PEACE TV LIVE

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างอนาคตประเทศ Thailand 2020






"Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก" คนไทยจะได้หรือเสีย?




การจัดงาน "Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก" ของรัฐบาล เมื่อวันที่ 8-16 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี  มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงเหตุผลความจำเป็น รวมทั้งผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ ฐาน ในทศวรรษหน้า ด้วยวงเงินงบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ที่หลายฝ่ายวิตกกังวลว่าจะเป็นการเพิ่มภาระหนี้สาธารณะให้ประเทศเพิ่มขึ้น หรือไม่ คนไทยจะได้อะไร ใครจะเสียผลประโยชน์ ซึ่งงานนี้มีคำตอบ...

นับว่าเป็นการริเริ่มที่ดี ที่ต้องให้เครดิตรัฐบาล เพราะการที่รัฐมีแผนจะลงทุนในอภิมหาโปรเจคในลักษณะเช่นนี้ เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนเจ้า ของประเทศ ให้รับรู้ เข้าใจและเห็นพ้องร่วมกันถึงเป้าหมายของโครงการ ทั้งนี้เพราะทรัพยากรและเงินที่ใช้ในโครงการ ล้วนเป็นภาษีอากรจากประชาชนทั้งสิ้น ดังนั้นการได้รับการยอมรับและเสียงสนับสนุนจากประชาชน เจ้าของประเทศตัวจริง จึงย่อมเป็นสิ่งสำคัญ และสำคัญมากกว่าเสียงสนับสนุนในสภาฯ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่งานดีๆเช่นนี้มีระยะเวลาการจัดงานที่จำกัด อีกทั้งจัดให้มีเฉพาะในส่วนกลาง ทั้งที่ความจริง ในเรื่องที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ ควรจะมีการจัดให้กระจายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพราะประชาชนเจ้าของประเทศมิได้มีเฉพาะกรุงเทพฯ และคนกรุงเทพฯ ก็ไม่ใช่ตัวแทนคนไทยทั้งประเทศ

Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก
เนื้อหาสาระของงาน Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก คือ นิทรรศการแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. 2556 - 2563 ประเด็นที่น่าสนใจคือการเปิดเผยแผนงานที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล ที่มีการเตรียมวางระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศมีแผนที่จะดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2556 - 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ที่อยู่รายล้อมประเทศไทย นับเป็นเรื่องที่น่าตื่นใจ และท้าทายความสามารถของรัฐบาลว่าจะทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งทั้งนี้ก็อยู่ที่ตำตอบสุดท้านคือเม็ดเงินงบประมาณ ที่สูงถึง 2.2 ล้านล้านบาทนั่นเอง หากเรื่องเงินผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ปัญหาก็จะอยู่ที่เรื่องของเวลาที่มีจะทันหรือไม่ รวมทั้งปัญหาที่หลายฝ่ายกังวลคือการคอร์รัปชั่น นับเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่เคยล้มโครงการดีๆมาแล้วมากมาย อย่างไรก็ตามเชื่อว่ารัฐบาลมีแผนการบริหารจัดการที่รัดกุมอยู่แล้ว หากมีองค์กรอิสระและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วยจึงจะถือว่า สมบูรณ์แบบ  

 
ประเทศไทยจะได้อะไรจาก อภิมหาโปรเจคนี้ ...
ขั้นต้น การรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนส่งผลดีและผลเสียต่อไทย แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้การเปิดประชาคมเป็นประโยชน์ต่อไทยนั้นคือ การสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียน ซึ่งจำเป็นต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพราะการรวมตัวเป็นประชาคมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนไปมาหาสู่กันได้ อย่างสะดวก และมีการเคลื่อนย้ายสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งโดยเสรี การสร้างความเชื่อมโยงของอาเซียนคือ การทำให้ประชากรและสินค้าเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนได้โดยเสรี อาเซียนจึงต้องพัฒนาทั้งโครงสร้างการคมนาคมพื้นฐาน และกฎเกณฑ์การผ่านแดนควบคู่กันไป ในส่วนของโครงสร้างการคมนาคมพื้นฐาน อาเซียนมีแผนที่จะตัดทางหลวงและเส้นทางรถไฟหลายเส้น ไม่ว่าจะเป็นถนนจากท่าเรือน้ำลึกทวายในฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอินโดจีนไปสู่ ท่าเรือดานังในฝั่งตะวันออก ถนนเชื่อมตอนใต้ของประเทศจีนสู่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังในไทย หรือทางรถไฟเชื่อมจากสิงคโปร์สู่ชายแดนลาว-จีน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการสร้างความเชื่อมโยงทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกที่มีลักษณะ ภูมิประเทศเป็นเกาะ โดยแม้ไทยจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการสร้างความเชื่อมโยงทางทะเลนี้ แต่ผู้คนและสินค้าที่จะเคลื่อนย้ายทางบกจากคาบสมุทรอินโดจีนสู่ประเทศที่ เป็นเกาะดังกล่าวจะต้องผ่านไทย เพราะไทยเป็นทางผ่านทางบกเพียงเส้นทางเดียวสู่มาเลเซีย ในส่วนของกฎเกณฑ์การผ่านแดน อาเซียนกำลังกระตุ้นให้แต่ละประเทศสมาชิกผ่านกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความ สะดวกการผ่านแดนของประชากรและการขนส่งสินค้า ไทยได้ประโยชน์จากการสร้างความเชื่อมโยง โดยเฉพาะจากการเคลื่อนย้ายประชากรหรือสินค้าเพราะไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ประโยชน์โดยตรงที่ได้รับคือเส้นทางคมนาคมที่จะถูกเร่งให้สร้างขึ้น และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยรวมที่จะเกิดจากการใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่ เข้ามาในไทย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นจากการที่ไทยตั้งอยู่บริเวณ ศูนย์กลางของประเทศสมาชิกอาเซียนภาคพื้นดิน คือทำให้มีช่องทางธุรกิจบริการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรมที่ต้องรองรับประชากรที่เคลื่อนย้าย และบุคลากรที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายสินค้า ธุรกิจการขนส่งที่ต้องรองรับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มากขึ้น หรือธุรกิจร้านค้าและการอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนี้ การได้เปรียบทางภูมิศาสตร์นี้ยังทำให้ไทยเนื้อหอมในสายตานักลงทุนต่างชาติ ถึงขนาดที่บทความหนึ่งในหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นให้สมญานามไทยว่าเป็น “หัวใจของอาเซียน”

การสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียนจะส่งผลดีทางเศรษฐกิจต่อไทยอย่างมาก ซึ่งทำให้การเปิดประชาคมอาเซียนมีความสำคัญ เพราะยิ่งเปิดประชาคมได้สมบูรณ์เร็วเท่าไร ย่อมมีความเชื่อมโยงในอาเซียนเร็วขึ้นและมากขึ้นเท่านั้น การที่รัฐบาลเพิ่งจะริเริ่มลงทุนปรับโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของ ประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียน ตามแนวคิด Asean Logistics hub ถึงแม้ว่าจะเป็นการลงที่สูงแต่หากวิเคราะห์ให้ดีแล้ว พบว่าประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ที่ยั่งยืนและคุ้มค่า ทันทีที่โครงการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ นับตั้งแต่ทศวรรษหน้าเป็นต้นไป การเริ่มโครงการฯ ซึ่งดูเหมือนจะขยับตัวช้าไปนิด แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นประเทศไทยจะเสียเปรียบในเวทีอาเซียน ตั้งแต่ยังไม่ทันเปิดประตูบ้าน ต้องเลือกเอาว่าจะลงทุนเพื่ออนาคตของลูกหลาน หรือเลือกที่จะยืนอยู่กับที่เพื่อเฝ้ามองผู้อื่นเดินไปข้างหน้าและประสบความ ความสำเร็จ...
 http://radiothailandchanthaburi.blogspot.tw/2013/03/thailand-2020.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk