PEACE TV LIVE

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จี้รัฐรื้อคดีภาษีบุหรี่6.8หมื่นล้าน

จี้รัฐรื้อคดีภาษีบุหรี่6.8หมื่นล้าน เสนอ2วิธีจัดเก็บรูปแบบใหม่



น.พ.หทัย ชิตานนท์ หัวหน้าคณะนักวิจัยการควบคุมยาสูบ ในฐานะประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และอดีตประธานรัฐภาคีกฎหมายบุหรี่โลก (2550 - 2551) ขององค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า ตนพร้อมคณะนักวิจัยการควบคุมยาสูบ องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน 53 คน ทำหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องขอให้ดำเนินคดีกับบริษัทฟิลลิปมอร์ริส กรณีแจ้งราคานำเข้าบุหรี่มวนต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้ไทยขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าสูงถึง 68,000 ล้านบาท และขอให้เร่งรัดไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รื้อฟื้นส่งดำเนินคดีใหม่อีกครั้ง เพื่อประโยชน์ทางการคลังของประเทศ ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยจัดส่งสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานอัยการและ มีคำสั่งไม่ฟ้อง



"ผลสอบสวนคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยดีเอสไอ พบหลักฐานชี้ว่าราคาบุหรี่ที่นำเข้าโดยบริษัทบุหรี่รายนี้ มีต้นทุนสูงกว่าราคาที่สำแดงต่อกรมสรรพสามิต รวมไปถึงราคาขายในประเทศ อื่นๆ ที่สูงกว่า ดังนั้นควรมีการเปิดเผยข้อมูลผลการสอบสวนที่ผ่านมาให้สาธารณะรับทราบถึง เหตุผลที่ไม่สามารถสั่งฟ้องได้ ซึ่งทั้งหมดนี้คงต้องรอคำตอบจากนายกฯ" น.พ.หทัยกล่าว



น.พ.หทัยกล่าวว่า ปัจจุบันกรมสรรพสามิตเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงานที่บริษัทบุหรี่นำเข้าหรือ ผลิตในประเทศเป็นผู้สำแดง โดยบริษัทบุหรี่ข้ามชาติสำแดงราคาเพียง 7.60 บาท/ซอง แต่ราคาขายสูงถึง 70-80 บาท ขณะที่บริษัทบุหรี่ในประเทศสำแดงราคาหน้าโรงงาน 25 บาท/ซอง ราคาขาย 35-40 บาทเท่านั้น สะท้อนถึงการสำแดงข้อมูลราคาเป็นเท็จเพื่อหลบเลี่ยงภาษีซึ่งทำมานาน จึงมีข้อเสนอการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่จากกลุ่มนักวิชาการควบคุมยาสูบ คือ 1.กำหนดอัตราภาษียาสูบแบบตายตัวทั้งหมดไม่ว่าบุหรี่นำเข้าหรือผลิตในประเทศ และ 2.จัดเก็บโดยคำนวณภาษีจากราคาขายปลีก ซึ่งทางที่ดีควรใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่กัน และควรปรับขึ้นอัตราภาษีอย่างต่อเนื่อง


หน้า 28
  
 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdNVEV5TURNMU5RPT0=&sectionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB4TWc9PQ==


จับตาคดีเลี่ยงภาษีบุหรี่6.8หมื่นล้าน
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEEzTURRMU5BPT0%3D&sectionid=TURNd05BPT0%3D&day=TWpBeE1TMHdOQzB3Tnc9PQ%3D%3D
------------------
เปิดสำนวนร้อนดีเอสไอฟ้อง "ฟิลลิปมอร์ริส" 6.8 หมื่นล้าน ประเด็นใหม่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299481160&grpid=01&catid=01
-----------------
DSIเห็นแย้ง!ควรสั่งฟ้องคดีเลี่ยงภาษีบุหรี่6.8หมื่นล้าน
http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?newsid=9540000103317
-------------
“สนธิ” จวก ปชป.สุดเลวช่วย บ.บุหรี่ฝรั่งโกงภาษี เล็งยื่น ป.ป.ช.เอาผิด “เกียรติ”-อัยการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000031978
----------------------
หนังสือ รมว.ยุติธรรม เตือน อภิสิทธิ์ ก่อนสูญเงิน 6.8หมื่นล้าน
http://news.voicetv.co.th/thailand/5460.html
หนังสือสองฉบับของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมส่งถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใน 2 ครั้ง
- ฉบับแรกลง วันที่ 26มิถุนายน 2552เรื่อง ข้อเสนอแนะการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของสินค้าสุราและยาสูบจากต่างประเทศ
หนังสือฉบับแรกเป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่ากระทรวงยุติธรรมตระหนักถึงปัญหาการจัดเก็บภาษีสุราและยาสูบนำเข้าจากต่างประเทศในขณะนั้นมีการวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีทำให้รัฐสูญเสียรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาลจึง เสนอแนวทางแก้ปัญหาแจ้งไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30มิถุนายน พร้อมกับเสนอให้นายกฯรับทราบเพื่อพิจารณา
หลังจากนั้นอีก 2เดือน…
- ฉบับที่ 2ลงวันที่ 3กันยายน 2552เรื่องรายงานความคืบหน้าคดีการสำแดงราคานำเข้า(C.I.F.) สินค้าบุหรี่อันเป็นเท็จของนิติบุคคลต่างด้าว

กระทรวงยุติธรรมทำหนังสือฉบับที่สอง เพื่อรายงานคดีการนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโรและแอลแอนด์เอ็มที่อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีความเห็นสั่งฟ้องบริษัทฟิลลิปมอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิตเต็ดกับพวก กล่าวหาว่าสำแดงราคานำเข้าเป็นเท็จทำให้รัฐสูญเสียรายได้ถึง 68,800ล้านบาทเศษปรากฏในเวลาต่อมาว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาในกรณีของบริษัทฟิลลิปมอร์ริสฯ จนกระทั่งวันที่ 13มกราคม 2554อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องในคดีดังกล่าว

----------------หนังสือฉบับแรก
เรื่อง ข้อเสนอแนะการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของสินค้าสุราและยาสูบจากต่างประเทศ
กราบเรียน นายกรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษได้สอบสวนร่วมกับอัยการผู้แทนกระทรวงการคลัง(ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง สรรพากร สรรพสามิต ศุลกากร) ได้พบปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่มอบให้กรมศุลกากรไปดำเนินการจึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือกในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล เนื่องจากได้ข้อเท็จจริงจากผลการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับภาษีอากรกรณีการนำเข้าสุรา สุราไวน์ และยาสูบ จากต่างประเทศที่มีมูลค่าเชื่อว่าสำแดงเท็จหลีกเลี่ยงภาษีอากร ตามตัวอย่างคดีพิเศษ จำนวน 3คดีในกรณีสุราและยาสูบที่นำเข้า จากต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493มาตรา 8วรรคหนึ่ง (2)พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509มาตรา 5วรรคหนึ่ง (2) ให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิต โดยถือราคาซี.ไอ.เอฟ. (Cost Insurance & Freights) ของสุราหรือยาสูบ บวกด้วยอากรขาเข้า โดยให้กรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บแทนกรมสรรพสามิต โดยสรุปราคานำเข้าสุราและสุรา ไวน์ 1บาท ต้องเสียภาษีทุกประเภท 3บาท ราคานำเข้าบุหรี่ 1บาท จะต้องเสียภาษีสรรพสามิต 4บาท เช่น ตามตัวอย่างคดีพิเศษ กรณีนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศของบริษัท A ระหว่างกลางปี 2546-2549ทำให้ภาษีอากรต่างๆต่ำไปประมาณ 68,800ล้านบาทเศษ
การสืบสวนสอบสวนกรณีมีการสำแดงราคานำเข้าราคา ซี.ไอ.เอฟ. เท็จต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ดังเช่น บริษัท A นำเข้าบุหรี่ยี่ห้อ L ราคานำเข้า 5.88บาท เปรียบเทียบกับร้านค้าปลอดภาษีนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อ L ราคานำเข้า 16.81บาท เป็นต้น ซึ่งผู้นำเข้าสุรา ยาสูบต่างประเทศจะใช้แผนประทุษกรรมทำนองเดียวกันทุกราย ดังนั้น หากปล่อยให้เป็นเช่นนั้นจะทำให้มีการวางแผนภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้รัฐสูญเสียรายได้หลีกเลี่ยงภาษีในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล การสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีอาญากับผู้หลีกเลี่ยงภาษี มีความยุ่งยาก มีปัญหาและอุปสรรคเพราะพยานหลักฐานที่สำคัญและอยู่กับกลุ่มผู้กระทำความผิดจะไม่ได้รับความร่วมมือแม้จะใช้งบประมาณและบุคลากรจำนวนมากก็แทบจะไม่ได้ผลทั้งคดีภาษีมีความสลับซับซ้อนมีช่องว่างทางกฎหมายมากประกอบกับการตีความของเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีจะตีความเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ กฎระเบียบไม่ชัดเจนปฏิบัติไม่ได้ พนักงานสอบสวนจึงไม่สามารถดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิด ดังนั้นเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีดังกล่าวและทำให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปตามความจริง
กระทรวงยุติธรรม จึงขอเสนอแนะเพื่อให้รัฐบาลและกระทรวงการคลังใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สุรา และยาสูบ สองแนวทางซึ่งคาดว่าจะทำให้มีรายได้เพิ่มจากที่เป็นอยู่ทั้งสุราและบุหรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ประเภทละไม่ต่ำกว่าประมาณ 10,000ล้านบาทต่อปี ดังนี้
แนวทางแรก ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพสามิต สุรา ยาสูบ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางภาษีเกี่ยวกับอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศโดยกำหนดให้มีมาตรการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษี (Anti-tax Avoidance Measure) ตามบทบัญญัติของอนุสัญญาภาษีซ้อนขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดี (OECD :Organization for Economic Cooperation and Development) จะมีอำนาจนำหลักการคำนวณราคาโดยวิธีเปรียบเทียบกับราคาภายนอก(Comparable Uncontrolled Price Method)กรณีดังกล่าวกรมสรรพากรได้ดำเนินการอยู่ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545ที่มีมาตรการเรื่องการกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) ของโออีซีดี เช่นเดียวกัน
ดังนั้น กรมสรรพสามิตและกรมสรรพากร ซึ่งเป็นผู้จัดเก็บภาษีภายในประเทศเหมือนกัน จึงใช้หลักเกณฑ์เดียวกันได้วิธีการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีอากร โดยกำหนดให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศมูลค่าของสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรหรือนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี โดยคำนวณจากต้นทุนหรือราคาขายส่งช่วงสุดท้ายหรือหักทอนจากราคาขายปลีกของตลาดปกติในประเทศไทยของราคาสินค้านั้
แนวทางที่สอง ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกแกตต์หรือข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT:General Agreement on Tariffs and Trade) เห็นควรกำหนดวิธีเรียกเก็บค่าภาษีอากรของยาสูบเสียใหม่ โดยให้กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิต เรียกเก็บในอัตราตามสภาพ(Specific Rate) เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศสมาชิกแกตต์ส่วนใหญ่ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ฮ่องกง บรูไน ญี่ปุ่น ฯลฯ และยังคงจัดเก็บในแบบปัจจุบันที่จัดเก็บโดยใช้อัตราตามมูลค่า (Ad Valorem Rate) เปรียบเทียบกับอัตราตามสภาพ(Specific Rate) ควบคู่ไปด้วย โดยแบบใดได้ภาษีสูงกว่าก็ใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษี เพราะมีสุราหรือยาสูบต่างประเทศบางประเทศ เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือสาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว ซึ่งมีต้นทุนต่ำก็จะเกิดความเสียหายกับสินค้าที่ผลิตในประเทศได้ เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีตามข้อเท็จจริงและปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

พร้อมนี้ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วยแล้ว
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

---------------หนังสือฉบับที่ 2
เรื่อง รายงานความคืบหน้าคดีการสำแดงราคานำเข้า (C.I.F.) สินค้าบุหรี่อันเป็นเท็จของนิติบุคคลต่างด้าว
กราบเรียน นายกรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ขอรายงานความคืบหน้าการดำเนินคดีกับบริษัทนำเข้าบุหรี่จากต่างประเทศของนิติบุคคลต่าง ด้าว ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์)ลิมิตเต็ด กับพวก กรณีถูกกล่าวหาว่า สำแดงราคานำเข้า (ต้นทุน C. ประกัน I. ขนส่ง F.) ของบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโร (Marlboro) และแอลแอนด์เอ็ม(L&M) อันเป็นเท็จ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจะจัดเก็บภาษีจากราคานำเข้า ถ้าสำแดงราคานำเข้าต่ำก็จะเสียภาษีน้อย โดยการสอบสวนได้แยกสำนวนออกเป็น 2สำนวน คือ



1.สำนวนคดีพิเศษที่ 79/2549ลงวันที่ 3สิงหาคม 2549เป็นกรณีนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโรและแอลแอนด์เอ็มนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์



2.สำนวนคดีพิเศษที่ 8/2551ลงวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2551เป็นกรณีนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโรและแอลแอนด์เอ็มนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย



ในวันนี้ (2ก.ย.2552) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีความเห็นสั่งฟ้องในคดีลำดับที่ 1 (คดีพิเศษที่ 97/2549การนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์) ผู้ต้องหากับพวกรวม 14ราย รายละเอียดตามหนังสือนำส่งที่ ยธ 0800/พ 16ลง 2กันยายน 2552ที่แนบมาพร้อมนี้สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีทุกระดับซึ่งมีมูลค่าเชื่อว่าเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนในการกระทำผิดได้แยกดำเนินการไว้อีกส่วนหนึ่งแล้วผิดได้แยกดำเนินการไว้อีกส่วนหนึ่งแล้ว
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดทรา
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
Source : NewsCenter/matichon/flickr.com (Image)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk