นๆ จึงเป็นเรื่องเกลี่ยเชื่อมได้โดยรักษาสถาบันและความมั่นคงของสถาบันไว้เป็นหลัก โดยอ้างงว่าสถาบันกษัตริย์เป็นที่สถิตของอำนาจอธิปไตย การเปลี่ยนผ่านจึงลื่น เนียน เพราะมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักยึดอยู่ ท่านเหล่านี้ยังประสานหลักนิติธรรมกับอำนาจธรรมราชา แสดงออกเป็นรูปธรรมในปรากฏการณ์ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เรื่องที่ผิดปกติหรือเป็นความเจ็บป่วยทางสังคมนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นธรรมชาติของ 'ความเป็นไทย' ไป ปัญหา เกิดคือเมื่อมีนักกฎหมายที่ไมเห็นด้วย คือนิติราษฎร์ ซึ่งเป็น ‘ปีศาจของธรรมศาสตร์’ ดูง่ายๆ ก็คือ หาที่จัดงานยาก ต่างกับการจัดเวทีแบบอื่นๆ เช่น จะต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างไร แต่หัวข้อที่นิติราษฎร์จัดคือ การต่อต้านรัฐประหาร และมีอะไรบางอย่างที่แปลกใหม่ไม่เป็นที่คุ้นเคยในงานวิชาการ เช่น ก่อนเวทีเริ่มจะมีการเอาขนมไหว้พระจันทร์ หรือเอาหนังสือมาให้อ.วรเจตน์เซ็นต์ชื่อ นอกจากนี้สิ่งที่นิติราษฎร์ทำนั้นผิดหลักธรรมชาติ ธรรมดาของนักกฎหมาย และแปลก คือไม่ยอมรับอำนาจของการรัฐประหาร ขณะที่รูปแบบกิจกรรมของนิติราษฎร์โดยเฉพาะในระยะหลัง เริ่มนำเสนอหัวข้อที่แหลมคมขึ้น เช่นการลบล้างผลพวงรัฐประหาร เกษียรกล่าวถึงข้อเสนอต่อนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่า คำขวัญของนิติราษฎร์ คือ ‘นิติศาสตร์เพื่อราษฎร’ นั้น น่าคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้เป็น ‘ธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร’ เพราะนิติราษฎร์ไม่ได้โดดเดี่ยว หรือไม่มีเพื่อนมิตรที่เห็นด้วย แต่ควรมีการขยายแวดวงการเสวนาทางวิชาการ และรูปแบบอื่น ไม่เฉพาะการจัดตลาดวิชาการเพื่อมวลชน โดยกระบวนการนั้น นิติราษฎร์และเพื่อนนักวิชาการจะได้แลกเปลี่ยนและปรับแนวคิดให้หลากหลายขึ้น ไปสู่รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร เศรษฐศาสตร์เพื่อราษฎร ประวัติศาสตร์เพื่อราษฎร วารสารศาสตร์เพื่อราษฎร เพื่อกลับไปสู่จิตวิญญาณเดิมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือ ธรรมศาสตร์ทั้งธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร

วันนี้ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเวทีวิชาการนิติราษฎร์เสวนา 2 ปี นิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร โดยเป็นเวทีวิชาการที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกการครบรอบ 6 ปี การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยในงานมีกลุ่มประชาชนและกลุ่มคนเสื้อแดงมาร่วมฟังการบรรยายจนล้นออกมาจาก หอประชุมศรีบูรพา



นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรในหัวข้อ รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวว่า เมื่อมีการรัฐประหารแล้วอำนาจอธิปไตยควรจะไปอยู่ทีประชาชนหรือที่องค์พระมหา กษัตริย์ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะนิติราษฎร์ที่จะหาคำตอบนั้น นอกจากนี้ในสมัยก่อนเมื่อเกิดการรัฐประหารจะไม่มีนักกฎหมายคนไหนออกมาปกป้อง หรือป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประะหารแต่หลังจากเกิดการรัฐประหารปี  2549 ก็มีกลุ่มนักกฎหมายบางกลุ่มออกมาตะโกนให้สังคมรู้ว่า ยังมีวิธีที่จะลบผลพวงและป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารในอนาคตได้



นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า ถ้า สามารถทำให้ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ในเรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหารเป็น จริงได้ ก็จะสามารถนำตัวผู้ก่อการรัฐประหารถูกดำเนินคดีในชั้นศาลได้ แต่ ที่ยังไม่สามารถปรากฎเป็นจริงได้นั้นเพราะคณะนิติราษฎร์ไม่มีอำนาจทางการ เมือง ดังนั้นสิ่งที่ควรช่วยกันก็คือ ประชาชนจะต้องเผยแพร่ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ให้เผยแพร่ออกไปให้มากที่สุด เพื่อฝ่ายการเมืองจะนำไปปฎิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้ แล้วแม้ข้อเสนอของนิติราษฎร์จะไม่สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันใกล้ แต่ข้อเสนอก็ยังอยู่และถูกเผยแพร่้ไปแล้ว ดังนั้นถ้าเกิดมีการรัฐประหารในอนาคต ข้อเสนอของนิติราษฎร์จะถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างแน่นอน



 การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เป็นต้นกำเนิดให้รัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นสากล โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหารในครั้งนั้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญกับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ถ่วงดุล หรือสอดคล้องกันตามหลักรัฐธรรมนูญสากลเหตุเพราะรัฐธรรมนูญฉบับถาวรปี   2492 มีการเพิ่มองคมนตรีขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์ กำหนดให้องคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการ ห้ามมีการแก้่ไขกฎมณเฑียรบาล ซึ่งไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นสากลให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์มีอิสระ ต่ออำนาจของประชาชนขนาดนี้ ดังนั้นข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญก่อนการรัฐ ประหารปี 2490 เป็นต้นแบบในการจัดร่างรัฐธรรมนูญโดยคณะนิติราษฎร์ เหตุเพราะช่วงปี 2475 ถึง 2490 สังคมไทยในช่วงนั้นมีการถ่วงดุลกันระหว่างองค์กรทางการเมืองกับสถานะของ สถาบันนั้นมีความสอดคล้องกับหลักสากล


ส่วนนายปิยบุตร แสวกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า ไม่ว่าจะมีการรัฐประหารกี่ครั้ง อำนาจสูงสุดก็จะเป็นของประชาชน ไม่มีทางถอยเป็นก่อนปฎิวัติ 2475  อีกแล้ว แล้วแม้บางครั้งอำนาจของประชาชนจะถูกฉกฉวยเพราะอำนาจที่ไม่สอดคล้องกับ ประชาธิปไตยบ้าง อย่างไรเสียประชาชนก็จะทวงอำนาจที่เคยเป็นของตัวเองคืนมา
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็เป็นการช่วงชิงอำนาจสูงสุดของประเทศจากพระมหากษัตริย์ไปสู่ประชาชน โดยพระมหากษัตริย์ยินยอมที่จะให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนผ่านการลงพระ ปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
แต่ปัญหาสำคัญของสังคมไทยและกระบวรการยุติธรรม ของไทยก็คือ นักกฎหมายยุคปัจจุบันกลับไม่ซึมซับแนวคิดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงตีความกฎหมายไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เกิดปัญหาสอง
มาตรฐาน ด้วยเหตุนี้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมของไทย ใช้หลักนิติรัฐนิติธรรมแบประชาธิปไตย นักกฎหมายจะต้องตีความกฎหมายตามแนวคิดการปกครองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไม่ใช่มีสำนึกทางกฎหมายว่าอำนาจสูงสุดมิใช่เป็นของประชาชน
ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กล่าวถึงความชอบธรรมของประชาชนในการยืนยันถึงอำนาจอธิปไตย ว่า นักกฎหมายของฝ่ายประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้สร้างวาทกรรมที่ครอบงำสังคมไทยมาเป็นเวลานานคือ “อเนกนิกรสมโสรสมมติ” กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองในการใช้อำนาจปกครองที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ซึ่งมาจากคติทางพระพุทธศาสนาใช้มาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ “กษัตริย์ถูกพร้อมใจให้เลือกเป็นผู้ปกครองเพราะทุกคนยินยอมพร้อมใจกันเลือกให้เป็นผู้ปกครอง” ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ “ผู้ปกครองเป็นผู้ถูกเลือกให้ขึ้นไปปกครอง” มิใช่ “ผู้ถูกปกครองยอมศิโรราบให้แก่ผู้ปกครอง”


ในประวัติศาสตร์ของไทยกลับไม่มีราษฎรเกี่ยวข้องในกระบวนการการเลือกผู้ปกครองอย่างแท้จริง นอกจากเหล่าชนชั้นสูงและขุนนางที่เป็น “นิกรสมมติ”แทน และคติ “อเนกนิกรสมโมสรสมมติ” กลับถูกนำไปสร้างคำอธิบายให้กับการปกครองเผด็จการที่ใช้คำอื่น ๆ ของไทยในเวลาต่อมา เช่น คติการปกครองแบบพ่อปกครองลูกที่แพร่หลายในช่วงหลัง พ.ศ.2500 ประชาชนมีหน้าที่เชื่อฟังผู้ปกครองแบบอำนาจไหลจากบนลงล่างด้วยเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนไทยยอมจำนนยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้น ประชาชนต้องยืนหยัดอำนาจประชาธิปไตยของตนเอง เพราะประชาชนเป็นผู้ตั้งผู้ปกครอง
 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348992667&grpid=03&catid=03&utm_source=twitterfeed&utm_medium=twitter

