PEACE TV LIVE

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

จับผิด พวกอวตารใน FaceBook วิธีง่ายๆที่ทำให้รู้ว่าเป็นรูปจริงของเขาและเธอ หรือเปล่า

ผมจะขอแนะวิธีการ Identify คน
หรือ จับผิด พวกอวตารใน FaceBook นะครับ

แต่พวกที่ตั้งใจ "อวตาร" ล้อคนอื่น
หรือแกล้งอำกัน ไม่ว่ากันครับ

นี่พูดถึงกรณี พวกที่ "อวตาร"
เอาบุคคลที่มีตัวตน หล่อ สวย มาเป็นโปรไฟล์
โพสไทม์ไลน์ ฯลฯ
แล้วบอกว่าเป็น "ตนเอง" โดยการ "สวมชื่อ"
ผมว่าแบบนี้ "เจตนาไม่บริสุทธิ์" ครับ

ให้ดัดหลังพวกเค้า ด้วยการทำวิธีง่ายๆ ดังนี้
1. Download รูปประจำตัว หรือ รูปในอัลบั้มของเค้า
เลือกเอาอันที่คิดว่า...หล่อหรือสวยที่สุด มาเลยนะครับ
2. เข้าเว๊ป Google เลือกตรงบาร์ด้านบน "ค้นรูป"
3. แล้ว เลื่อนไปคลิ๊กที่ รูปกล้องถ่ายรูป
4. อัพโหลดรูปที่เราเลือกไว้มาวาง...
5. รอ....รอความจริงปรากฏตรงหน้าเราครับ
ว่ารูปที่เค้าเอามาใช้นั้น..เป็นรูปใครกันแน่

ง่ายๆครับ ด้วยความปรารถนาดี...
และ เพื่อความปลอดภัยใน FaceBook ของคุณ
และส่วนรวม
/หมออั้ม อิราวัตhttps://www.facebook.com/photo.php?fbid=10200268969075318&set=a.1936440379131.113712.1486018229&type=1&theater

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

ด่วน!!! ทหารตบเท้าบุกสำนักงานผู้จัดการ (มีคลิป)



ทหาร กองทัพภาคที่ 1 และมณฑลทหารบกที่ 11 กว่า 50 นาย เดินทางมาหน้าบ้านพระอาทิตย์ แสดงความไม่พอใจ “นสพ.ผู้จัดการ” เขียนโจมตี ผบ.ทบ.ชี้ควรนำเสนอข่าวให้กำลังใจมากกว่าบั่นทอน


เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 11 ม.ค. ที่บริเวณหน้าสำนักงานบ้านพระอาทิตย์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ทหารจำนวนกว่า 50 นาย จากกองทัพภาคที่ 1 และมณhttp://www.dailynews.co.th/crime/177682ฑลทหารบกที่ 11 เดินทางมาเพื่อแสดงความไม่พอใจในฐานะสิทธิส่วนบุคคลต่อแถลงการณ์เอเอสทีวี ผู้จัดการ ที่เขียนต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก โดยทางทหารมองว่า การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนควรให้กำลังใจทหารมากกว่า เพราะทหารทำเพื่อประเทศชาติ การพาดหัวข่าวหรือนำเสนอข่าวในลักษณะนี้เป็นการบั่นทอนกำลังใจทหาร แม้การนำเสนอข่าวจะระบุเพียง ผบ.ทบ. คนเดียว แต่ ผบ.ทบ.เป็นผู้บังคับบัญชา พวกเราจึงมาแสดงออกเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีทหาร ส่วนการจะให้ไปบุกกัมพูชากรณีประสาทพระวิหารก็สามารถทำได้ แต่ขอให้เข้าใจว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ภายหลังเสร็จสิ้น จึงเดินทางกลับ โดยไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงแต่อย่างใด.
http://www.dailynews.co.th/crime/177682



หนาวไหมละมาร์ค !!! ขนาดเด็ก ยังบอก “คิดถึงนายกฯทักษิณครับ” กลางรายการบันทึกเทป (มีคลิป)






วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 14:07 น.  ข่าวสดออนไลน์
นายกฯถ่ายรูปกับเด็กชนะเรียงความ อึ้งด.ช.โพล่ง “คิดถึงทักษิณ” กลางรายการ

 เมื่อเวลา 11.50 น. วันที่ 11 ม.ค. ที่บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงมาร่วมถ่ายรูปกับคณะนักเรียน ที่ชนะการประกวดเขียนเรียงความ “เรื่องดี ๆ ที่หนูอยากเล่าให้นายกรัฐมนตรีฟัง” 59 คน หลังจากที่ได้ร่วมบันทึกเทปรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน” ซึ่งจะออกอากาศในวันที่ 12 ม.ค. เกี่ยวกับเรื่องวันเด็กแห่งชาติ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้อวยพรเด็กๆ ว่า ในวันเด็กแห่งชาติขอให้เด็กๆมีความสุข มีแต่รอยยิ้ม จากนั้นได้ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับเด็กๆ และผู้ปกครอง

 โดยเฉพาะกับน้องปุ่น อายุประมาณ 5 ขวบ จากโรงเรีนสาธิตพัฒนา และขอให้หอมแก้มโชว์สื่อ แต่น้องปุ่นเขินและไม่ยอม โดยบอกว่า “ปุ่นอายครับ” จากนั้นบรรดานักเรียนที่ชนะการประกวดได้ร่วมกัยร้องเพลง เด็กเอ๋ย เด็กดี พร้อมกับท่องคำขวัญวันเด็กให้นายกฟัง ทำให้นายกฯ ยิ้มชอบใจ

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในระหว่างการบันทึกเทปรายการรัฐบาลยิ่วงลักษณ์ฯ ทางคณะทำงานได้เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงความเห็นเต็มที่ โดยไม่ได้นัดแนะไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีเด็กชายคนหนึ่ง โพล่งคำพูดว่า “คิดถึงนายกฯทักษิณครับ”

 http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzRORFl6TVE9PQ==&subcatid=

คลิป นปช.&ศูนประสานงานเพื่อประชาธิปไตยแถลงข่าว ประจำวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556


วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

คลิปรายการ "นายแน่มาก" โดย คุณคฑาวุธ วันพฤหัสบดี ที่ 10 มกราคม 2556






MP3
 http://www.4shared.com/mp3/mK9nwyjv/KTW10-01-2013maysa_konthaiuk.html

http://www.mediafire.com/?i5d5cfe2v9tpuib


ฮือฮา!! "ด.ช.ทักษิณ อยู่ประเทศ" ส่ง สคส.ปีใหม่ถึง "นายกฯ ปู"



ฮือฮา!! "ด.ช.ทักษิณ อยู่ประเทศ" ส่ง สคส.ปีใหม่ถึง "นายกฯ ปู"
 เมื่อวันที่ 10 ม.ค.สำนักโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำสคส.จากนักเรียนทั่วประเทศที่เขียนคำอวยพรปีใหม่
ถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บางส่วนที่ผ่านการคัดเลือกจากทั้งหมด 7,500 ใบ
มา จัดเเสดงบนบอร์ดในงานวันเด็กเเห่งชาติประจำปี 2556 ที่จะมีการจัดงานขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันเสาร์ที่ 12 ม.ค.นี้ โดยสคส.ดังกล่าวได้ส่งมาในรูปแบบของไปรษณียบัตร มีการตกแต่งวาดภาพ แต่งกลอน จากฝีมือนักเรียน ซึ่งสคส.ส่วนใหญ่อวยพรให้นายกฯมีสุขภาพแข็งแรง และสนับสนุนนโยบายแจกแท็บเล็ตแก่เด็กชั้นประถมศึกษา

ทั้งนี้ สคส.บางฉบับที่ผ่านการคัดเลือกจัดอยู่บนบอร์ดที่มีความน่าสนใจ อาทิ ด.ช.อานนท์ พรมเเพง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองนกเขียนประชาอุปถัมภ์ ต.โนนทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ส่งสคส.มีใจความว่า "นายกฯยิ่งลักษณ์ งามพักตร์งามพิศ ยิ่งยามกอบกิจ ยิ่งพิศยิ่งงาม ขอพรพระให้ อวยชัยเรืองนาม ทั่วทุกเขตคาม เเซ่ซ้องสรรเสริญ" หรือ ด.ญ.นิศารัตน์ เเถมศิริ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าศาลาวิทยา อ.หนองเรือ จ.ขอนเเก่น ส่งสคส.มีใจความว่า "ถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ หนูรู้สึกดีใจอย่างยิ่งในการทำงานของท่านที่ทำให้เด็กด้อยโอกาสมีโอกาสมา เรียนเเท็ปเล็ต ท่านดูเเลคนชรายากจนมีเงินเลี้่ยงชีพ โดยเงินเบี้ยยังชีพ คนชราถ้าไม่มีท่าน คนชราจะอยู่อย่างไร หนูขอให้ท่านนายกฯดูเเลสุขภาพด้วยนะคะ เเละขอให้มีความสุขไปนานๆ เเละขอให้อยู่กับพวกหนูไปนานๆ"

ส่วน สคส.ที่ไม่ได้คัดเลือกติดไว้บนบอร์ด แต่สำนักโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำมาเผยแพร่ด้วยเช่นกัน มีบางฉบับที่เขียนข้อความน่าสนใจ อาทิ ด.ช.พงศกร ไตรแก้ว โรงเรียนท่าศาลาวิทยา ต.หนองเรือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น มีใจความว่า “กระผมขอให้นายกฯจงมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ปกป้องดูแลคนไทยชาวรากหญ้าให้อยู่ดีกินดีตลอดไป”ด.ญ.ศุภรดา กาญจนากาล โรงเรียนโนนสะอาดพิทยา ต.โนนสะอาด อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ได้แต่งกลอนมีใจความว่า“ขอนายกรัฐมนตรีมีความสุขหมดสิ้นทุกข์ กายจิตมิผิดผัน อายุมั่นขวัญยืนสี่หมื่นวัน มีผิวพรรณผ่องนวล เย้ายวนชน”

ขณะ ที่ ด.ช.มงคล สอนเอียง โรงเรียนหนองไฮ่ประชารัฐ ต.หนองเรือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ได้เขียนสคส.มีใจความว่า “สวัสดีท่านายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่านเป็นนายกฯหญิงคนแรกของประเทศไทย ท่านได้สร้างประโยชน์ตั้งมากมาย ท่านแจกแท็ปเล็ตเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกโรงเรียน แก้ปัญหาให้ชาวนา โดยนายกฯให้รับจำนำข้าว น้ำท่วมปลายปี 2554 ท่านได้แก้ปัญหาช่วยคนที่ถูกน้ำท่วม ท่านขึ้นค่าแรงลูกจ้างวันละ 300 บาท และสุดท้ายขอให้ท่านสุขภาพแข็งแรง และขอให้มีความสุขตลอดไป” ด้าน ด.ช.ภูวดล ขุนเที่ยงธรรม จ.ขอนแก่น เขียนสคส.ใจความว่า “ขอให้ท่านนายกฯมีความสุข ขอให้ท่านนายกฯช่วยเหลือประเทศ และอยู่ประเทศไทยนานๆ”

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีนักเรียนใช้ชื่อจ่าหน้าไปรษณียบัตรเขียนด้วยลายมือว่า ด.ช.ทักษิณ อยู่ประเทศ บ้านเลขที่182 บ้านดินดำ ต.ดินดำ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เขียนส่งสคส.ส่งมา มีใจความว่า “ข้าพเจ้า ด.ช.ทักษิณ อยู่ประเทศ ขอให้นายกรัฐมนตรีมีความสุข จะทำอะไรก็สำเร็จทุกประการ”

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า สคส.ที่นักเรียนส่งมาอวยพรนายกฯ เกือบทั้งหมดมาจากโรงเรียนในจ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ

กัมพูชามีออกแถลงการณ์เรื่องวีระ-ราตรี " อภัยโทษให้ "ราตรี" รอปล่อยตัว 1 ก.พ. - ลดโทษให้ "วีระ"


น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯให้สัมภาษณ์ยืนยัน ว่าได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศว่ารัฐบาลกัมพูชา ได้อภัยโทษนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ โดย น.ส.ราตรี ได้รับการปล่อยตัว ส่วนนายวีระได้ลดโทษ 6 เดือน ซึ่งจะเป็นการลดโทษก่อน และถ้ามีโอกาสพิเศษก็คงจะขอให้ปล่อยตัว
ทั้งนี้กรณีดังกล่าวเกิดจากการที่รัฐบาลหารือกับกัมพูชาตั้งแต่แรก ที่เดินทางไปเยือนและการให้อภัยโทษให้กรณีพิเศษ ในนามรัฐบาลไทย ขอขอบคุณกัมพูชาที่ดูแลและอภัยโทษทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์ของสองชาติต่อไป
ส่วนกรณีที่จะมีกลุ่มธรรมยาตราพิทักษ์สยามเคลื่อนไหวที่แนวชายแดน ไทย-กัมพูชากรณีเขาพระวิหารวันที่ 12 ม.ค.นั้น นายกฯกล่าวว่าเรื่องนี้หน่วยงานความมั่นคง ก็ดูแลตามแนวชายแดนอยู่แล้ว และบรรยากาศตามแนวชายแดนก็เป็นไปอย่างดี

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ภารกิจนิติราษฎร์ และ ครก.112 ในปี 2556 ในงานเลี้ยงปีใหม่ที่สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยของคุณจาตุรนต์(มีคลิป)




อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล สมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ เผยถึงภารกิจนิติราษฎร์ในปี 2556 นี้
ในงานสังสรรค์ปีใหม่ ณ สถาบันพัฒนาประชาธิปไตย (จาตุรนต์ ฉายแสง) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ สมาชิกครก 112 เผยภารกิจของครก. 112 ในปี 2556 นี้ ในงานสังสรรค์ปีใหม่ ณ สถาบันพัฒนาประชาธิปไตย (จาตุรนต์ ฉายแสง) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในงานสังสรรค์ปีใหม่ ณ สถาบันพัฒนาประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556

“รถคันแรก-เจ๊ปู” หรือจะสู้ “มินิคันแรกของ นายกรณ์








“รถคันแรก-เจ๊ปู” หรือจะสู้ “มินิคันแรก-ขุนคลัง
--------------
Cooper S Roadster เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 1,600 ซีซี 184 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 7.2 วินาที ความเร็วสูงสุด 222 กม./ชม. ราคา 2,870,000 บาท

Cooper S Coupe เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 1,600 ซีซี 184 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 6.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 227 กม./ชม. ราคา 2,630,000 บาท
Cooper S Hatch และ Cooper S GOODWOOD เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 1,600 ซีซี 184 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 7.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 223 กม./ชม. ราคา 2,700,000 บาท

Cooper S Clubman เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 1,600 ซีซี 184 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 7.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 222 กม./ชม. ราคา 2,880,000 บาท

Copper S ALL4 Countryman เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 1,600 ซีซี 184 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 7.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 204 กม./ชม. ราคา 3,100,000 บาท
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352898882&grpid&catid

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ด่วน!ช่อง 3 แจงแบน "เหนือเมฆ2" เพราะบทแรง -ไม่มีใบสั่ง



ช่อง 3 แจงแบน "เหนือเมฆ2" บทแรง-ปัดการเมืองสั่ง
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56WXlOek13TVE9PQ==&sectionid=

ไอ เอ็นเอ็น : ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 แจง แบน "เหนือเมฆ 2" เหตุบทแรง ปัดการเมืองสั่ง ยัน ไม่ฉายต่อ ไม่ทำ CD ขาย ด้าน "ศรีสุวรรณ" ร้อง กสทช. เอาผิดช่อง 3 นำ "เหนือเมฆ 2" กลับมาออนแอร์

นายบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีถอดละครเรื่องเหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์ กลางอากาศว่า

"เรื่องราวของละครที่ไม่เหมาะสมที่ออกอากาศ คงไม่มีการแถลงอะไร เพราะว่าเป็นเรื่องที่เราเห็นว่าไม่เหมาะสม เราคิดว่าการใช้คำว่าไม่เหมาะสมเป็นการลงตัวแล้ว แต่จะให้ลงรายละเอียดก็คงจะลงลำบาก ขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ทางสถานีฝ่ายรายการรับเทปจากผู้จัด ไม่ว่าจะเป็นละคร รายการ หรืออะไรก็แล้วแต่ เราจะมีเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาว่า มีอะไรที่ไม่สมควรออกอากาศบ้างไหม เขาก็จะดูในเบื้องต้น ถ้าเขาเห็นว่ามีอะไรไม่เหมาะสม ก็จะทำเสนอไปให้ทางผู้จัดการฝ่าย ถ้าเห็นว่าเจ้าหน้าที่พิจารณามา เห็นว่ายังไม่ดี ก็จะส่งเซนเซอร์ได้ ซึ่งเราก็เคยทำ ไม่ใช่ไม่เคย เพียงแต่ว่ามันไม่เป็นข่าว เรื่องเซนเซอร์รายการเราทำกันอยู่เป็นประจำ"

