PEACE TV LIVE

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงการกู้ 2 ล้านล้าน


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คส่วนตัว กรณีสภาผู้แทนราษฎรประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้วในวาระที่ 2 ระบุว่า โครงการเหล่านี้ไม่ได้คิดขึ้นมาลอยๆ แต่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11(พ.ศ.2555-2559) หัวข้อ 5.3.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ การปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งในเมือง

และเป็นไปตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ทั้งในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟฟ้าใน กทม.และปริมณฑล โครงการท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

สำหรับในส่วนของกระทรวงคมนาคมมีโครงการต่างๆ ในแต่ละยุทธศาสตร์ที่ได้ไว้ ดังนี้
          1.รถไฟความเร็วสูง 783,553 ล้านบาท คิดเป็น 39.2%
          2.รถไฟฟ้า 456,662 ล้านบาท คิดเป็น 22.8%
          3.ถนนทางหลวง 241,080 ล้านบาท คิดเป็น 12.1%
          4.ถนนทางหลวงชนบท 34,309 ล้านบาท คิดเป็น 1.7%
          4.สถานีขนส่งสินค้า 14,093 ล้านบาท คิดเป็น 0.7%
          5.ท่าเรือ 29,581 ล้านบาท คิดเป็น 1.5%
          6.ด่านศุลกากร 12,545 ล้านบาท คิดเป็น 0.6%
          6.ปรับปรุงระบบรถไฟ ได้แก่ เพิ่มเครื่องกั้น ซ่อมบำรุงรางที่เสียหาย 23,236 ล้านบาท คิดเป็น 1.2%
          7.รถไฟทางคู่ และทางคู่เส้นทางใหม่ 383,891 ล้านบาท คิดเป็น 19.2%
          8.ค่าสำรองเผื่อฉุกเฉิน ได้แก่ ความผันผวนราคาวัสดุ การติดตามและประเมินผล 21,050 ล้านบาท คิดเป็น 1.0%
       
นายชัชชาติ กล่าวว่า "โครงการใน พ.ร.บ.สร้างอนาคตประเทศนี้ ไม่ได้มีแต่เรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าใน กทม. ถนนสี่เลน ด่านศุลกากร ศูนย์กระจายสินค้า มอเตอร์เวย์ บูรณะถนนสายหลัก ถนนเชื่อมประตูการค้า ท่าเรือ สะพานข้ามทางรถไฟ โดยกระจายอยู่ในทุกๆด้าน และอยู่ในทั่วทุกภูมิภาคตามความจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ สำหรับสิ่งที่จะได้จากโครงการนี้ที่ทางรัฐบาลคาดหวังไว้คือ
  
          1.ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงไม่น้อยกว่า 2% จากปัจจุบันอยู่ที่ 15.2%
          2.สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงจาก 59% เหลือ 40%
          3.ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 39 กม./ชม.เป็น 60 กม./ชม. และขบวนรถโดยสารเพิ่มขึ้นจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม.
          4.สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง เพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5%
          5.สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 18%
          6.ความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี
          7.สัดส่วนการเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30%
          8.ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 5%
          9.ปริมาณผู้โดยสารรถไฟ เพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน/เที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคน/เที่ยว/ปี
          10.ลดระยะเวลาการเดินทางจาก กทม. ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 กม. รอบกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง

แพ็คเกจ 2 ล้านล้านบาท 7 ปี 57 โครงการ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=179004&Itemid=417
28 มีนาคม 2013
การอภิปรายร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลัง เป็นผู้กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ….. รัฐบาลได้จัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ จำนวนกว่า 200 หน้า ซึ่งมีข้อมูลโดยสรุปของโครงการภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพิ่มเติมจาก ร่างพ.ร.บ.ฯ ที่มีเพียงไม่กี่หน้า ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ รัฐบาลกำหนดไว้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก และภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ มีจำนวนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด 57 โครงการ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำ (25 โครงการ) วงเงิน 354,560.73 ล้านบาท
1. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ
2. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายปากน้ำโพ-เด่นชัย
3. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
4. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
5. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางขอนแก่น-หนองคาย
6. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุ่มทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
7. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายนครปฐม-หัวหิน
8. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์
9. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
10. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมพร- สุราษฎร์ธานี
11. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายสุราษฎร์ธานี- ปาดังเบซาร์
12. โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ ( ปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว)
13. โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ และปรับปรุงเครื่องกั้น
14. โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ
15. โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
16. โครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่แก่งคอย
17. โครงการสะพานข้ามทางรถไฟ จำนน 83 แห่ง และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ รฟท. สำหรับก่อสร้างสะพาน ทล.
18. โครงการแก้ไขและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุจราจร ก่อสร้างสะพานและอุโมงค์ข้ามทางรถไฟ ( 25 แห่ง)
19. โครงการก่อสร้างท่าเรือที่จังหวัดชุมพร
20. โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2
21. โครงการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางลำน้ำเพื่อการประหยัดพลังงาน ที่จังหวัดอ่างทอง
22. โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล (ระยะที่ 1 )
23. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก
24.โครงการพัฒนาสถานีขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งถนนด้วยรถบรรทุก จำนวน 15 แห่ง
25.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางบ้านภาชี-นครหลวง
ที่มาภาพ : http://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/
ที่มาภาพ : http://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/
ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ( 15 โครงการ) วงเงิน 1,042,376.74 ล้านบาท
26. โครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร
27. โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย
28. โครงการพัฒนาข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
29. โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง โครงการสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
30. โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง โครงการสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือแหลมฉบัง
31. โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง โครงการสนับสนุนท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย
32. โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ- เชียงใหม่
33. โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-หนองคาย
34. โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ปาดังเบซาร์
35. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ต่อจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง
36. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
37. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่- นครพนม
38.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา(ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)
39.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่- บ้านโป่ง-กาญจนบุรี (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)
40.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา- มาบตาพุด (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)
รถไฟฟ้าสายม่วง ที่มาภาพ : http://www.dailynews.co.th
รถไฟฟ้าสายม่วง ที่มาภาพ : http://www.dailynews.co.th
ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว (17 โครงการ) วงเงิน 593,801.52 ล้านบาท
41. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง
42. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
43. โครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ส่วนต่อขยายช่วง ดอนเมือง-บางซื่อ- ตลิ่งชัน
44. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา
45. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค
46. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
47. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
48. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
49. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู
50. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
51. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
52. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
53. แผนงานพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ
54. โครงการเร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง
55. โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในภูมิภาค
56. โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค
57. โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยว ( Royal Coast)
โครงการทั้งหมด 57 โครงการ มีทั้งโครงการเก่า และโครงการใหม่ที่นำมาจัดเป็นแพ็คเกจให้อยู่ในภายใต้แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะ 7 ปี หรือ ตั้งแต่ปี 2557-2563 โครงการเหล่านี้ไม่มีใครปฏิเสธว่า “จำเป็น” ต้องลงทุน เพราะถ้าดำเนินการได้ตามแผน จะเป็นการยกระดับระบบการขนส่งของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพในการเติบโตสูงขึ้น
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ 2ล้านล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ 2ล้านล้านบาท
ขณะเดียวกันนอกจากค่าก่อสร้างและค่าจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่มีมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านบาทแล้ว โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ยังกันงบฯไว้จ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการในเบื้องต้น 44,475 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.23% ของมูลค่าโครงการ 2 ล้านล้านบาท โดยโครงการที่ตั้งงบไว้จ้างบริษัทที่ปรึกษาไว้สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ- เชียงใหม่วงเงิน 7,000 ล้านบาท ,รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรีวงเงิน5,025 ล้านบาท ,รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-หนองคาย 3,000 ล้านบาท ,รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ 2,500 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 1,894 ล้านบาท
แต่ถ้าพิจารณาที่สัดส่วนค่าว่าค่าจ้างที่ปรึกษา-โครงการลงทุน-2-ล้านล้านบาทพบว่า โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมวงเงิน 2,152 ล้านบาท กันงบฯไว้จ้างที่ปรึกษา 144 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6.69% โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศวงเงิน 7,281 ล้านบาท กันงบฯจ้างที่ปรึกษา 364 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5% ,โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสักวงเงิน 11,380 ล้านบาท กันงบฯจ้างที่ปรึกษา 534 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.69% โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรีวงเงิน 115,055 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษา 5,025 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.37% (ดูเพิ่มเติม ค่าจ้างที่ปรึกษา โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท)
แต่การอภิปรายครั้งนี้ ประเด็นที่รัฐบาลต้องชี้แจง และตอบคำถามให้ได้คือ มีความจำเป็นต้องออกพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท หรือไม่ และโครงการเหล่านี้คุ้มค่าในการลงทุนจริงแท้แค่ไหน หรือเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ได้จริงหรือไม่
เพราะถ้าเป็นการกู้มา “กอง” กู้มา “โกง” อย่างที่พรรคฝ่านค้านได้แสดงความเป็นกังวล ความหวังที่จะเห็น “Thailand 2020″ อันสวยหรูุ ก็คงเป็นเพียงความฝันลมๆ แล้งๆ เหมือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ รัฐบาลประเมินว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวมีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากถึง 4 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลขอออกเป็นกฎหมายพิเศษกู้เงินเพียง 2 ล้านล้านบาท ส่วนอีก 2 ล้านล้านบาทที่เหลือยังไม่มีความชัดเจนว่าจะหาแหล่งเงินจากไหน เป็นอีกประเด็นที่น่าจับตามอง

“การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค” ใช้เงินมากสุด 9.9 แสนล้านบาท

จากเอกสารฯ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ใช้เงินมากที่สุด 1,042,376.74 ล้านบาท
รายละเอียดของยุทธศาสตร์ฯ นี้มี 2 คือ 1) แผนงานพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน วงเงิน 47,444.84 ล้านบาท และ 2) แผนงานพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค วงเงิน 994,430.90 ล้านบาท
เพราะฉะนั้น จะเห็นว่า แผนงานที่ใช้เงินมากที่สุดคือ “การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค”ประกอบไปด้วย 9 โครงการ ได้แก่
โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ- เชียงใหม่ วงเงิน 387,821 ล้านบาท
โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-หนองคาย วงเงิน 170,450 ล้านบาท
โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 124,327.9 ล้านบาท
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ต่อจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง วงเงิน 100,631 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 77,275 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่- นครพนม วงเงิน 42,106 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา(ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน) วงเงิน 5,420 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่- บ้านโป่ง-กาญจนบุรี (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน) วงเงิน 5,420 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา- มาบตาพุด (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน) วงเงิน 1,800 ล้านบาท
 http://thaipublica.org/2013/03/bill-to-borrow-2-trillion-baht-1/

twitter

ห้องแชทKonthaiuk