น.ส.สาวตรี สุขศรี นักวิชาการนิติราษฎร์ กล่าวว่า คอป.ควรเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการแอบอ้างความเป็นกลาง เพื่อรับรองความชอบธรรม ให้มีการปราบปรามประชาชน ซึ่งจากการอ่านรายงานของคอป.เกือบ 300 หน้า มีข้อสงสัย คือ คอป.ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลที่มีผลพวงจากรัฐประหาร ซึ่งจะมีความเป็นกลางในการตรวจสอบอย่างไร โดยครึ่งหนึ่งของรายงานอธิบายถึงปัญหา มากกว่าข้อเสนอที่จะทำให้เกิดความปรองดรอง ข้อสงสัยต่อมา คือ ความเป็นกลางของหน่วยงานต่างๆ แต่ไม่พูดว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีความไม่เป็นกลางหลายคดี แต่กลับระบุเพียงคดีซุกหุ้นเพียงคดีเดียว และพบว่า เรื่องการชุมนุมปิดพื้นที่ของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ก่อให้เกิดปัญหาจำนวนมาก ขณะเดียวกันกลับไม่พูดถึงกรณีคนเสื้อเหลืองปิดสนามบินที่สร้างผลกระทบมหาศาล เช่นกัน

 น.ส.สวตรี กล่าวต่อว่า ยังพบว่า คอป. บอกว่านักการเมืองคอร์รัปชั่น ในขณะเดียวกันกลับไม่มีการรายงานว่า การคอร์รัปชั่นของศาล องค์กรอิสระ หรือ องคมนตรี ที่มีข้อสงสัยเช่นเดียวกัน หรือ เรื่องชายชุดดำ ทำไมไม่มีใครชี้ว่าเป็นฝ่ายใคร ทั้งนี้พบว่าการสลายการชุมนุม มีหลักฐานจำนวนมาก ทั้งกระสุน รอยเลือด แต่กลับพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ก็มีการล้างเมืองครั้งใหญ่ทันที ทั้งที่มีหลักฐานจำนวนมาก ทั้งนี้มีข้อเสนอของคอป.จำนวนมาก เช่น การยุติความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรง ซึ่งการเสนอเหล่านี้ ที่ คอป.มองว่าจะทำให้เกิดความไม่ปรองดองนั้น ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ได้รับการแก้ไขเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำยังเกิดขึ้นในสังคม ปัญหาของประชาชนยังไม่ได้รับการแก้ไข
 http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME9UQXdOemcwTWc9PQ==&utm_source=KhaosodOnline&utm_medium=KhaosodOnline
30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ “การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่ากิจกรรมต่อไปของนิติราษฎร์คือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเวทีเสวนา วรเจตน์กล่าวว่า รัฐประหาร 2490 โดยผิน ชุณหวัณ เป็นต้นแบบของการทำรัฐประหารปัจจุบันคือ ล้มลางการปกครองแล้วเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว และจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ รัฐประหารครั้งที่เปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิงคือจอมพลสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2500 ตามด้วย รัฐประหารอีกครั้ง 2501 ใช้เวลายาวนานก่อนจะก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 รัฐประหารอีกครั้งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ตามกฎหมายในส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ รัฐประหารปี 2534 โดยพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ. 2534 ขึ้นมา รัฐประหารที่สำคัญๆ นั้นส่งผลกระทบต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร แม้บางช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจะปกครองไปในเชิงอำนาจนิยมบ้าง แต่ก็มีกฎหมายเหนี่ยวรั้งอยู่จนถึง พ.ศ. 2489 แต่หลังรัฐประหาร โดยผิน ชุณหวัณ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2490ได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ มีผลเป็นการสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก่อนรัฐประหารปี 2490 กฎเกณฑ์การถ่วงดุลของสถาบันทางการเมืองได้มาตรฐานสากลพอสมควร แต่หลังรัฐประหารครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญหลายเรื่อง ประการแรก คือ การจตัดตั้งให้มีคณะอภิรัฐมนตรี ถ้าครม. จะเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่ทำไว้ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อน รัฐธรรมนูญปี 2492 ก็ได้เป็นต้นแบบให้รัฐธรรมนูญต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน คือ การกำหนดให้มีองคมนตรี และในกรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการฯ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฯ กำหนดห้ามยกเลิก-แก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วนการสืบสันตติวงศ์ และอำนาจในการวีโต้กฎหมายของสถาบัน ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้สืบต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน นี่จึงเป็นที่มาที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้กลับไปใช้แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางก่อนปี 2490 เพราะเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับองค์กรทางการเมืองที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากที่สุด แม้ปี 2517 รัฐธรรมนูญได้ถูกแก้ให้พระราชธิดาสืบสันตติวงศ์ได้ แต่หลายท่านก็ไม่ทราบยว่าหลังรัฐประหารปี 2534 ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ 2 เรื่อง คือ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งแล้ว ให้เชิญรัชทายาทที่แต่งตั้งไว้โดยให้รัฐสภารับทราบ ต่างจากเดิมที่ให้รัฐสภาเห็นชอบ อีกประการคือ แม้ว่ารัฐธรรมนูญบางช่วงเช่น ปี 2492 จะถึงขนาดห้ามแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ปี 2517 ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยวิธีเดียวกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่กฎเกณฑ์นี้ได้รับการยกเลิกไปปี 2534 เพราะหลังรัฐประหาร รัฐธรรมนูญถาวรปี 34 เพิ่มเติมว่าการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลเรื่องการสืบสัตติวงศ์กระทำได้โดยพระมหากษัตริย์เท่านั้น และหลักดังกล่าวรับกันต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปี 2540-2550 คงไว้เหมือนเดิมทุกตัวอักษร ขณะนี้กำลังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีข้อห้ามในทางสาธารณะว่าจะไม่แตะต้องกฎเกณฑ์ในหมวดพระมหากษัตริย์ทั้งๆ ที่ไม่มีการห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญ ประเด็นสำคัญในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็มีการพูดถึงการแตะหรือเปลี่ยนแปลงหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ คำถามคือ การที่รัฐบาลยกร่างฯ แล้วไม่ให้แตะหมวดกษัตริย์ทั้งหมวดนั้นมากเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดห้ามแก้แค่ 2 ประเด็นคือ ห้ามแก้ไขรูปของรัฐ การห้ามแก้เรื่องพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กับกับห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่ได้ห้ามแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ ไม่มีการห้ามไม่ให้แก้ไขเรื่ององคมนตรี การห้ามแก้ไขดังกล่าวในร่างแก้ไขฯ ที่กำลังจัดทำนั้น จึงเป็นสิ่งที่มากกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ วรเจตน์ พบว่าการรัฐประหารในระบบกฎหมายไทย ส่งผลในทาง tradition (จารีต) ในหมู่นักกฎหมายไทยตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมาว่า เมื่อผู้ใดยึดอำนาจรัฐแล้วสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างมั่นคง เขาก็เป็นรัฏาธิปัตย์ ศาลและวงการกฎหมายก็เดินตาแนวคิดแบบนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดการเดินตามแนวคิดแบบนี้ได้ก็ต้องมีการรัฐประหารสำเร็จ ไม่ได้แยกแยะการปฏิวัติในแง่การเปลี่ยนแปลงระบอบกับการแย่งชิงอำนาจรัฐออกจากกัน อ.หยุด แสงอุทัย ได้เสนอไว้และตนมีความเห็นต่างคือ ประเด็นเรื่องความเป็นรัฎฐาธิปัตย์จากการทำรัฐประหาร โดยอ้างอิงจากศาลเยอรมันหลังสงครามโลกที่มีการสถาปนาอาณาจักรไรซ์ เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ ตอนเกิดสาธารณรัฐไวมาร์ มีปัญหาว่าตอนเปลี่ยนระบอบ ตัวอำนาจที่ก่อตั้งใหม่จะถูกโต้แย้งไม่ได้ เพราะได้ตั้งอำนาจขึ้นสำเร็จแล้ว เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นรัฏฐาธิปัตย์ในระบอบการปกครองแบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบรัฐ การปกครองไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่การแย่งชิงอำนาจจากรัฐบาลดังที่เกิดขึ้นในไทย ซึ่งมีความแตกต่างกัน ถามว่าของเรามีคราวไหนที่เป็นการเปลี่ยนระบอบอย่างสิ้นเชิง ก็คือ การอภิวัฒน์ 2475 ในทางรัฐศาสตร์ชัดเจนว่าเป็นการปฏิวัติ แม้ไม่ได้เกิดจากการลุกฮือแต่ทำโดยกลุ่มคนคือคณะราษฎร เปลี่ยนระบอบและตั้งมั่นระบอบใหม่ขึ้น แต่การรัฐประหารโดยผิน ชุณหวัณ ไม่ได้เปลี่ยนความคิดผู้ทรงอำนาจรัฐ หรือระบอบการปกครอง แต่เป็นการแย่งชิงอำนาจรัฐบาล แต่นักกฎหมายไทยมักจะเอามาเทียบในระนาบเดียวกัน เคยมีคนเสียดสีเมื่อครั้งนิติราษฎร์เสนอให้ลบล้างผลพวงรัฐประหารว่า ทำไมไม่เสนอให้ล้มล้างการอภิวัฒน์ 2475 เสียเลย นั่นเพราะเขาไม่เข้าใจว่า 2475 คือการเปลี่ยนตัวระบอบรัฐ มีคุณค่าที่แตกต่างไปจากการยึดอำนาจหรือล้มอำนาจรัฐบาลเฉยๆ เพื่อเปลี่ยนตัวรัฐบาล วรเจตน์ กล่าวต่อว่า แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ความคิดนี้ก็ฝังแนบแน่นในทางกฎหมาย ทำให้เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ต้องห้ามเปลี่ยนแปลงหมวดสถาบันฯ ส่งผลให้แก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่ององคมนตรีไม่ได้ นี่เป็นความสำเร็จอย่างสูงสุดของการรัฐประหารปี 2490 และรัฐธรรมนูญปี 2492 ที่ได้ทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญปักหลักฝังแน่น ไม่มีใครตั้งคำถามว่าสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ไม่มีใครตั้งคำถามนี้อีกจนถึงปัจจุบัน แนวคิดนี้ก็ดำรงอยู่และจะดำรงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่เราไม่สามารถพูดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด โดย strict แค่การไม่แตะต้องรูปแบบการปกครอง วรเจตน์ กล่าว่า สิ่งที่ปรากฏทุกวันนี้มันรุนแรงกว่า หรือมากกว่าการเขียนห้ามแก้รัฐธรรมนูญเสียอีก เพราะถึงแม้ทุกวันนี้จะไม่ได้ห้ามแก้ในเชิงลายลักษณ์ แต่ที่สุดแล้วทุกคนจะไม่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา ว่ารัฐธรรมนูญให้แก้ไขหมวดสถาบันฯ ได้อย่างสันติ ผลคือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เหนือการเมืองก็จะปรากฏเป็นจริงไม่ได้ เพราะถูกล็อกไว้โดยสำนึกที่สืบทอดมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2492 เขากล่าวว่า สิ่งที่นิติราษฎร์เสนอลบล้างผลพวงการรัฐประหารนั้นเป็นเพียงเทคนิค แต่เราไม่ได้เสนอเลยไปถึงเรื่องสำนึกเพราะไม่สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ความสำเร็จของการทำรัฐประหารในสังคมไทยไม่ได้สำเร็จเพียงแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์รัฐธรรมนูญ แต่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของรัฐประหาร 2490 ก่อเกิดธรรมนูญชั่วคราว และรัฐธรรมนูญปี 2492 คือ การฝังสำนึกห้ามแตะต้องรัฐธรรมนูญหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ “เพื่อให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้า เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ต่อหน้าเราได้ ถ้าเราต้องการการปรองดอง ที่สมานฉันท์อย่างแท้จริง อย่างน้อยรัฐธรรมนูญต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สถาบันการเมือง ศาล และกองทัพ” วรเจตน์ กล่าว เขากล่าวว่า แต่ตราบที่สำนึกเช่นนี้ยังมีอยู่ การเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญใหม่จึงไม่ได้ทำได้ง่ายนัก การรัฐประหารไม่ได้สำเร็จได้ด้วยอำนาจทหาร แต่สำเร็จได้โดยการไม่ต่อต้านหรือมองเห็นกฎเกณฑ์ที่เป็นผลผลิตของการรัฐประหาร ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์ให้ย้อนไปสู่กฎเกณฑ์ก่อนปี 2490 คือ ต้องเปิดโอกาสให้คนที่เขาเห็นเป็นอย่างอื่นได้มีโอกาสพูดในที่สาธารณะ และมาอภิปรายกันว่า อะไรดีกว่า แล้วให้คนส่วนใหญ่ได้เลือกทางของเขาที่จะเดินต่อไปในวันข้างหน้าอย่างดีที่สุดกับสังคมและประเทศชาติ “ผมตั้งใจพูดกับท่านเป็นประเด็นหลักประเด็นเดียวเพราะผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้” วรเจตน์ กล่าว
 http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42906

twitter

ห้องแชทKonthaiuk