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการนำละครเรื่องเหนือเมฆ 2 กลับมาฉายหรือไม่ นายบริสุทธิ์ ก็ชี้แจงว่า "ผมเองก็ไม่ได้เห็นว่าอีก 3 ตอนที่เหลือมีอะไรบ้าง แต่ก็เชื่อในวิจารณญาณของฝ่ายรายการ ว่าท่านคงพิจารณาได้รอบคอบและดีแล้ว ม็อบที่จะมีชุมนุมเราก็ไม่รู้จะทำอะไรได้ เพียงแต่เห็นว่าถ้าเรานำสิ่งที่เราพิจารณาแล้วว่าไม่สมควรออกอากาศมาออกอีก เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราก็จะไม่ออก เราเก็บเลยครับ ไม่มีการออกยูทูบ ไม่ต้องไปรอดู ลงแผ่นอะไรก็ไม่มี มันจะไปทำได้อย่างไร ทำไปใครก็รู้ว่าเราทำ เพราะลิขสิทธิ์ละครเรื่องนี้เป็นของเรา เราก็ทราบว่า ทาง กสทช. จะแถลง ก็คาดว่าน่าจะทำหนังสือมาถึงเรา ทางนี้ก็คงจะตอบไป เรื่องพวกนี้ก็มีอยู่ตลอด เขาถามมาเราก็ตอบไป ไม่ได้มีปัญหาอะไร"

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๔๑ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)ภารกิจคณะนิติราษฎร์ใน พ.ศ. ๒๕๕๖

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๔๑ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)

06 January 2013
Blog Icon
ภารกิจคณะนิติราษฎร์ใน พ.ศ. ๒๕๕๖

วรเจตน์ ภาคีรัตน์
   
          โดยที่มีผู้สอบถามถึงกิจกรรมทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ที่จะดำเนินการต่อไปใน พ.ศ.๒๕๕๖ ตลอดจนสอบถามถึงความคืบหน้าของการรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ และการดำเนินการตามแนวทางการตรากฎหมายเพื่อขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน สังคมอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายภายหลังจากการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ตามที่ได้เคยประกาศไว้ในประกาศนิติราษฎร์ฉบับที่ ๓๔ (๒๕ เมษายน ๒๕๕๕) ในโอกาสขึ้นปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๕๖ นี้ คณะนิติราษฎร์ขอชี้แจงถึงภารกิจและกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป ดังนี้


          ๑. การรณรงค์และรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ โดยคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ (ครก.๑๑๒) นั้น ได้ผ่านพ้นจากขั้นตอนการรณรงค์รวบรมรายชื่อประชาชนไปสู่การเสนอร่างพระราช บัญญัติดังกล่าวไปยังประธานรัฐสภาแล้ว เมื่อกลางปี ๒๕๕๕ ต่อมาในราวเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ประธานรัฐสภา (นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) ได้ปฏิเสธไม่บรรจุร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุม โดยอ้างว่าร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด ๓  (สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย) และหมวด ๕ (แนวนโยบายแห่งรัฐ) ของรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่กรณีเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๒๒ ซึ่งกำหนดโทษในทางอาญานั้น เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในร่างกายและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของบุคคลซึ่งเป็นเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ การปฏิเสธไม่บรรจุร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุม จึงเป็นการปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล หลังจากทราบการปฏิเสธแล้ว ครก.๑๑๒ (ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลหลายฝ่ายรวมทั้งคณะนิติราษฎร์) ได้พยายามประสานเพื่อเสนอความเห็นให้ประธานรัฐสภาทบทวนการวินิจฉัย แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นในเดือนมกราคม ๒๕๕๖ นี้ ครก.๑๑๒ จะได้โต้แย้งคำสั่งของประธานรัฐสภา (นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้มีการทบทวนคำสั่งดังกล่าว หลังจากนั้นจะดำเนินการตามช่องทางในทางกฎหมายต่อไปจนสุดหนทาง
   
          ในระหว่างนี้ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนหรือคณะรัฐมนตรีเห็นความ สำคัญของปัญหาดังกล่าว อันเป็นปัญหาที่นานาชาติตลอดจนองค์การระหว่างประเทศให้ความสนใจ และประสงค์จะปฏิรูปประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ให้ได้ในระดับที่นานาอารยประเทศพอที่จะยอมรับนับถือได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีอาจพิจารณาเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์หรือข้อเสนอของคณะกรรมการบางคณะที่รัฐบาลได้ตั้ง ขึ้น (เช่น คอป.) เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามวิถีทางประชาธิปไตยก็ได้ การดำเนินการในลักษณะดังกล่าวจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีคำ สั่งของ ประธานรัฐสภา (นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) ที่ไม่บรรจุร่างกฎหมายที่ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อโดยถูกต้องทุกประการตามหลัก เกณฑ์ของกฎหมายเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภาได้อีกทางหนึ่ง
   
          ในส่วนของประชาชนที่ร่วมลงชื่อ ตลอดจนเครือข่ายกลุ่มกิจกรรมต่างๆที่เห็นว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ มีปัญหาทั้งในแง่อุดมการณ์เบื้องหลังตัวบท ปัญหาในระดับตัวบท และปัญหาในการบังคับใช้ หากจะจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆต่อไป เท่าที่มีกำลังจะทำได้ เพื่อขยายแนวความคิดให้แพร่ไปในหมู่ประชาชนในวงกว้าง ให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง พ้นจากการบิดเบือนให้ร้ายของสื่อมวลชน องค์กรและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แสวงหาประโยชน์จากการดำรงอยู่ของบท บัญญัติมาตรานี้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการแก้ไขบทบัญญัติมาตรานี้ในอนาคต
   
          ๒. สำหรับการดำเนินการตามแนวทางการตรากฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมและการขจัดความขัด แย้งที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายภายหลังจากการแย่งชิงอำนาจ รัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นั้น ขณะนี้คณะนิติราษฎร์ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญหมวดว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง  เสร็จสิ้นแล้ว และได้ประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนพร้อมกับประกาศนิติราษฎร์ฉบับนี้ เนื้อหาสาระหลักของร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นไปตามประกาศนิติราษฎร์ฉบับที่ ๓๔  ทั้งนี้โดยคณะนิติราษฎร์ได้กำหนดรายละเอียดของเนื้อหาบางประการเพิ่มเติม อนึ่ง กฎหมายนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้งตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ คณะนิติราษฎร์เลือกที่จะเสนอในรูปของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ใช่ร่างพระราชบัญญัติ เพื่อป้องกันปัญหากรณีร่างพระราชบัญญัติขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ โดยในร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอนี้ไม่มีการนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาเจ้าหน้าที่ของ รัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงตลอดจนการสลายการชุมนุมทุก เหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้เข้าร่วมการประท้วงและชุมนุมทางการเมืองตาม เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ให้มีคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งจำนวน ๕ คน ซึ่งประธานรัฐสภาแต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับเลือกจากองค์กรต่างๆตามที่กำหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งมีผลผูกพันองค์กรของรัฐ ทุกองค์กร และไม่อาจเป็นวัตถุแห่งการพิจารณาขององค์กรตุลาการหรือองค์กรอื่นใด นอกจากนี้คณะนิติราษฎร์ยังกำหนดให้รัฐสภาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดใน การตีความบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้งด้วย
   
          ร่างรัฐธรรมนูญหมวดว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้งตามข้อเสนอของคณะ นิติราษฎร์นี้ เมื่อได้เผยแพร่ต่อสาธารณะแล้ว ย่อมถือเป็นสมบัติของสาธารณะที่อาจจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ เสนอแนะตลอดจนปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น คณะนิติราษฎร์ไม่สงวนสิทธิที่กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลใดจะนำร่างรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวไปรณรงค์เคลื่อนไหวตลอดจนผลักดันให้เกิดผลเป็นตัวบทกฎหมายที่มีผล ใช้บังคับได้จริงในบ้านเมือง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายต่อไป
   
          ๓. ในส่วนของกิจกรรมทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์นั้น แม้ว่าคณะนิติราษฎร์ซึ่งประกอบไปด้วยอาจารย์ประจำของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน ๗ คน จะไม่เคยได้รับค่าตอบแทนจากบุคคลใดในการดำเนินกิจกรรมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และทั้งๆที่คณะนิติราษฎร์หวังเพียงการแสดงออกซึ่งความรู้ในทางวิชาการที่ได้ ร่ำเรียนมาเสนอประเด็นต่างๆเข้าสู่พื้นที่สาธารณะอย่างเปิดเผย และตรงไปตรงมา (นอกเหนือไปจากงานวิชาการประจำไม่ว่าจะเป็นการสอน การวิจัย การผลิตตำราตลอดจนบทความ) แต่นับแต่กลางปี พ.ศ.๒๕๕๕ เป็นต้นมา คณะนิติราษฎร์ประสบกับอุปสรรคในการขอใช้สถานที่ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนคณะบางคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มากขึ้นเป็นลำดับ จนไม่อาจจัดกิจกรรมทางวิชาการตามที่ได้ตั้งใจไว้อย่างต่อเนื่องได้ อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ คณะนิติราษฎร์ยังคงตั้งใจจะจัดกิจกรรมทางวิชาการต่อไปเท่าที่กำลังและเหตุ ปัจจัยต่างๆจะอำนวย โดยจะพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆไปให้ได้ กิจกรรมหลักที่คณะนิติราษฎร์จะดำเนินการต่อไปนั้น ก็คือ การศึกษาและยกร่างรัฐธรรมนูญต้นแบบที่มีการจัดดุลอำนาจของสถาบันการเมืองและ องค์กรทางรัฐธรรมนูญโดยถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ การประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ตลอดจนการลบล้างผลพวงรัฐประหาร นอกจากนี้คณะนิติราษฎร์จะพยายามจัดทำเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการบังคับใช้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ตลอดจนการวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งคำวินิจฉัยกลางและคำ วินิจฉัยส่วนตนเกี่ยวกับการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๑๒ ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ และหากมีความจำเป็นที่จะต้องแสดงทัศนะทางวิชาการต่อการบังคับใช้กฎหมายของ องค์กรของรัฐในสถานการณ์ต่างๆ คณะนิติราษฎร์ก็จะพยายามหาช่องทางในการสื่อสารต่อสาธารณะต่อไป
   
          คณะนิติราษฎร์ขอเรียนให้สาธารณชนทราบว่า จนถึงขณะนี้คณะนิติราษฎร์ยังไม่ประสงค์จะรับการบริจาคหรือการสนับสนุนทางทุน ทรัพย์จากบุคคลใด เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการเท่าที่ผ่านมาเป็นกิจกรรมเล็กๆที่ยัง อยู่ในกำลังซึ่งสมาชิกคณะนิติราษฎร์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆเองได้ ขอให้ประชาชนทั้งหลายอย่าได้หลงเชื่อการแอบอ้างชื่อคณะนิติราษฎร์เพื่อขอรับ เงินบริจาคสนับสนุนการทำกิจกรรมของคณะนิติราษฎร์ คณะนิติราษฎร์มุ่งหวังให้การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการที่กระทำนั้น เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ท้าทายต่อการบิดเบือนให้ร้ายจากสื่อมวลชน กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอดจนนักวิชาการบางส่วนที่มีจิตเป็นอกุศล หากเมื่อใดคณะนิติราษฎร์พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขอความช่วย เหลือทางการเงินจากสาธารณะ คณะนิติราษฎร์จะประกาศให้ทราบอย่างเปิดเผย และจะดำเนินการทุกอย่างให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ความมุ่งหมายของคณะนิติราษฎร์ในการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการซึ่งในบางเรื่อง มีอิทธิพลส่งผลกระทบในทางการเมืองอยู่บ้างนั้น ก็เพื่อทำให้วิชานิติศาสตร์อันเป็นวิชาที่สมาชิกคณะนิติราษฎร์ร่ำเรียนมา เป็น “นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” และด้วยความหวังที่ว่าคณะนิติราษฎร์จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆตัวหนึ่งในการผลัก ดันให้ประเทศของเราเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นนิติรัฐอย่างแท้จริง

                                                   ๗ มกราคม ๒๕๕๖.
 http://www.enlightened-jurists.com/blog/76

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

นายกฯ แต่งชุดคาวบอย กับผ้าพันคอสีแดง ส่วนบอดี้การ์ดเสื้อสีแดงแจ๊ดดดดดดด

นายกฯ กับผ้าพันคอสีแดง ส่วนบอดี้การ์ดเสื้อสีแดงแจ๊ดดดดดดด
-+++++-----------------
นายกฯ แต่งชุดคาวบอย-ผ้าพันคอสีแดง ขณะร่วมกิจรรมสัมนาพรรคพท.
วันที่ 6 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเข้าร่วมการสัมมนาพรรคเพื่อไทย ภายใต้หัวข้อ "มุ่งมั่น ตั่งใจ... เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย" ที่เดอะกรีนเนอรี่รีสอร์ท เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แต่งชุดชุดคาวบอย หรือเสื้อลายสก็อต สีเทาเข้มสัลบเทาอ่อน ผูกผ้าพันคอสีแดง กางเกงยีนส์ รวมถึงสวมรองเท้าหนัง ขณะเข้าร่วมกิจกรรมสัมนาพรรคเพื่อไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้ร่วมกิจกรรมยิงปืน ปาเป้า และปาสาวน้อยตกน้ำ ท่ามกลางความสนใจของสมาชิกชิกพรรคและสื่อมวลชน ก่อนที่นายกรัฐมนตรี จะกล่าวทักทายพร้อมถ่ายภาพร่วมกับผู้ที่เข้าร่วมงาน และขึ้นเป็นประธานเปิดงาน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357474908&grpid=02&catid&subcatid

----กรณี ของช่อง ITV โดน ปล้น----พนักงานI1,010ชีวิตตกงาน




----กรณี ของช่อง ITV----
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192615
1/ เมื่อ พศ 2535 รัฐได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ (พรบ) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พศ 2535 ซึ่งเป็น พรบ ที่เกี่ยวกับกรณีไอทีวี

1 พรบ ฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญว่าด้วยให้รัฐบาลเป็นผู้ออกใบอนุญาต หรือ ให้สัมปทานแก่ภาคเอกชนที่โครงการมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท

2 พรบ ฉบับดังกล่าว มีการกำหนดขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ และผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม)

2/ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน) เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้ไอทีวีเปิดดำเนินการได้ เมื่อ พศ 2538 และมี ข้อสัญญา 4 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ดังนี้

1 ไอทีวีจะต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ สปน จำนวน 1 พันล้านบาทต่อปี (ในปีปัจจุบัน)

2 สัดส่วนรายการ : ไอทีวีจะออกอากาศ ในสัดส่วน 70/30 (ข่าวและสารคดี 70% และบันเทิง 30%) ของรายการที่ออกอากาศ และมีข้อจำกัดในเวลาที่มีผู้ชมสูง (Prime time) หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดไอทีวีจะถูกปรับรายวันจำนวน 10% ของค่าสัมปทานต่อปี และอาจถูกยึดใบอนุญาตได้หากยังฝ่าฝืน

3 ข้อสัญญาห้ามคู่แข่ง :ไอทีวีสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีที่รัฐบาลอนุญาต หรือไม่ห้ามการโฆษณาทางทีวี 1) โดยช่องเดิมที่มีอยู่แล้วที่ไม่สามารถมีโฆษณาได้ หรือ 2) ช่องเอกชนช่องใหม่

4 หากมีข้อโต้แย้งกันของสองฝ่าย ให้ถือ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุด

3/ ชินคอร์ปอเรชั่นกลายเป็นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของไอทีวี ในเดือน ธันวาคม 2543 และหลังจากนั้น ได้มีการเพิ่มทุนอีกหลายครั้ง จนชินคอร์ปถือหุ้นมากกว่า 50 %

4/ เดือน พฤศจิกายน 2542 มีสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้มี โฆษณาได้

1 ไอทีวีได้แจ้งไปยัง สปน ถึงกรณีดังกล่าว และได้ดำเนินการขอ แก้ไขสัญญา แต่ ไม่มีความคืบหน้าใดๆ

2 เดือน มีนาคม 2545 (เป็นเวลาเกือบ 3 ปีให้หลัง) สปน ได้ยอมรับถึงข้อร้องเรียนของไอทีวีและเปิดให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขให้ถูก ต้อง แต่ไม่มีข้อยุติ

3 เดือน กันยายน 2545 ไอทีวี ได้ฟ้อง สปน ต่ออนุญาโตตุลาการ

4 เดือน มกราคม 2546 อนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยให้ ไอทีวีชนะใน ข้อสัญญาห้ามคู่แข่ง ทำให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน มีการคืน และ ลดค่าสัมปทานลง สัดส่วนรายการเปลี่ยนเป็น 50/50 และไม่มีข้อจำกัดในเวลาที่มีจำนวนผู้ชมรายการสูง

5 หลังจากนั้น ไอทีวีได้ดำเนินการตามข้อแก้ไข และ สปน ฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งให้คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เป็นโมฆะ

5/ เดือน พฤษภาคม 2549 ศาลปกครองตัดสินให้ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เป็นโมฆะ โดย อยู่บนพื้นฐานที่ว่า อนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจเหนือคำวินิจฉัย ไอทีวีได้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด

6/ เดือน ธันวาคม 2549 ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินยืนให้ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เป็นโมฆะ

