PEACE TV LIVE

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

คลิป คอป.แถลงรายงานฉบับสมบูรณ์





วันนี้ (17 ก.ย.) ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน รัชดา  นายคณิต  ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอ ป.) พร้อมกรรมการคอป. แถลงข่าวสรุปผลรายงานคอป.ฉบับสมบูรณ์หลังครบวาระการทำงาน 2 ปี  โดยเนื้อหาในรายงานฉบับสมบูรณ์มีจำนวนเกือบ 300 หน้า พร้อมภาคผนวกเกี่ยวข้องกับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ผ่านมาของคอป.   โดยนายคณิต  กล่าวว่า  การดำเนินงานของคอป.ได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา  ทางคณะกรรมการจึงได้มีการสรุปผลการดำเนินงานทั้งหมด โดยในรายงานมีเรื่องสำคัญคือข้อเสนอแนะหลายอย่าง ในการสร้างความปรองดองที่ นอกจากนี้คอป.ยังทำข้อแนวทางการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคอป. ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาวอีกด้วย  สิ่งที่ทางคอป.ทำทั้งหมดนั้นได้ทุ่มเทเพื่อให้เกิดความจริงมากที่สุด โดยคณะกรรมการคอป.ได้ตระหนักถึงเรื่องการใช้เงินภาษีประชาชนอย่างคุ้มค่าที่ สุด และอยากให้สื่อเผยแพร่สรุปผลงานของคอป.ต่อสาธารณะชนมากที่สุด  อย่างไรก็ตามการตรวจสอบของ คอป.  คงจะยังไม่สิ้นสุดเพียงแค่นี้   โดยจะตรวจสอบสิ่งที่เกี่ยวข้องต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงต่างๆเพื่อไม่ ให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอีกในอนาคต
นอกจากนี้เราได้ลงมติจะทำหนังสือเผยแพร่หลักการดำเนินการของคอป. เป็นพ็อคเก็ตบุ๊คฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  และจะแปลเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์เป็นภาษาอังกฤษ จัดทำชุดผลงานเป็นบุ๊คเซ็ตเพื่อเผยแพร่ผลงานต่างๆ ทั้งรายงานฉบับสมบูรณ์และรายงานวิจัยต่างๆ ทำดิวิทัศน์เสนอผลงานแบบเป็นตอนๆต่อสาธารณะชน  ทำโครงการเกี่ยวกับการจัดการระบบฐานข้อมูล  เพื่อเก็บไว้ศึกษาเป็นประวัติศาสตร์  สุดท้ายนี้ตนเห็นว่าสังคมเราต้องอยู่ด้วยความหวัง  สิ่งที่คอป.คาดหวังคือสิ่งที่ทุกคนในสังคมต้องการก็คือความเป็นจริง  เพื่อที่จะเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยไปในทิศทางให้ดี
ด้านนายสมชาย  หอมลออ  กรรมการคอป. กล่าวว่า ขณะนี้สังคมมีความจริงกันคนละชุด ดังนั้น หวังว่ารายงานคอป.จะทำให้เกิดข้อเท็จจริงที่เข้าใจตรงกันมากขึ้น โดยรายงานดังกล่าวนอกจากนำเสนอต่อรัฐบาลแล้วจะเปิดเผยต่อสาธารณด้วย อย่างไรก็ตาม การค้นหาข้อเท็จจริงของคอป.ไม่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนที่มุ่งหาตัวผู้ กระทำความผิด แต่ต้องการสืบหาข้อเท็จจริงเหตุการณ์รุนแรงกว่า 10 กรณีที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเม.ย.-พ.คง 2553 เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ที่สถานีไทยคม เหตุการณ์ 10 เม.ย.53  เหตุการณ์ 6 ศพ วัดปทุมวนาราม ไปจนถึงการเผาห้างเซ็นทรัล เวิร์ล และสถานที่ราชการในต่างจังหวัด  โดยพบว่าคอป.มีอุปสรรคในการทำงานหลายด้านเนื่องจากไม่มีอำนาจในการออกหมาย เรียกบุคคลเข้าให้ข้อมูล และไม่มีอำนาจในการขอเอกสารต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือเป็นหลักที่สำคัญ ในการรวบรวมข้อมูลยังพบว่าผู้ต้องหาระมัดระวังตัวในการให้ข้อมูลเพราะเกรง ว่าจะไปกระทบกับคดีที่ถูกดำเนินการอยู่  อย่างไรก็ตาม รายงานของคอป.อาจไม่ใช่ความจริงที่สุด หรือเป็นความจริงสุดท้าย แต่ขอให้ถือเป็นข้อเท็จจริงที่มาจากการรวบรวมข้อมูล ณ ปัจจุบัน 
สำหรับปมปัญหาความขัดแย้งคอป.พบว่าสืบเนื่องมาตั้งแต่การใช้อำนาจสมัยรัฐ บาลพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ที่ให้อำนาจรัฐบาลไว้มากเกินไป  ปมซุกหุ้น  การรัฐประหารปี 2549  นอกจากนี้ยังพบความรุนแรงในปี 2553 มีเหตุมาจากความไม่ไว้วางใจต่อกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เช่น เหตุการณ์ที่พัทยา  และเมษาเลือด ทั้งนี้รายงานดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตรวจสอบ เพราะข้อเท็จจริงฉบับเต็มยังมีอีกจำนวนมากที่จะนำเสนอต่อไป  ในส่วนการสรุปผลกระทบที่เกิดจากความรุนแรงในช่วงเดือนเม.ย. – พ.ค.2553 พบมีผู้เสียชีวิต 92 คน แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร 8 คน ตำรวจ 2 คน ที่เหลือเป็นผู้ชุมนุม  ทั้งนี้ไม่รวมคดีการเสียชีวิต 3 ศพ ที่สมานเมตตาแมนชั่น  โดยทั้ง 92 คน มีหลักฐานว่าเสียชีวิตเพราะชายชุดดำ 9 คน แยกเป็นทหาร 6 คน  ตำรวจ 2 คน และประชาชนกลุ่มรักษ์สีลม 1 คน 
จุดเริ่มต้นเหตุการณ์เริ่มส่อเค้ารุนแรงตั้งแต่วันที่  9 เม.ย. 2553 ที่สถานีดาวเทียมไทยคมซึ่งรัฐพยายามจะระงับการออกอากาศ  โดยครั้งนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำอาวุธสงครามไปด้วยแต่เก็บอาวุธและกระสุนแยกกัน ไว้ในรถเสบียง  แต่ผู้ชุมนุมได้ยึดมาและแถลงต่อสื่อ ทำให้กลายเป็นประเด็นว่าเจ้าหน้าที่ทหารเตรียมอาวุธปราบผู้ชุมนุม  กลายเป็นชนวนรุนแรงต่อมา 
ส่วนเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความสูญเสียมากสุดคือที่บริเวณแยกคอกวัว และถนนดินสอ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. มีผู้เสียชีวิต 26 คน เป็นพลเรือน 21 คน รวมสื่อต่างประเทศ  1 คน ทหาร 5 คน บาดเจ็บรวมกว่า 864 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารกว่า 300 คน  และที่สำคัญคอป.ยังพบหลักฐานคนชุดดำ คือบุคคลที่ไม่ทราบฝ่ายแน่ชัด ไม่ประกาศตัวชัด อาจไม่ต้องแต่งชุดดำ แต่ใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทั้งก่อนและหลังวันที่ 10 เม.ย.  โดยตรวจสอบกับกองพิสูจน์หลักฐานของตำรวจพบการใช้ เอ็ม 79  และปืนเล็กยาวยิงใส่เจ้าหน้าที่ด้วย  ซึ่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแถบถนนตะนาวและข้าวสาร  ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต  1 ราย ส่วนที่ถนนดินสอ  โรงเรียนสตรีวิทยา และอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยถูกคนชุดดำโจมตี  ทำให้หลังจากนั้นพบว่ามีร่องรอยกระสุนที่มีวิถียิงจากจุดที่มีเจ้าหน้าที่ ประจำการอยู่ เช่น จากทิศทางวงเวียนวัดบวรฯ มาแยกคอกวัว  จากสะพานวันชาติมาวงเวียนอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งพบมีร่องรองจำนวนมาก  และพบกระสุนที่ยิงสวนกลับไปแต่ไม่มากเท่าไหร่ 
ส่วนที่ถนนดินสอพบร่องรอยระเบิกเอ็ม 67 แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายบอกมี เอ็ม 79 ด้วย  แต่ไม่พบร่องรอยกระสุนที่ยิงสวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปสะพานวันชาติ  โดยอาวุธเอ็ม 67 คาดว่าน่าจะขว้างมาจากบ้านไม้โบราณที่มาจากทางเข้าโรงเรียนสตรีวิทยา  ซึ่งทั้ง 2 ลูกทำให้เจ้าหน้าที่นาย 4 ราย รวมพล.อ.ร่มเกล้า  ธุวธรรม เสียชีวิตด้วย ส่วนที่มีการรายงานว่าพล.อ.ร่มเกล้า  เสียชีวิตเพราะกระสุนปืน  จากการตรวจสอบไม่พบถูกยิงด้วยกระสุนปืน แต่เสียชีวิตเพราะระเบิดเอ็ม 67  และไม่พบว่าถูกโจมตีจากเจ้าหน้าที่ทหารด้วยกันแต่น่าเชื่อว่าเป็นฝีมือของคน ชุดดำ  
สำหรับปฏิบัติการณ์ของคนชุดดำมีหลักฐานพบว่าได้รับการสนับสนุนจากการ์ด นปช.  6 คน และพบชายชุดดำบางคนเป็นคนใกล้ชิดพล.ต.ขัตติยะ  สวัสดิผล หรือเสธ.แดง และพบว่า เสธ.แดง ไดปรากฏตัวบริเวณดังกล่าวในช่วงบ่าย  ทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์รุนแรง
ส่วนภาพที่เห็นเหมือนมีซุ่มคนอยู่บริเวณกองสลากฯ จากกตรวจสอบกับตำรวจด้วยการจำลองเหตุการณ์พบว่าเป็นเงาต้นปาล์มไม่ใช่พลซุ่ม ยิง และพบว่าทั้งคนชุดดำและเจ้าหน้าที่ทหารต่างเข้าใจเป็นพลซุ่มยิงจึงต่างคน ต่างยิงไปยังจุดดังกล่าว โดยพบหลักฐานกระสุนอาก้ายิงไปจุดนั้น  อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ 10 เม.ย. คนพุ่งความสนใจไปที่แยกคอกวัวทั้งที่เหตุรุนแรงเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนบ่าย  ใกล้สะพานมัฆวานมีผู้เสียชีวิต 1 คน ด้วยกระสุนความเร็วสูง และหลังเหตุการณ์บริเวณราชดำเนินสงบลงก็มีคนถูกยิงเสียชีวิตในเขาดิน ด้วยกระสุนความเร็วสูงเช่นกัน โดยบริเวณดังกล่าวพบมีเจ้าหน้าที่พักอยู่ในเขาดินแต่ไม่รู้ทำไมถึงมีการยิง เกิดขึ้น 
นายสมชาย กล่าวต่อว่า  เหตุการณ์ที่มีการเคลื่อนกำลังทหารบนสะพานพระปิ่นเกล้ามาสมทบกับฝั่งพระนคร พบว่านายยศวริศ  ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ไปขัดขวางการเคลื่อนกำลังและยึดอาวุธทหารไป และมีเสธ.แดงปรากฏตัวบริเวณใกล้เคียง   และในวันที่ 10 เม.ย. มีอย่างน้อย 2 พื้นที่ที่ทหารถูกการ์ดนปช.ยึดอาวุธไป คือ สะพานพระปิ่นเกล้าถูกยึดปืนลูกซอง 35 กระบอก  ปืนทราโว้ 12 กระบอก กระสุนจริง 700 นัด และที่โรงเรียนสตรีวิทยาถูกยึดปืนเล็กยาว 9 กระบอก และอื่น ๆ  โดยอาวุธเหล่านี้เบื้องต้นทราบว่าได้กลับคืนมาแค่ปืนเอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก ปืนทราโว่ 2 กระบอก เท่านั้น
สำหรับเหตุการณ์รุนแรงบริเวณแยกสีลมมีการปฏิบัติการหลายครั้งและพลเรือน เสียชีวิตจำนวนมาก  โดยพบมีการยิงมาจากพื้นที่ควบคุมของผู้ชุมนุม ที่สำคัญคือการเสียชีวิตตายของเสธ.แดง ในวันที่ 13 พ.ค. จากหลักฐานพบว่ามีการยิงจากอาคารสูงโดยรอบด้านขวา  เช่น โรงแรมดุสิตธานี สีลมพลาซ่า และบางอาคารในโรงพยาบาลจุฬาฯ  ซึ่งในช่วงนั้นศอฉ.ได้อนุญาตและจัดให้มีพลแม่นปืนและซุ่มยิงประจำอาคารต่าง ๆ แล้ว ดังนั้น มีข้อสังเกตว่านี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการปิดล้อมที่จะมีในวันรุ่ง ขึ้น  และทันทีที่เสธ.แดง ถูกยิงมีนักข่าวต่างประเทศคนชุดดำวิ่งไปในเต๊นท์และหยิบปืนเล็กยาวออกมายิง ไปทางโรงพยาบาลจุฬาฯและโรงแรมดุสิตธานี เพราะเข้าใจว่าถูกยิงจากที่นั่น
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์รุนแรงพัฒนาในขั้นการปิดล้อมตั้งแต่วันที่ 13-18 พ.ค. โดยเกิดรุนแรงหลายพื้นที่ ช่วงนี้มีมีผู้เสียชีวิต 42 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุม  นอกนั้นเป็นชาวบ้าน อาสาสมัครพยาบาล  พบมีการปฏิบัติการคนชุดดำในบริเวณที่มีเหตุรุนแรง  เช่น กระสุนที่ยิงบริเวณสีลม ศาลาแดง   โดยมีข้อน่าสังเกตคือมีกระสุนปืนลูกกล หรือแม็กนั่ม ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตหลายราย ซึ่งกระสุนนี้เจ้าหน้าที่ไม่มีในการปฏิบัติการณ์ครั้งนี้ 
นายสมชาย กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ในวันที่ 19 พ.ค. ซึ่งต้องการให้ผู้ชุมนุมกลับบ้านโดยวิธีการของเจ้าหน้าที่คือการเข้ากระชับ พื้นที่บริเวณสวนลุมพินี  โดยหวังว่าการกดดันจะทำให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายและไปขึ้นรถที่เตรียมไว้ที่สนาม กีฬาแห่งชาติ  แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่เคลื่อนไปมีความรุนแรงเกิดขึ้นและมีเสียชีวิต เช่นทางราชดำริขึ้นไปแยกสาระสิน เสียชีวิต 6 คน ทหาร 1  คน นักข่าวต่างประเทศ 1 คน  ที่เหลือเป็นผู้ชุมนุม  โดยครั้งนั้นทหารเสียชีวิตเพราะเอ็ม 79  
สำหรับเหตุการณ์ที่วัดปทุมฯ ก่อนจะเกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 6 ศพ หลายคนอาจไม่ทราบว่ามีเหตุการณ์ที่ทหารที่ประจำการบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสจะ เล็งปืนและยิงไปที่วัดนั้น  ได้มีการปะทะระหว่างทหารกับชายชุดดำที่พยายามเข้าไปอำนวยความสะดวกในการดับ เพลิงที่โรงหนังสยาม จนชายชุดดำหนีมาแยกเฉลิมเผ่า จนพบมีการยิงโต้กันกับชายชุดดำที่อยู่ใต้สกายวอร์กกับเจ้าหน้าที่บนรถไฟฟ้า สยาม และมีพยานว่าชายชุดดำวิงเลียบกำแพงวัดปทุมฯไป
ส่วนที่มีการตั้งคำถามในวัดปทุมฯมีการซ่องสุมชายชุดดำหรือไม่  มีการยิงจากในวัดมาที่บีทีเอสหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า  พบว่ามีรอยแตกบนอาคารที่สถานีสยามแต่ไม่ทราบเป็นรอยกระสุนหรือไม่ เพราะอยู่ที่สูง พฐ.จึงไม่ได้พิสูจน์ แต่หากเป็นรอยกระสุนจริงแสดงว่ามีการยิงจากในวัดและหน้าวัดจริง  ก่อนหน้านี้มีคนพบการ์ดนปช.อยู่ใน-หน้าวัด  และเคยมีการพบอาวุธเอ็ม 16 ในวัด ซึ่งพบว่าเป็นกระบอกที่ผู้ชุมนุมยึดไปจากทหารเมื่อ 14 พ.ค.
สำหรับเหตุไฟไหม้พบไฟเริ่มต้นจากห้างเซนก่อนลุกลามไปห้างเซ็นทรัลเวิล์ด ไม่ได้ไหม้จากห้างเซ็นทรัลเวิล์ด  ซึ่งไม่ปรากฏว่าช่วงนั้นมีทหารไปอยู่ในที่เกิดเหตุ  และมีเพียงกลุ่มผู้ชุมนุมเท่านั้น
นายสมชาย กล่าวว่า  มีการแต่งกายของชายชุดดำจริง ใช้อาวุธโจมตีเจ้าหน้าที่อยู่ สิ่งนี้ต้องยอมรับ ประกอบกับการก่อวินาศกรรมทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุมหลายสิบจุด  ขณะนี้ยังจับตัวคนร้ายไม่ได้ ยกเว้นคนยิงกระทรวงกลาโหม ปัญหาคือชายชุดดำที่มีอาวุธเหล่านี้มีความเกี่ยวพันกับใคร  เพราะพบว่าหลายคนในชุดดำมีความใกล้ชิดกับเสธ.แดง และปฏิบัติการณ์ของชุดดำได้รับความร่วมมือจากการ์ดนปช. แต่จะใกล้ชิดผู้นำและแกนนำนปช.หรือไม่  คอป.ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่หลายเหตุการณ์ปฏิบัติการณ์มาจากพื้นที่ควบคุมนปช. เช่น พระบรมรูป ร. 6 และสวนลุมพินี และประตูน้ำ ส่วนเรื่องจำนวนชายชุดดำ  และเป็นบุคคลใด สรุปได้ยาก 
นายสมชาย กล่าวต่อว่า  เรื่องการชุมนุมเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย แต่พบผู้จัดชุมนุมไม่จัดให้การชุมนุมตามสิทธิกฎหมายคือต้องประสานเจ้า หน้าที่เพื่อให้ปราศจากอาวุธ สงบ และไม่ใช้สิทธิอันสมบูรณ์  เจ้าหน้าที่สามารถจัดการได้พอสมควรแก่เหตุ  แต่กลับพบผู้ชุมนุมบางคนมีลักษณะใช้ความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่  การปราศรัยบนเวทีมีลักษณะส่งเสริมความรุนแรง  คอป.คิดว่าแกนนำนปช. ยังไม่ใช้ความพยายามอย่างเพียงพอในการป้องกันเหตุรุนแรง เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อบังคับใช้กฎหมายได้ ซ้ำต้องปลดอาวุธก่อนเข้า ในส่วนตำรวจ  แต่ทหารเข้าไม่ได้เลย แถมนปช.สนับสนุนการกระทำชุดดำด้วย  อย่างไรก็ตาม  เป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่รัฐจะใช้ทหารมาควบคุมฝูงชน  หรือใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้ตอกย้ำความกลัวของผู้ชุมนุม
นายสมชาย กล่าวว่า ในส่วนของศอฉ.ก็พบความบกพร่อง โดยเฉพาะที่ไม่มีระบบการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่ออกไปปฏิบัติการนอกจากได้รับ รายงาน  ไม่มีการประเมินผลว่าคำสั่งปฏิบัติการจะมีผลอย่างไรกับผู้ชุมนุม  ผู้บริหารบางคนยังเข้าใจใช้กระสุนจริง กระสุนซ้อม ทั้งที่จริงมีการใช้กระสุนจริงด้วย  การใช้อาวุธที่จะละเมิดต่อชีวิตจำเป็นต้องใช้ระวังเป็นพิเศษเช่นการยิงผู้ ที่ไม่มีอาวุธอาจทำให้บาดเจ็บ ล้มตายได้  เคยมีคำพิพากษาเหตุรุนแรงเมื่อปี 2552 ว่าการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่แม้จะถูกยั่วยุโจมตีแต่ถ้าได้ใช้อาวุธกับคนไม่ มีอาวุธในมือกองทัพต้องรับผิดชอบ  มีการวางพลแม่นปืน  แต่ไม่พบชายชุดดำยิงลงมาจากที่สูง ยกเว้นแค่กรณีโรงเรียนสตรีวิทยา   สำหรับกระสุนที่ถูกเบิกไปใช้ในปฏิบัติการณ์ครั้งนี้มากที่สุดคือ กระสุนปืนลูกซอง(เบอร์ 12) คิดเป็นร้อยละ 53 รองลงมาคือกระสุนปืนเล็กยาว และกระสุนขนาด.308 เป็นต้น
สำหรับเนื้อหาในรายงานฉบับสมบูรณ์แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1.ข้อมูลเกี่ยวข้องการตั้งคณะกรรมการคอป.  ส่วนที่ 2 สรุปเหตุการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้น 3. สาเหตุและรากเหง้า 4.เหยื่อ และการเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อ และ 5. ข้อเสนอแนะและแนวทางปฏิบัติตามข้อเสนอของคอป.  โดยในส่วนข้อเสนอแนะคอป.ได้จัดทำข้อเสนอแนะแบ่งออกเป็นหลายฝ่ายทั้งข้อเสนอ แนะต่อรัฐ  องค์กรสื่อ กองทัพและทหาร  การชุมนุมและสิทธิผู้ชุมนุม  บทบาทและการคุ้มครองของหน่วยแพทย์ พยาบาล  หน่วยบรรเทาสาธารณภัย  และการนำหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน  โดยข้อเสนอที่น่าสนใจคือกรณีกองทัพซึ่งคอป.เรียกร้องให้กองทัพและผู้นำกอง ทัพวางตัวเป็นกลาง งดเว้นการก่อรัฐประหาร  ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง  นอกจากนี้เห็นว่าการใช้กำลังทหารแก้ไขปัญหาความขัดแย้งมักนำไปสู่ความขัด แย้ง คอป.จึงเห็นว่ารัฐต้องไม่ใช้กำลังทหารในการเข้าไปแก้ไขความขัดแย้งของบ้าน เมืองและการชุมนุมของประชาชนโดยเด็ดขาด เพราะลักษณะของกองทัพไม่เหมาะที่จะควบคุมฝูงชน
ส่วนข้อเสนอต่อรัฐ คอป.เน้นว่าควรให้มีมาตรการสนับสนุนการทำงานของสื่ออย่างอิสระ  ส่วนข้อเสนอต่อสื่อคอป.เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดใช้สื่อเพื่อปลุกระดมมวลชน ให้เกิดความเกลียดชัด  ความรุนแรง  เคร่งครัดในจรรยาบรรณ  ขณะที่ข้อเสนอต่อการชุมนุม ตอนหนึ่งเห็นว่าในกรณีที่พบว่ามีบุคคลติดอาวุธแอบแฝงอยู่กับผู้ชุมนุมเพื่อ ใช้ความรุนแรง รัฐอาจจัดให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยพิเศษที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นการเฉพาะเพื่อ ให้ปฏิบัติการกับเป้าหมายได้อย่างแม่นยำเพียงเท่าที่จำเป็น  แต่หากประเมินแล้วว่าปฏิบัติการอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องหยุดปฏิบัติการทันที 
สำหรับข้อเสนอแนวทางดำเนินการในระยะเปลี่ยนผ่านคอป. เห็นควรให้มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทุกคนทุกฝ่ายโดยไม่เลือก ปฏิบัติ  ต้องเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อที่รับผลกระทบไม่เฉพาะเรื่องเงินแต่รวบถึงสภาพ จิตใจ เกียรติยศ และเยียวยาไปถึงกลุ่มผู้ที่ถูกตั้งข้อหารุนแรงเกินสมควรและไม่ได้รับการ ปล่อยตัวชั่วคราว  ตลอดจนการสร้างสัญลักษณ์แห่งความทรงจำให้แก่สาธารณชนเพื่อเตือนใจ  การแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอโทษ และการนิรโทษกรรม ซึ่งต้องอาศัยจังหวะเวลาที่เหมาะสม โดยจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตเงื่อนไขความผิดให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง โดยพิจารณาแยกแยะการทำผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่การนิรโทษกรรมตัวเอง  หรือนิรโทษกรรมแบบครอบคลุมเป็นการทั่วไป โดยปราศจากเงื่อนไข หรือลบล้างความผิด http://www.dailynews.co.th/crime/155734

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk