PEACE TV LIVE

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

งามจับใจ สะพานมอญใหม่ (ชั่วคราว) จากน้ำแรงความสามัคคี

ชม 'สามัคคีคนมอญ' สร้างสะพาน 0 บาท

ชื่นชม'สามัคคีคนมอญ'สร้างสะพาน0บาท หวั่นรับน้ำหนักนักท่องเทียวไม่ไหว พระขอบิณฑบาตเปิดทางซ่อมสะพานเก่า

23ส.ค.2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  หลังจากเมื่อเวลา 19.30 น. วันที่ 28 กรกฎาคม หลังจากฝนตกลงมาอย่างหนัก 4 วันติดต่อกัน ทำให้น้ำป่าไหลหลากจากทุ่งใหญ่นเรศวร ไหลทะลักเข้าพื้นที่ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี พร้อมทั้งพัดซากไม้และตอไม้จำนวนมากลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย จนปะทะกับเสาสะพานอุตตามานุสรณ์ หรือสะพานมอญ พังเสียหายประมาณ 30 เมตร นอกจากนี้ยังทำให้เชือกผูกแพที่พัก "ลุงบุญ แพมิตรสัมพันธ์" ขาด ทำให้แพลอยไปในอ่างเก็บน้ำ โดยมีนายสมบูรณ์ นั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 22ส.ค. ได้โพสต์รูปสะพานมอญที่สร้างใหม่เสร็จแล้วซึ่งทำด้วยไม้ไฝ่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการได้แล้ว ทั้งนี้โดยใช้เวลาสร้าง 5 วัน โดยใช้ไม้ไผ่ประมาณ 5,000 ต้น ใช้กำลังคนเป็นกลุ่มชนมอญ สัญชาติไทยที่ตั้งรกรากอยู่แถบฝั่งมอญของ อ.สังขละบุรี วันสุดท้ายมีชาวบ้านทั้งหมู่บ้านร่วม 200 คน มาช่วยกันจนเสร็จ


 :41: :41: :41:

ทันทีที่ภาพดังกล่าวเผยแพร่ออกไปในโลกสังคมออนไลน์ต่างชื่นชมในความสามัคคีของคนมอญ อย่างเช่นเฟซบุ๊กPakon Homchoti ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า"ความสามัคคีของคนมอญ 6 วันทำการ ผู้คน 400-500 คน ค่าดำเนินการ 0 บาท ขณะเดียวกันก็ได้มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมากและต้องการให้ซ่อมสะพานมอญเก่าให้กลับมาเหมือนเดิม

ขณะเดียวกันเฟซบุ๊กนาม Wa Sukkharin ที่โพสต์ข้อความและรูปเกี่ยวกับสะพานมอญอย่างต่อเนื่องได้ตั้งข้อสังเกตเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ความว่า
    "อะไรคือที่มาของพลังแห่งความสามัคคีของพี่น้องชนมอญในการสร้างสะพานไม้ไผ่สำหรับข้ามฟากไปยังฝั่งไทย(ตลาดสังขละบุรี)

สะพานมอญ สำหรับชาวมอญ มันคือ เส้นทางแห่งชีวิต แต่ละวันมีชาวมอญไม่น้อยต้องอาศัยสะพานไม้แห่งนี้ข้ามฟากไปทำงานยังฝั่งตลาดสังขละบุรี ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้มากมาย ถ้าสะพานนี้ขาดไป ชาวมอญจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเดินทางอ้อมไกลไปเป็นสี่ห้ากิโลเมตร และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปกลับแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 100 บาท ค่าแรงแต่ละวันหมดไปกับค่าเดินทาง..สะพานนี้จึงเป็นชีวิตของชาวไทยเชื้อสายมอญ



สะพานมอญ สำหรับคนที่ไม่ใช่พี่น้องมอญ มันคือสัญญลักษณ์ทางการท่องเที่ยว คือหน้าตา คือเครื่องมือทำมาหากินกับนักท่องเที่ยว มันคือธุรกิจการขายอย่างหนึ่ง

ผมจึงไม่แปลกใจ ตลอดเวลาห้าวันที่สร้างสะพานไม้ไผ่ จึงมีแต่พี่น้องชาวมอญ ปราศจากหน่วยงานใดๆที่ลงไปเต็มตัว นอกจากทหารและนักเรียนโรงเรียนมัธยม ขนาดวันจะเสร็จยังต้องอ้อนวอนให้แพพักฝั่งตลาดขยับพื้นที่เพื่อให้สร้างได้สะดวก จนเจ้าอาวาสวัดวังฯต้องไปขอบินฑบาตด้วยตัวเอง ไม่มีแม้ไม้ไผ่ซักต้นจากฝั้งโน้นมาช่วยกันสร้าง

เราจะเข้าสู่อาเซียน..แต่เราคิดกันแค่เพียงเรื่องธุรกิจ ผลประโยชน์ หลงลืมจารีต หลงลืมเยื่อใยความเป็นคนไทยกันไปหมด..

ผมเป็นคนไทยเชื่้อสายไทย แต่อายพี่น้องไทยเชื่อสายมอญอย่างมาก..ความสามัคคี เราไม่มีอะไรไปสู้เขาได้เลย..อนาถใจกับเรื่องแบบนี้


 :49: :49: :49:

หนาวนี้..มาฝั่งมอญกันครับ มาดูว่าคนมอญเขาใช้ชีวิตกันยังไงแบบไหน ถึงได้เกาะกลุ่มกันเหนียวแน่นแบบนี้..

เฟชส่วนตัว ความคิดเห็นส่วนตัว มิอาจเอาไปเอ่ยอ้างเพื่อการใดๆ เป็นแค่แรงกระตุ้นให้เห็นว่าสังคมทุกวันต้องการความสามัคคีขนาดไหน เปิดใจกว้างมองความจริงที่เป็นไป รวมกันเองยังไม่ได้ แล้วจะไปรวมกับใคร(สำนวนเดี่ยว 10)"

พร้อมกันนี้ก็มีผู้เตือนว่า หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมมากๆแล้วจะรับน้ำหนักได้หรือไม่ เพราะสะพานชั่วคราวนี้ใช้ในการสัญจรไปมาเท่านั้น




พระขอบิณฑบาตเปิดทางซ่อมสะพานเก่า

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากสะพานลูกบวบสร้างชิดกับสะพานไม้มากเกินไปห่างเพียงแค่ 5 เมตร หากไม่ขยับแพลูกบวบออกมาก็จะสร้างความลำบากในการซ่อมแซมสะพานไม้ที่ขาดไปในในอนาคต 

ดังนั้นหน่ายงานที่เกี่ยวข้องเช่น อำเภอสังขละบุรี และเทศบาลตำบลวังกะ ที่มีส่วนรับผิดชอบพื้นที่จึงได้มีการประชุมหารือกันระหว่างพระมหาสุชาติ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม นายสถิต วิทิตยนตะการ ปลัดอาวุโสอำเภอสังขละบุรี ตัวแทนนายอำเภอสังขละบุรี นายปกรณ์ น้อยเกตุ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลวังกะ นายมานพ เกิดแดง ปลัดเทศบาลตำบลวังกะ นายพัฒนา ราชกรม ผอ.กองช่าง เทศบาลตำบลวังกะ นางสาวรัชนี จำปีขาว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 และผู้ประกอบการแพล่องที่ตั้งอยู่ฝั่งหมู่ 3 ประมาณ 3 ราย มีแพรวมกันประมาณ 15 หลัง รวมทั้งผู้ประกอบการแพล่องที่ตั้งอยู่ฝั่งมอญ หมู่ 2 รวมทั้งชาวบ้าน เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น



การประชุมหารือได้มีมติเห็นพร้อมกันว่า ให้เคลื่อนย้ายแพลูกบวบออกมาให้ห่างจากสะพานไม้ (สะพานมอญ) ทั้งหมด 15 เมตร และให้เคลื่อนย้ายแพล่องที่มีอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำออกไปจากจุดเดิมและให้ห่างจากแพลูกบวบฝั่งละ 6 เมตร ในเมื่อที่ประชุมเห็นพร้อมกัน 

ดังนั้น พระมหาสุชาติจึงได้มีการนัดหมายให้ชาวบ้านหมู่ 2 หรือหมู่บ้านมอญ ทั้งหมดมารวมตัวกันเพื่อรวมพลังกันเคลื่อนย้ายแพลูกบวบออกไปให้ห่างจากสะพานไม้เพื่อสะดวกต่อการซ่อมแซมสะพานในอนาคต โดยการประชุมมีขึ้นหลังจากสร้างสะพานลูกบวบแล้วเสร็จในช่วงเย็นของวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ครั้งนี้ชาวบ้านฝั่งมอญได้มาพร้อมหน้ากันที่บริเวณสะพานลูกบวบมากกว่า 200 คนตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา



แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายสะพานลูกบวบได้ เนื่องจากผู้ประกอบการแพล่องที่คอยให้บริการแก่นักท่องเที่ยวฝั่งไทยที่อยู่ติดกับสะพานไม้ ไม่ยอมย้ายแพออกไปตามที่ได้ตกลงกันไว้ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวไม่มาใช้บริการเพราะจะต้องย้ายแพให้ห่างออกไปมาก และได้มีการถกเถียงกันระหว่างเจ้าของผู้ประกอบการแพล่องด้วยกันเอง ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างตรึงเครียด อีกทั้งชาวบ้านจำนวนมากที่มารอการเคลื่อนย้ายแพลูกบวบก็ได้แต่นั่งรอ นานหลายชั่วโมง แต่ก็ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ 

จนกระทั่งชาวบ้านฝั่งมอญเริ่มเกิดอาการหงุดหงิด เนื่องจากรอการลงมือเคลื่อนย้ายแพลูกบวบเป็นเวลานานแต่ก็ไม่สามารถทำได้ จึงจะรวมตัวกันมาที่แพล่องฝั่งไทยเพื่อต่อว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ฝั่งมอญทราบความเคลื่อนไหวของชาวบ้านจึงได้ห้ามปรามเอาไว้ เพราะเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันระหว่างชาวบ้านกับผู้ประกอบการแพล่องฝั่งไทย ซึ่งทุกคนก็เชื่อแต่โดยดีและนั่งรอการเคลื่อนย้ายอยู่ที่จุดเดิม



เวลาผ่านไปหลายชั่วโมงถึงแม้พระมหาสุชาติได้พูดกับผู้ประกอบการชาวไทยว่า อาตมาขอบิณฑบาตนะโยมขอให้ทุกคนช่วยกันเสียสละคนละเล็กละน้อยเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและเป็นการเสียสละแค่ชั่วคราวเท่านั้น หากสะพานไม้ซ่อมบำรุงเสร็จเมื่อใดทุกคนก็ย้ายกลับเข้าจุดเดิมได้และทำมาหากินได้ตามปกติ และถึงแม้พระมหาสุชาติจะพยายามอธิบายให้ฟัง แต่ผู้ประกอบการก็ไม่ยอม ดังนั้นพระมหาสุชาติจึงตัดสินใจพร้อมกับเจ้าหน้าที่ว่าให้เคลื่อนย้ายแพลูกบวบออกมาเท่าที่จะทำได้ 

ซึ่งหน่วยงานภาครัฐเองก็เห็นด้วยกับเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม จากนั้นจึงเดินทางกลับโดยให้ชาวบ้านที่รอการเคลื่อนย้ายลงมือเคลื่อนย้ายในทันที ซึ่งการถกเถียงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการในวันนี้สร้างความอนาถใจให้กับประชาชนที่เดินทางมารวมพลังเพื่อเคลื่อนย้ายสะพานลูกบวบเป็นอย่างมาก บางรายถึงกับบ่นออกมาว่าทำไมถึงเห็นแก่ตัวอย่างนี้ ขนาดเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ขอบิณฑบาต เพื่อเห็นแก่ส่วนรวมยังไม่ยอม



รายงานข่าวว่า ผลการเจรจาครั้งนี้สรุปว่า เนื่องจากผู้ประกอบการยึดเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งโดยไม่มองเห็นแก่ส่วนรวม จึงส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการขยับแพลูกบวบจากเดิมสะพานลูกบวบตั้งอยู่ห่างจากตัวสะพานไม้ 5 เมตร ได้ขยับห่างออกไปเพียง 4 เมตร เป็น 9 เมตร จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ระยะ 15 เมตร เพื่อความสะดวกต่อการซ่อมแซมสะพานไม้ในอนาคต

ล่าสุดเจ้าหน้าที่กองช่างเทศบาลตำบลวังกะได้นำเจ้าหน้าที่มาสำรวจระยะต่างๆของสะพานลูกบวบพบว่าวัดความยาวได้ 240 เมตร ช่องทางเดินกว้าง 2 เมตร ทุ่นลูกบวบลอยน้ำกว้าง 7.5 เมตร ระยะห่างลูกบวบ 1 ถึง 1.50 เมตร จำนวนทุ่นลูกบวบลอยน้ำ 120 ทุ่น ซึ่งจะต้องมีการเสริมทุ่นและสะพานออกไปอีกตามระดับขึ้นลงของน้ำ


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130823/166471/ชมสามัคคีคนมอญสร้างสะพาน0บาท.html#.UhgsRH_KXHt 
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก MoreMeng.in.th









งามจับใจ สะพานมอญใหม่ (ชั่วคราว) จากน้ำแรงความสามัคคี


สะพานไม้บวบ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนสะพานมอญที่ชำรุด (ภาพจาก FB : Wa Sukkharin)

       หลังจาก “สะพานมอญ” หรือ “สะพานอุตตมานุสรณ์” อันเป็นสัญลักษณ์ของ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ถูกน้ำป่าและน้ำฝนพัดพาเอาตอไม้ สวะ และแพ มาปะทะกับตอม่อ จนทำให้ช่วงกลางของสะพานพังลงมาเป็นระยะทางกว่า 50 เมตร เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา
     
       ซึ่งสำหรับการซ่อมแซมสะพานมอญนี้ นายชาธิป รุจนเสรี นายอำเภอสังขละบุรี ได้ให้ข้อมูลว่า การซ่อมแซมสะพานนั้นจะต้องรอใช้หมดช่วงฤดูฝนก่อน อาจจะอยู่ในช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างปลอดภัย และง่ายต่อการซ่อมแซม



ร่วมมือร่วมใจกันสร้างสะพานชั่วคราว (ภาพจาก FB : Wa Sukkharin)

       ขณะนี้ บริเวณสะพานมอญได้มีการสร้างสะพานไม้บวบ ซึ่งเป็นสะพานชั่วคราวเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้สัญจรแทนสะพานมอญที่ชำรุด โดยทหารจากกองกำลังสุรสีห์ และพี่น้องชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่อาศัยอยู่ทางฝั่งมอญของ อ.สังขละบุรี ได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างสะพานไม้บวบยาวกว่า 300 เมตร มีความกว้าง 6 เมตร ด้วยระยะเวลาในการสร้างเพียง 6 วัน จากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์
     
       สำหรับจุดกลางสะพานมอญที่ยังขาดอยู่ และใช้เป็นเส้นทางสัญจรของเรือ ชาวบ้านใช้วิธียกสะพานขึ้นสูงเหนือน้ำประมาณ 2 เมตร โดยไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างนั้น ได้มาจากการบริจาคของประชาชน ซึ่งพระมหาสุชาติ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ได้ริเริ่มโครงการหนึ่งคนหนึ่งลำไม้ไผ่ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันบริจาคไม้ไผ่จนเพียงพอต่อการใช้งาน



สะพานไม้บวบภายหลังจากมีฝนถล่มหนักอีกรอบ (ภาพจาก FB : Wa Sukkharin)

       ทั้งนี้ สะพานไม้บวบที่สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้เดินทางสัญจรแทนสะพานมอญที่ชำรุดไป ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปกลับได้มาก แต่ต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงของสะพานไม้บวบจากผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน จึงจะอนุญาตให้มีการใช้สะพานสัญจรได้
     
       ล่าสุด (23 ส.ค. 56) ผู้ใช้เฟสบุคนาม Wa Sukkharin ได้โพสต์ภาพสะพานไม้บวบที่สร้างขึ้นใหม่ และบรรยายว่า “จากฝนที่ถล่มหนักติดต่อกันสองสามวัน เมื่อคืนนี้แม่น้ำซองกาเลียจากผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรก็ถล่มมาอีกรอบ ถึงไม่หนักเท่าครั้งแรก ก็สร้างปัญหาให้กับสะพานใหม่เป็นอย่างมาก เพราะตอนสร้างเราคิดตามวิธีคิดแบบโบราณคือ ไม่น่าจะมีฝนหนักอีก แต่แล้วผิดคาด อาจต้องแก้ไขสะพานไม้ไผ่ใหม่ ไห้สามารถถอดออกลากหนีน้ำป่าได้ในกรณีฉุกเฉินแบบนี้ ไม่ไผ่ประโยชน์มหาศาล แต่ก็โทษมหาการ เมื่อมันไหลมารวมกันมากๆ เข้า ก็เป็นเขื่อนกั้นได้เป็นอย่างดี”


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000105232

twitter

ห้องแชทKonthaiuk