1 บนพื้นฐานที่ว่า ข้อสัญญาห้ามคู่แข่งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ มีผลผูกพัน เพราะไม่ได้นำเข้า คณะรัฐมนตรี (ครม) เพื่อขออนุมัติ ตั้งแต่ เซ็นสัญญาสัมปทานครั้งแรก เมื่อ พศ 2538 ตาม พรบ พศ 2535

2 ไอทีวีไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่ผิดเพราะไม่ทราบเรื่องกฎหมายว่า สปน ต้องนำเรื่องเสนอต่อ ครม เพื่ออนุมัติ (เนื่องจาก พรบ พศ 2535 เป็นกฎหมาย)

3 จากข้อ 2 เป็นเหตุให้ ไอทีวีจะต้องจ่ายค่าสัมปทาน และปฏิบัติตามสัดส่วนรายการที่ระบุในสัญญาฉบับแรก แต่ไม่มีการตัดสินบทปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด

4 แต่ก่อนหน้านั้นได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานของไอทีวีอื่นๆ และ มีการเสนอเรื่องเข้า ครม อย่างถูกต้อง

7/ วันที่ 6 มีนาคม 2550 สปน มีคำสั่งให้ไอทีวีชำระส่วนต่างที่ไอทีวี ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของ อนุญาโตตุลาการ กับสัญญาฉบับแรก

1 ค่าสัมปทานที่ค้างชำระทั้งหมด รวมถึงดอกเบี้ย จำนวน 2 พันล้านบาท

2 ค่าปรับที่ฝ่าฝืนในเรื่องสัดส่วนรายการ 100ล้านบาทต่อวัน (10% ของ 1 พันล้านบาทต่อปี จ่ายเป็นรายวัน) รวม 1 แสนล้านบาท

3 นับจากวันที่ไอทีวีดำเนินการ ตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ ในเดือน มกราคม 2546 (100 ล้าน x 3 ปี หรือ 1000 วัน)

4 มีการวิพากษ์วิจารณ์ กันอย่างมาก ถึงค่าปรับที่แพงลิ่วอย่างไม่มีเหตุผลที่เกิดขึ้นกับไอทีวี

8/ ไอทีวีได้แจ้งต่อ สปน ว่า จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลและยินดีจ่ายค่าสัมปทานจำนวน 2 พันล้านบาท สำหรับค่าปรับไอทีวีได้เสนอดังนี้

1 การดำเนินการในเรื่องสัดส่วนรายการนั้น ได้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะฝ่าฝืน ควรจะถือเป็นการฝ่าฝืนต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ซึ่งหลังจากที่ศาลมีคำสั่งในครั้งแรก ไอทีวีได้กลับมาใช้สัดส่วนรายการตามเดิม

2 ในกรณีฝ่าฝืน และการปรับ ไอทีวีได้มีการคำนวณและพบว่ามีจำนวน น้อยกว่าที่ สปน คำนวณไว้จำนวน 1 แสนล้านบาท จึงขอให้ทาง สปน คำนวณใหม่

3 ไอทีวีได้คำนวณค่าปรับจำนวน 10% ของ 1 พันล้านต่อปีของค่าสัมปทาน เป็นเงิน 100 ล้านบาทต่อปี และจ่ายเป็นรายวัน ไม่ใช่คิดเป็นรายวัน ดังนั้น ค่าปรับจะเป็น 274,000 บาท ต่อวัน จำนวน 1000 วัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 274 ล้านบาท

9/ สปน ยืนยันคำสั่งและวิธีการคำนวณค่าปรับแบบเดิม ที่ให้ไอทีวีจ่ายค่าปรับจำนวน 1 แสนล้านบาท ซึ่งไอทีวีไม่สามารถหาแหล่งเงินสนับสนุน ได้จากสถาบันการเงิน หรือการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นได้ แม้แต่ค่าสัมปทานจำนวน 2 พันล้านบาท

10/ จากการที่ไอทีวีไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทาน จำนวน 2 พันล้านบาท (รวมทั้งค่าปรับด้วย)ได้ ภายในวันที่ 6 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ทาง สปน กำหนด ไอทีวีจึงถูกเพิกถอนใบอนุญาต สินทรัพย์ทั้งหมดถูกโอนให้ สปน เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งไอทีวีจะกลายเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐอีกช่องหนึ่ง ชื่อ ทีไอทีวี

1 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลแจ้งว่าจะจ้างพนักงานไอทีวีต่อ และจะให้มีการออกอากาศต่อไป โดยไม่หยุดชะงัก

2 วันที่ 6 มีนาคม 2550 ครม สั่งระงับการออกอากาศของไอทีวีจนกว่าจะโอนเป็น ทีไอทีวีเสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน

3 วันที่ 7 มีนาคม 2550 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่า สปน สามารถมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เข้าดำเนินการแทนไอทีวีได้

4 ในวันเดียวกัน (7 มีนาคม 2550) ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ไอทีวีสามารถออกอากาศต่อไปได้ เพราะเป็นการบริการสาธารณะ

11/ แม้ว่าธุรกิจไอทีวีจะถูกโอนไปขึ้นอยู่กับ กรมประชาสัมพันธ์ ในชื่อ ทีไอทีวี แต่ไอทีวียังคงเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นได้มีการประชุมกันเพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการฟ้องร้อง สปน ในประเด็นที่สำคัญดังนี้หรือไม่

1 การคำนวณค่าปรับที่ไม่เป็นธรรมและเกินจริง ควรใช้การคำนวณของไอทีวีที่สมเหตุสมผลกว่า และควรคืนใบอนุญาตให้ไอทีวี

2 การที่ สปน ไม่นำข้อสัญญาห้ามคู่แข่ง เข้า ครม เพื่ออนุมัติ (เมื่อมีการเซ็นสัญญาครั้งแรก พศ 2538) ถือเป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายอาญา ดังนั้น สปน จะต้องถูกฟ้องในเรื่องนี้

3 การที่ สปน ไม่นำข้อแก้ไข (ตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เดือน มกราคม 2546) เข้า ครม เพื่ออนุมัติ (ซึ่งมีผลทางกฎหมายต่อการแก้ไขตาม พรบ และเพื่อให้สัญญาที่ระบุว่าหากมีข้อโต้แย้งกันของสองฝ่าย ให้ถือ คำวินิจฉัยของของอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุดมีผลทางกฎหมาย) เป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายอาญา และผิดสัญญาสัมปทาน ดังนั้น สปน จะต้องถูกฟ้อง

4 หากศาลแพ่งพิพากษาว่า สปน มีความผิดจริง ศาลอาจสั่ง สปน ให้คืนใบอนุญาตให้ไอทีวี รวมทั้งสินทรัพย์ อื่นๆด้วย กระบวนการเหล่านี้จะต้องผ่าน 3 ศาล อาจใช้เวลา 2-3 ปี

ปล. เป็นข้อมูลก่อนที่จะถูกยุบ ซึ่งดูจากข้อมูลแล้ว ไอทีวีไม่ได้รับความเป็นธรรมแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับกว่า แสนล้านซึ่งมันมากเกินไปที่จะหามาใช้ได้ และการยุบไอทีวีนั้นเพื่อเปิดเป็นช่องทีวีของรัฐที่เหมือนกันกับช่อง 11 นั้นเพื่อลงทุนเงินภาษีประชาชนกว่าเกือบ 2,000 ล้านบาทนั้น เพื่ออะไร ต้องการอะไร ทำไมถึงต้องทำตอนนี้ 


--------------------
 
    ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (6 มี.ค.) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องยุติการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่พรุ่งนี้(7 มี.ค.) เป็นต้นไป ทั้ง นี้ได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดูแลต่อไป และจะมีการย้ายทรัพย์สินจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่อาคารชินวัตร 3 มาไว้ที่กรมประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินต่อไป

          ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงขออภัยพนักงานไอทีวี ที่ไม่สามารถให้ไอทีวีออกอากาศต่อเนื่องได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบในด้านข้อกฏหมาย รัฐบาลจำเป็นต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง และยืนยันว่ามติ ครม.ครั้งนี้ได้ยึดตามแนวทางของกฏหมายเป็นหลัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปิดไอทีวี 1 เดือน! พนักงานวอนอย่าเอาการเมืองมาเกี่ยว
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจาก
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

          กรณีที่รัฐบาลจะเข้าไปดำเนินกิจการแทนสถานีโทรทัศน์ไอทีวี หากไอทีวีไม่สามารถชำระค่าสัมปทานและค่าปรับการปรับผังรายการรวมดอกเบี้ยได้ เมื่อครบกำหนดใน วันนี้ (6 มี.ค.) โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า อาจจะต้องหยุดแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นการชั่วคราวประมาณ 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค. เพราะติดขัดข้อกฎหมายบางประการ โดยจะนำประเด็นปัญหาทั้งหมดเสนอให้ที่ประชุม ครม.วันที่ 6 มี.ค. พิจารณาหาข้อยุตินั้น
          ล่า สุด นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาคัดค้านแนวคิดการหยุดออกอากาศชั่วคราว เนื่องจากเห็นว่า ถ้าหยุด 1 เดือน จะมีปัญหาเยอะ ทั้งเรื่องคน ผังรายการ และทรัพย์สิน ถ้าไม่ใช้เป็นเวลา 1 เดือน ทรัพย์สินบางอย่างจะเสียหายแน่นอน และหาก ครม.มีมติให้ดำเนินการต่อ เราก็จะทำไม่ทัน ต้องมาเริ่มหาใหม่หมด รวมถึงการรับสมัครคนด้วย ซึ่งยุ่งยาก โดยเฉพาะลูกค้าจะหายหมด รวมทั้งโฆษณา ผังรายการก็ต้องปรับใหม่ 
          ขณะที่พนักงานไอทีวี และผู้ผลิตรายการ ที่นำโดย นายจอม เพชรประดับ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ไอทีวี และนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ ตัวแทนผู้ผลิตรายการ ร่วมกันแถลงข่าวว่า ขณะ นี้ได้มีการพยายามบิดเบือนข่าวสารว่ารัฐบาลพยายามอุ้มพนักงานไอทีวี โดยกระแสการต่อต้านมาจากสื่อเพียงบางรายที่ต้องการหาผลประโยชน์ และคนบางกลุ่มที่พยายามโจมตีไอทีวี เพียงด้านเดียวเพื่อให้ปิดสถานี เพราะต้องการเอาชนะและหวังผลทางการเมือง จึงไม่ต้องการให้ดึงพนักงานเข้าไปเกี่ยวข้อง

          และขอความเห็นใจจากรัฐบาล โปรดพิจารณาดำเนินการให้ไอทีวีออกอากาศอย่างต่อเนื่องต่อไปในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพราะหากจะมีการหยุดออกอากาศก็ให้มีการแจ้งล่วงหน้า เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการลงทุนการผลิตรายการของกลุ่มผู้ผลิตรายการร่วม ทั้งหมด และยังทำให้ผู้สนับสนุนรายการขาดความเชื่อมั่น โดยขอให้นายกรัฐมนตรีคงไว้ซึ่งสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ต่อไป โดยไม่ให้การออกอากาศต้องชะงัก และคงไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน โดยปราศจากการถูกกดดันของกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
          อย่างไรก็ตามระหว่างที่ผู้ผลิตรายการออกแถลงการณ์ ดารา-พิธีกรบางรายถึงกับน้ำตาซึม เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาการระงับออกอากาศชั่วคราวดังกล่าว โดยขอให้ทบทวน เหตุผลหลักตามแถลงการณ์ข้างต้น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk