PEACE TV LIVE

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

----กรณี ของช่อง ITV โดน ปล้น----พนักงานI1,010ชีวิตตกงาน




----กรณี ของช่อง ITV----
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192615
1/ เมื่อ พศ 2535 รัฐได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ (พรบ) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พศ 2535 ซึ่งเป็น พรบ ที่เกี่ยวกับกรณีไอทีวี

1 พรบ ฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญว่าด้วยให้รัฐบาลเป็นผู้ออกใบอนุญาต หรือ ให้สัมปทานแก่ภาคเอกชนที่โครงการมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท

2 พรบ ฉบับดังกล่าว มีการกำหนดขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ และผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม)

2/ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน) เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้ไอทีวีเปิดดำเนินการได้ เมื่อ พศ 2538 และมี ข้อสัญญา 4 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ดังนี้

1 ไอทีวีจะต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ สปน จำนวน 1 พันล้านบาทต่อปี (ในปีปัจจุบัน)

2 สัดส่วนรายการ : ไอทีวีจะออกอากาศ ในสัดส่วน 70/30 (ข่าวและสารคดี 70% และบันเทิง 30%) ของรายการที่ออกอากาศ และมีข้อจำกัดในเวลาที่มีผู้ชมสูง (Prime time) หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดไอทีวีจะถูกปรับรายวันจำนวน 10% ของค่าสัมปทานต่อปี และอาจถูกยึดใบอนุญาตได้หากยังฝ่าฝืน

3 ข้อสัญญาห้ามคู่แข่ง :ไอทีวีสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีที่รัฐบาลอนุญาต หรือไม่ห้ามการโฆษณาทางทีวี 1) โดยช่องเดิมที่มีอยู่แล้วที่ไม่สามารถมีโฆษณาได้ หรือ 2) ช่องเอกชนช่องใหม่

4 หากมีข้อโต้แย้งกันของสองฝ่าย ให้ถือ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุด

3/ ชินคอร์ปอเรชั่นกลายเป็นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของไอทีวี ในเดือน ธันวาคม 2543 และหลังจากนั้น ได้มีการเพิ่มทุนอีกหลายครั้ง จนชินคอร์ปถือหุ้นมากกว่า 50 %

4/ เดือน พฤศจิกายน 2542 มีสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้มี โฆษณาได้

1 ไอทีวีได้แจ้งไปยัง สปน ถึงกรณีดังกล่าว และได้ดำเนินการขอ แก้ไขสัญญา แต่ ไม่มีความคืบหน้าใดๆ

2 เดือน มีนาคม 2545 (เป็นเวลาเกือบ 3 ปีให้หลัง) สปน ได้ยอมรับถึงข้อร้องเรียนของไอทีวีและเปิดให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขให้ถูก ต้อง แต่ไม่มีข้อยุติ

3 เดือน กันยายน 2545 ไอทีวี ได้ฟ้อง สปน ต่ออนุญาโตตุลาการ

4 เดือน มกราคม 2546 อนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยให้ ไอทีวีชนะใน ข้อสัญญาห้ามคู่แข่ง ทำให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน มีการคืน และ ลดค่าสัมปทานลง สัดส่วนรายการเปลี่ยนเป็น 50/50 และไม่มีข้อจำกัดในเวลาที่มีจำนวนผู้ชมรายการสูง

5 หลังจากนั้น ไอทีวีได้ดำเนินการตามข้อแก้ไข และ สปน ฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งให้คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เป็นโมฆะ

5/ เดือน พฤษภาคม 2549 ศาลปกครองตัดสินให้ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เป็นโมฆะ โดย อยู่บนพื้นฐานที่ว่า อนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจเหนือคำวินิจฉัย ไอทีวีได้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด

6/ เดือน ธันวาคม 2549 ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินยืนให้ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เป็นโมฆะ

1 บนพื้นฐานที่ว่า ข้อสัญญาห้ามคู่แข่งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ มีผลผูกพัน เพราะไม่ได้นำเข้า คณะรัฐมนตรี (ครม) เพื่อขออนุมัติ ตั้งแต่ เซ็นสัญญาสัมปทานครั้งแรก เมื่อ พศ 2538 ตาม พรบ พศ 2535

2 ไอทีวีไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่ผิดเพราะไม่ทราบเรื่องกฎหมายว่า สปน ต้องนำเรื่องเสนอต่อ ครม เพื่ออนุมัติ (เนื่องจาก พรบ พศ 2535 เป็นกฎหมาย)

3 จากข้อ 2 เป็นเหตุให้ ไอทีวีจะต้องจ่ายค่าสัมปทาน และปฏิบัติตามสัดส่วนรายการที่ระบุในสัญญาฉบับแรก แต่ไม่มีการตัดสินบทปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด

4 แต่ก่อนหน้านั้นได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานของไอทีวีอื่นๆ และ มีการเสนอเรื่องเข้า ครม อย่างถูกต้อง

7/ วันที่ 6 มีนาคม 2550 สปน มีคำสั่งให้ไอทีวีชำระส่วนต่างที่ไอทีวี ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของ อนุญาโตตุลาการ กับสัญญาฉบับแรก

1 ค่าสัมปทานที่ค้างชำระทั้งหมด รวมถึงดอกเบี้ย จำนวน 2 พันล้านบาท

2 ค่าปรับที่ฝ่าฝืนในเรื่องสัดส่วนรายการ 100ล้านบาทต่อวัน (10% ของ 1 พันล้านบาทต่อปี จ่ายเป็นรายวัน) รวม 1 แสนล้านบาท

3 นับจากวันที่ไอทีวีดำเนินการ ตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ ในเดือน มกราคม 2546 (100 ล้าน x 3 ปี หรือ 1000 วัน)

4 มีการวิพากษ์วิจารณ์ กันอย่างมาก ถึงค่าปรับที่แพงลิ่วอย่างไม่มีเหตุผลที่เกิดขึ้นกับไอทีวี

8/ ไอทีวีได้แจ้งต่อ สปน ว่า จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลและยินดีจ่ายค่าสัมปทานจำนวน 2 พันล้านบาท สำหรับค่าปรับไอทีวีได้เสนอดังนี้

1 การดำเนินการในเรื่องสัดส่วนรายการนั้น ได้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะฝ่าฝืน ควรจะถือเป็นการฝ่าฝืนต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ซึ่งหลังจากที่ศาลมีคำสั่งในครั้งแรก ไอทีวีได้กลับมาใช้สัดส่วนรายการตามเดิม

2 ในกรณีฝ่าฝืน และการปรับ ไอทีวีได้มีการคำนวณและพบว่ามีจำนวน น้อยกว่าที่ สปน คำนวณไว้จำนวน 1 แสนล้านบาท จึงขอให้ทาง สปน คำนวณใหม่

3 ไอทีวีได้คำนวณค่าปรับจำนวน 10% ของ 1 พันล้านต่อปีของค่าสัมปทาน เป็นเงิน 100 ล้านบาทต่อปี และจ่ายเป็นรายวัน ไม่ใช่คิดเป็นรายวัน ดังนั้น ค่าปรับจะเป็น 274,000 บาท ต่อวัน จำนวน 1000 วัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 274 ล้านบาท

9/ สปน ยืนยันคำสั่งและวิธีการคำนวณค่าปรับแบบเดิม ที่ให้ไอทีวีจ่ายค่าปรับจำนวน 1 แสนล้านบาท ซึ่งไอทีวีไม่สามารถหาแหล่งเงินสนับสนุน ได้จากสถาบันการเงิน หรือการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นได้ แม้แต่ค่าสัมปทานจำนวน 2 พันล้านบาท

10/ จากการที่ไอทีวีไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทาน จำนวน 2 พันล้านบาท (รวมทั้งค่าปรับด้วย)ได้ ภายในวันที่ 6 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ทาง สปน กำหนด ไอทีวีจึงถูกเพิกถอนใบอนุญาต สินทรัพย์ทั้งหมดถูกโอนให้ สปน เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งไอทีวีจะกลายเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐอีกช่องหนึ่ง ชื่อ ทีไอทีวี

1 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลแจ้งว่าจะจ้างพนักงานไอทีวีต่อ และจะให้มีการออกอากาศต่อไป โดยไม่หยุดชะงัก

2 วันที่ 6 มีนาคม 2550 ครม สั่งระงับการออกอากาศของไอทีวีจนกว่าจะโอนเป็น ทีไอทีวีเสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน

3 วันที่ 7 มีนาคม 2550 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่า สปน สามารถมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เข้าดำเนินการแทนไอทีวีได้

4 ในวันเดียวกัน (7 มีนาคม 2550) ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ไอทีวีสามารถออกอากาศต่อไปได้ เพราะเป็นการบริการสาธารณะ

11/ แม้ว่าธุรกิจไอทีวีจะถูกโอนไปขึ้นอยู่กับ กรมประชาสัมพันธ์ ในชื่อ ทีไอทีวี แต่ไอทีวียังคงเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นได้มีการประชุมกันเพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการฟ้องร้อง สปน ในประเด็นที่สำคัญดังนี้หรือไม่

1 การคำนวณค่าปรับที่ไม่เป็นธรรมและเกินจริง ควรใช้การคำนวณของไอทีวีที่สมเหตุสมผลกว่า และควรคืนใบอนุญาตให้ไอทีวี

2 การที่ สปน ไม่นำข้อสัญญาห้ามคู่แข่ง เข้า ครม เพื่ออนุมัติ (เมื่อมีการเซ็นสัญญาครั้งแรก พศ 2538) ถือเป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายอาญา ดังนั้น สปน จะต้องถูกฟ้องในเรื่องนี้

3 การที่ สปน ไม่นำข้อแก้ไข (ตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ เดือน มกราคม 2546) เข้า ครม เพื่ออนุมัติ (ซึ่งมีผลทางกฎหมายต่อการแก้ไขตาม พรบ และเพื่อให้สัญญาที่ระบุว่าหากมีข้อโต้แย้งกันของสองฝ่าย ให้ถือ คำวินิจฉัยของของอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุดมีผลทางกฎหมาย) เป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายอาญา และผิดสัญญาสัมปทาน ดังนั้น สปน จะต้องถูกฟ้อง

4 หากศาลแพ่งพิพากษาว่า สปน มีความผิดจริง ศาลอาจสั่ง สปน ให้คืนใบอนุญาตให้ไอทีวี รวมทั้งสินทรัพย์ อื่นๆด้วย กระบวนการเหล่านี้จะต้องผ่าน 3 ศาล อาจใช้เวลา 2-3 ปี

ปล. เป็นข้อมูลก่อนที่จะถูกยุบ ซึ่งดูจากข้อมูลแล้ว ไอทีวีไม่ได้รับความเป็นธรรมแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับกว่า แสนล้านซึ่งมันมากเกินไปที่จะหามาใช้ได้ และการยุบไอทีวีนั้นเพื่อเปิดเป็นช่องทีวีของรัฐที่เหมือนกันกับช่อง 11 นั้นเพื่อลงทุนเงินภาษีประชาชนกว่าเกือบ 2,000 ล้านบาทนั้น เพื่ออะไร ต้องการอะไร ทำไมถึงต้องทำตอนนี้ 


--------------------
 
    ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (6 มี.ค.) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องยุติการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่พรุ่งนี้(7 มี.ค.) เป็นต้นไป ทั้ง นี้ได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดูแลต่อไป และจะมีการย้ายทรัพย์สินจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่อาคารชินวัตร 3 มาไว้ที่กรมประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินต่อไป

          ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงขออภัยพนักงานไอทีวี ที่ไม่สามารถให้ไอทีวีออกอากาศต่อเนื่องได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบในด้านข้อกฏหมาย รัฐบาลจำเป็นต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง และยืนยันว่ามติ ครม.ครั้งนี้ได้ยึดตามแนวทางของกฏหมายเป็นหลัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปิดไอทีวี 1 เดือน! พนักงานวอนอย่าเอาการเมืองมาเกี่ยว
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจาก
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

          กรณีที่รัฐบาลจะเข้าไปดำเนินกิจการแทนสถานีโทรทัศน์ไอทีวี หากไอทีวีไม่สามารถชำระค่าสัมปทานและค่าปรับการปรับผังรายการรวมดอกเบี้ยได้ เมื่อครบกำหนดใน วันนี้ (6 มี.ค.) โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า อาจจะต้องหยุดแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นการชั่วคราวประมาณ 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค. เพราะติดขัดข้อกฎหมายบางประการ โดยจะนำประเด็นปัญหาทั้งหมดเสนอให้ที่ประชุม ครม.วันที่ 6 มี.ค. พิจารณาหาข้อยุตินั้น
          ล่า สุด นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาคัดค้านแนวคิดการหยุดออกอากาศชั่วคราว เนื่องจากเห็นว่า ถ้าหยุด 1 เดือน จะมีปัญหาเยอะ ทั้งเรื่องคน ผังรายการ และทรัพย์สิน ถ้าไม่ใช้เป็นเวลา 1 เดือน ทรัพย์สินบางอย่างจะเสียหายแน่นอน และหาก ครม.มีมติให้ดำเนินการต่อ เราก็จะทำไม่ทัน ต้องมาเริ่มหาใหม่หมด รวมถึงการรับสมัครคนด้วย ซึ่งยุ่งยาก โดยเฉพาะลูกค้าจะหายหมด รวมทั้งโฆษณา ผังรายการก็ต้องปรับใหม่ 
          ขณะที่พนักงานไอทีวี และผู้ผลิตรายการ ที่นำโดย นายจอม เพชรประดับ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ไอทีวี และนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ ตัวแทนผู้ผลิตรายการ ร่วมกันแถลงข่าวว่า ขณะ นี้ได้มีการพยายามบิดเบือนข่าวสารว่ารัฐบาลพยายามอุ้มพนักงานไอทีวี โดยกระแสการต่อต้านมาจากสื่อเพียงบางรายที่ต้องการหาผลประโยชน์ และคนบางกลุ่มที่พยายามโจมตีไอทีวี เพียงด้านเดียวเพื่อให้ปิดสถานี เพราะต้องการเอาชนะและหวังผลทางการเมือง จึงไม่ต้องการให้ดึงพนักงานเข้าไปเกี่ยวข้อง

          และขอความเห็นใจจากรัฐบาล โปรดพิจารณาดำเนินการให้ไอทีวีออกอากาศอย่างต่อเนื่องต่อไปในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพราะหากจะมีการหยุดออกอากาศก็ให้มีการแจ้งล่วงหน้า เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการลงทุนการผลิตรายการของกลุ่มผู้ผลิตรายการร่วม ทั้งหมด และยังทำให้ผู้สนับสนุนรายการขาดความเชื่อมั่น โดยขอให้นายกรัฐมนตรีคงไว้ซึ่งสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ต่อไป โดยไม่ให้การออกอากาศต้องชะงัก และคงไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน โดยปราศจากการถูกกดดันของกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
          อย่างไรก็ตามระหว่างที่ผู้ผลิตรายการออกแถลงการณ์ ดารา-พิธีกรบางรายถึงกับน้ำตาซึม เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาการระงับออกอากาศชั่วคราวดังกล่าว โดยขอให้ทบทวน เหตุผลหลักตามแถลงการณ์ข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk