PEACE TV LIVE

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

คลิป และ ภาพบรรยากาศ งานเสวนา บทสามัคคีวิจารณ์ เพื่อก้าวต่อไปของสังคมไทย อ.สมศักดิ์เจียม อ.สุธาชัย อ.ไชยันต์ วันที่17มีค.56









วันอาทิตย์ ที่17 มีนาคม 2556
ปาฐกถาปาจารยสาร ในหัวข้อ "สังคมสยามตามทัศนะ ของปัญญาชนไทยหมายเลข 10" โดย ส.ศิวรักษ์

สามัคคีวิจารณ์ - อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
และอ.ไชยันต์ ไชยพร ดำเนินรายการโดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

ณ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป สวนเงินมีมา
คลองสาน กทม

ถ่ายทอดสดโดยทีมงานthaivoice และทีมงาน

●♥●▬▬▬▬▬▬๑۩۩๑▬▬▬▬▬●♥●
ขอบคุณ คุณRuMiCBR954 และทีมงานthaivoice

●♥●▬▬▬▬▬▬๑۩۩๑▬▬▬▬▬●♥●

17-03-13ดร.สมศักดิ์เสวนาบทสามัคคีวิจารณ์ MP3
http://www.4shared.com/mp3/gZ0FQdyh/17-03-13_maysa_konthaiuk.html



17 มีนาคม 2556 มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป / ปาจารยสาร / ป๋วยเสวนาคาร / สถาบันสันติประชาธรรม / เสมสิกขาลัย ร่วมจัดงานปาฐกถาปาจารยสาร “สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข ๑๐”เนื่องในโอกาส อายุ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์

สุลักษณ์  ศิวรักษ์ กล่าวปาฐกถา เรื่องสังคมสยามตามทัศนะ ของปัญญาชนไทยหมายเลข 10

สุ ลักษณ์เริ่มต้นปาฐกถาถึงความเป็นอนิจจลักษณะของสังคมไทย โดยระบุว่า สยามในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นสมัยใหม่ที่เริ่มต้นจากรัชกาลที่ 5 ว่าเป็นช่วงเวลาที่ความศิวิไลของสยามลอกแบบฝรั่งมาหยาบๆ โดยยกตัวอย่างวัดราชบพิตร ที่เอาหินอ่อนมาทำพระอุโบสถ นอกจากพระราชวังของพระองค์ วังของพระราชโอรสก็ต้องตระการตาแบบฝรั่งทั้งนั้น แต่อนิจจะลักษณะก็แสดงให้เนวฝ่าบรรดาเจ้าในสมัยนั้น ต้องนิราศร้างไปจากวังนั้นๆ จนวังนั้นๆ ปราศจากเจ้านายไปในช่วงเวลาสั้นๆ และราชวงศ์จักรี ก็สิ้นความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475

ในรัชกาลที่ 4 มีเพียงพระสยามเทวาธิราช แต่ในรัชกาลที่ 5 มีพระสยามินทร์ที่เป็นยอดมนุษย์เหนือมนุษย์อื่น ขณะที่ชาวไร่ชาวนาที่เคยภาคภูมิในตนเองต้องรู้สึกด้อยลงเมื่อมีการศึกษาสมัย ใหม่

สุลักษณ์ กล่าวถึงหลัก 6 ประการ ได้แก่ ประการหนึ่งคือ ความมีเอกราชสมบูรณ์ แต่เมื่อพิจารณาถึงเอกราชด้านความยุติธรรม ของไทย เขาตั้งคำถามว่า เวลานี้คนในขบวนการยุติธรรมมีสำนึกในเอกราชด้านศาลบ้างหรือไม่ โดยระบุว่าโฆษกศาลฎีกา ที่มาให้ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สัมภาษณ์ผ่านรายการตอบโจทย์เมื่อ 16 ม.ค. 2556 โดยอ้างว่าเสรีภาพของศาลมาจากพระบารมีของเจ้านายสามพระองค์แต่ไม่พูดถึง ปรีดี พนมยงค์เลย ทั้งๆ ที่หากปราศจากปรีดี สิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็จะยังดำรงอยู่ไปอีกยาวนาน

เขากล่าวว่า การเรียนกฎหมายในปัจจุบันแทบไม่มุ่งเรื่องความยุติธรรม การแต่งตั้งผู้พิพากษามาจากการสอบแข่งขันไม่มีประสบการณ์ว่าความ "พอนั่งบัลลังก์ก็อ้าขาผวาปีก ไม่สัมผัสคนทุกข์ยาก ทั้งที่ในเรือนจำเต็มไปด้วยความฉ้อฉลนานัปการ ศาลไม่ตระหนัก และถ้าทำให้ศาลมีความยุติธรรมไม่ได้ สังคมนั้นก็สิ้นหวัง "

เมื่อ กล่าวถึงหลักสิทธิเสมอภาค เขาระบุว่า สิทธิเสรีภาพนั้นเป็นประการที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ถูกระบบศักดินาขัตติยาธิปไตยทำลายลง โดยระบบการศึกษาและสื่อมวลชนก็ได้ช่วยกันทำลายลงไปด้วย

สุลักษณ์ กล่าวต่อว่า เสรีภาพจะมีได้ก็ต้องกล้าท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ และศักดินาทุกรูปแบบ ต้องเน้นการอภิปราย การวิพากษ์วิจารณ์การรับฟังจากอีกฝ่าย แม้จะไม่เห็นด้วยก็ต้องเคารพทัศนคติ นักการศึกษาผู้มีเกียรติล้วนหลอกตัวเองว่าตัวเองมีเสรีภาพ ทั้งที่ตัวเองยอมไกล่เกลี่ยกับความกึ่งจริงกึ่งเท็จ เช่น มีใครกล้าเอ่ยถึงไหมว่าการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ถ้าอยากรู้ไปดูเฟซบุ๊กของนักข่าวฝรั่งที่ลี้ภัย แม้แต่เจ้าชายสี่องค์ที่เป็นพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน ก็ไม่มีใครรู้ กรณีของเจริญ วัดอักษร ก็ไม่มีคนสนใจ ลืมความยุติธรรมทางสังคมไปเสียสนิท นี่หรือการมีเสรีภาพในการแสดงออก พูดไปทำไมมี ตั้งแต่นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ต้องลี้ภัยไปเสรีภาพก็สิ้นไปแต่นั้น ตอนนี้เรามีแต่เสรีภาพปลอม

หลัก ประการที่หก การศึกษาในเวลานี้คือการมอมเมาคนดีๆ นั่นเอง  สอนให้ไต่เต้าแสวงหา ทุกมหาวิทยาลัยล้มเหลวในการผลิตมนุษย์ที่เอื้ออาทรต่อคนอื่น

การ แก้ไขสังคมสยามหรือสังคมโลก ต้องเริ่มที่การศึกษาเป็นประการแรก ต้องรู้จักตัวเองก่อนเพราะการเรียนตะวันตกเรารู้จักแต่ภายนอก ไม่รู้จักใช้หัวใจ

เขากล่าวว่า การเรียนรู้จากผู้ยากไร้เป็นสิ่งที่สำคัญ หากเป็นชนชั้นกลาง ต้องเรียนรู้จากคนชั้นล่าง เรียนรู้กันอย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อคงสถานะความเป็นมนุษย์ เขากล่าวถึงสังคมจีนว่าคนรุ่นใหม่แสวงหาสัจจะมากขึ้น กล้าท้าทายอำนาจรัฐที่ฉ้อฉลมากขึ้น

สุลักษณ์ วิพากษ์วิจารณ์ถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่นายทุน และฝรั่งต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลเหนือกว่าคนยากคนจน “สำนักงานทรัพย์สินเป็นเจ้าของที่ดินประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ในกรุงเทพฯ ไล่คนจนคนทำกินออกไป ให้ต่างชาติและนายทุนมาใช้แสวงหาประโยชน์ อย่างนี้เป็นทิศทางถูกต้องหรือ” เขากล่าวต่อไปว่า ถ้าเราเรียนรู้จากขบวนการประชาชนของอินเดีย เราต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลพลัดถิ่นนั้นสำคัญนัก อย่างนายปรีดี พนมยงค์ก็พยายามตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น รัฐบาลพลัดถิ่นของชาร์ล เดอโกลด์ ก็พยายามตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นและกอบกู้ประเทศฝรั่งเศสได้ ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจกระแสหลักกำลังจะอัปปาง เช่นเดียวกับการเมืองการปกครองกระแสหลัก

เขากล่าวถึงการกลับไปหา หลักหกประการของคณะราษฎร แล้วแปลความหมายให้สอดคล้องกับปัจจุบัน พร้อมเสนอให้เปิดโอกาสให้กับสามัคคีวิจารณ์เพื่อการหาทางออกให้กับสังคม ปัจจุบัน

**************************************************

ใน เวที เสวนาสามัคคีวิจารณ์ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มีวิทยากรเข้าร่วมสามคนได้แก่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คณะศิลปศาสตร์ มธ. ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬา และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากคณะ อักษรศาสตร์ จุฬา เป็นวิทยากรร่วมอภิปราย

เนื้อหาในส่วนของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ติดตามอ่านได้ที่ สมศักดิ์อัดสุลักษณ์ วิพากษ์สถาบันจากจุดยืนศีลธรรม



ไช ยันต์ ไชยพร ระบุว่าสิ่งที่ต้องระวังสำหรับปัญญาชนคือ การเป็นปัญญาชนมีลักษณะแปลกแยกกับมวลชนและมีความเป็นซึ่งเขาเห็นว่าทั้ง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นั้นเป็นคนที่มีอุดมคติสูงทั้งคู่ และเป็นปัญญาชนที่ชอบอวดอ้างมวลชน การไม่มีสองมาตรฐานเลยเป็นอุดมคติ เพราะสองมาตรฐานเป็นเรื่องที่อยูกับเราตลอดเวลา ปัญญาชนสาธารณะจะออกมาด่าห้าง ศูนย์การค้า วิถีชีวิตชนชั้นกลาง แต่กลับไปอ้างมวลชนตลอดเวลา และอ้างว่าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

แต่ ถ้าถามว่าจุดที่ดีของประชาธิปไตยคืออะไร แม้แต่ในอเมริกาหรือยุโรปต่างก็เรียกร้องเสรีภาพมากขึ้นเรื่อยๆ มันมีจุดพอดีหรือเปล่า บางคนบอกว่า เสรีภาพต้องเต็มที่ เขากล่าวว่า ดีใจที่อาจารย์สมศักดิ์พูดถึงเขาว่าเป็น ดร. แล้วบอกว่า โง่ เพราะถ้าเป็นคนฉลาดแล้วต้องรับผิดชอบเยอะ


สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กล่าวว่า สุลักษณ์ เป็นปัญญาชนที่ผลิตหนังสือออกมาเป็นจำนวนมากกว่า 200 เล่ม แต่ก็มีลักษณะสองด้านในตัวเอง คือเป็นคนหนึ่งเสนอวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์มากที่สุดแต่ก็อ้างตัวเอง ว่าเป็นรอยัลลิสม์

สุลักษณ์ต้านเผด็จการ แต่ก็มีลักษณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ด้านหนึ่งวิจารณ์เจ้าแต่ก็เป็นอนุรักษ์นิยม และชื่นชมเจ้าในบางลักษณะ เป็นปัญญาชนผ้าม่วงซึ่งก็มีพื้นฐานจากการบวชเรียน จากนั้นสุลักษณ์ต่อต้านจีน ต่อต้านคอมมิวมิสต์ แต่ขณะเดียวก็ต่อต้านทหาร

เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างมาก อาจารย์สุลักษณ์เปลี่ยนจุดยืนกรณีของนายปรีดี พนมยงค์

จาก นั้นสุลักษณ์มีจุดยืนในการต่อต้านทุน ต่อต้านโลกาภิวัตน์ แต่ก็ยังคงวิพากษ์ศักดินา สนับสนุนการต่อสู้ของสมัชชาคนจน ต่อต้านท่อก๊าซไทย-พม่า และเป็นคนรู้ไส้ศักดินาอย่างถึงกึ๋น หลายเรื่องน่าตื่นเต้นอัศจรรย์ พูดถึงร. 5 ได้น่าสนใจมากและมีหนังสือแนะนำให้อ่านคือ “ลอกคราบเสด็จพ่อ ร. 5” ซึ่งแม้จะมีจุดยยืนอยู่ที่การวิจารณ์ด้านศีลธรรมแต่น่าสนใจ

นอกจาก นี้ สุลักษณ์ยังมีบทบาทมากในการหาเงินสนับสนุนจากต่างประเทศมาสนับสนุนงาน เคลื่อนไหวของเอ็นจีโอ อย่างไรก็ตามในที่สุดปี 2549 อ.สุลักษณ์ก็อยูในกระแสเดียวกับเอ็นจีโอ ต่อต้านทักษิณเพราะเป็นการตัวการทำลายสังคมไทย ทำลายชนบท เป็นทุนโลกาภิวัตน์ แต่จริงๆ การต่อต้านทักษิณนั้นไม่ผิด เพราะนักการเมืองต่างๆ นั้นต่อต้านได้ วิพากษ์ได้ แต่การต่อต้านนั้นมีขอบเขตแค่ไหน ซึ่งเขาเห็นว่าควรอยู่ในขอบเขตที่ไม่รื้อระบบ ไม่ดึงทหารเข้ามาจัดการ เอารถถังมาล้มและฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่สุดเอ็นจีโอทั้งหลายก็เชียร์การรัฐประหารและอธิบายว่าแม้รัฐประหารจะ ไม่ดีที่สุดแต่เป็นความจำเป็น แม้วิธีการชั่วร้ายสักหน่อยแต่กจำเป็น ที่สุดที่ตามมาคือการสร้างผีทักษิณ การโจมตีทักษิณกล่าวร้ายทักษิณ กลายเป็นเรื่องทำได้ รวมถึงเรื่องทักษิณล้มเจ้า ซึ่งเขาเห็นว่าแม้ทักษิณจะมีความชั่วร้ายมากมากมหาศาล แต่เรื่องล้มเจ้านั้นเขาคิดว่าไม่มี เป็นการให้เครดิตทักษิณมากเกินไปดังที่สมศักดิ์กล่าว และไม่มีข้อมูลอะไรสนับสนุนเลย เหลวไหล ทั้งเรื่องต้องการเป็นประธานาธิบดี ทุจริตเชิงนโยบาย การขายหุ้นไม่เสียภาษี

เขากล่าวว่าทักษิณกลายเป็น มายาคติอันใหญ่ที่ถูกสร้างให้โตเกินจริง ทำให้การฉีกรัฐธรรมนูญชอบธรรม การรัฐประหารชอบธรรม คำตัดสินบ้าบอคอแตกกลายเป็นความชอบธรรมไปหมด ที่พูดนี้เกี่ยวข้องกับสุลักษณ์อย่างยิ่งเพราะนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่สุ ลักษณ์และเครือข่ายไม่มองไม่ทะลุ มองทักษิณใหญ่เกินจริงและที่สุดก็กลายเป็นการให้เครดิตทักษิณมาก และการกล่าวว่าทักษิณล้มเจ้าเป็นการให้ข้อมูลเท็จในประเด็นนี้อ.สุลักษณ์ไม่ ต่างกับเจิมศักดิ์ ปิ่นทองหรือเอเอสทีวี

สุธาชัยกล่าวว่าหากไม่เห็น ด้วยกับทักษิณในเชิงนโยบายอะไรก็ตามเป็นเรื่องทำได้ แต่การใส่ร้ายป้ายสี วาดภาพใหญ่โตเกินจริงนั้นเป็นเรื่องไม่ถูก

เขาทิ้งท้ายว่าก่อนหน้า นี้สุลักษณ์เคยเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับปรีดี พนมยงค์ วันนี้สุลักษณ์อายุแปดสิบปี เขาอยากเห็นการเปลี่ยนความคิดอีกสักครั้ง พิจารณารัฐบาลทักษิณอย่างเป็นวิทยบาศาสตร์ บนหลักฐาข้อมูลที่เป็นจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk