PEACE TV LIVE

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

นิติราษฏร์ เสวนา "๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร"(มีคลิป)

นิติราษฎร์ จัดเสวนา "๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร"
ใน วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีกำหนดการดังนี้
๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ “นักกฎหมายไทยกับรัฐประหาร” ปาฐกถานำ โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ
๑๓.๓๐ - ๑๔.๐๐ กิจกรรมรำลึกนวมทอง ไพรวัลย์ “๖ ปี แท็กซี่ชนรถถัง”
๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ “รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ”
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
ปิยบุตร แสงกนกกุล
ดำเนินรายการโดย ธีระ สุธีวรางกูร
๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ บทบาทของ คอป. กับการ "ปรองดอง"? อภิปรายและตอบคำถามโดย คณะนิติราษฎร์
เปิดประตูหอประชุมตั้งแต่ ๑๒.๐๐ น. เป็นต้นไป จึงขอเรียนเชิญประชาชนผู้สนใจทุกท่าน
นอกจากนี้ คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำ ดีวีดี “นิติราษฎร์เสวนา” รวมการเสวนาของคณะนิติราษฎร์ตลอด ๒ ปี
มีจำนวน ๑๐ แผ่น จำหน่ายก่อนเริ่มงาน จำนวน ๕๐๐ ชุด
ในราคาชุดละ ๕๐๐ บาท เพื่อนำรายได้จ่ายค่าหอประชุม
และ คณะนิติราษฎร์ขอเรียนทุกท่านทราบว่าพวกเราไม่ประสงค์รับบริจาคเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจากบุคคลใด หน่วยงานใด หรือโดยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น









ถ่ายทอดสดโดยทีมงานม้าเร็ว http://speedhorsetv.blogspot.com/
http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=3458

30 ก.ย. 55 เกษียร เตชะพีระ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาในงาน “นิติราษฎร์เสวนา: 2 ปี นิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร” ในหัวข้อ นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร เกษียร กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของนักกฎหมายไทยกับรัฐประหารเหมือน “ผีเน่ากับโลงผุ” คือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับภาชนะเครื่องมือที่ไม่เลือกนาย คือ ต่อให้เป็นผีเน่าก็ช่าง ถ้าเรียกใช้บริการของโลงผุแล้ว โลงผุก็พร้อมจะสนองรับใช้ ซึ่งผลของมันก็คือ หลักนิติธรรมของรัฐก็ผุผังสึกกร่อนกันไปหมด โดยเกษียร ได้หยิบยกบทกลอนของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่เขียนถึงผีเน่ากับโลงผุว่า ฉันนั้นความเปื่อยเน่าเป็นของแน่ ย้อมเกิดแก้ความนิ่งทุกสิ่งสม แต่แล้วความเน่าในเปือกตม ก็ผุดพรายให้ชมซึ่งดอกบัว “ผมคิดว่านิติราษฎร์ คือ ดอกบัวที่ผุดพรายขึ้นมาจากความเปื่อยเน่า” เกษียรกล่าว เกษียรกล่าวถึงประเด็นนักกฎหมายกับการรัฐประหาร โดยอ้างคำพูดของ ไพศาล พืชมงคล กับการรัฐประหาร คปก. ไพศาลเป็นนักกฎหมายคดีการเมือง อดีตนักเคลื่อนไหวสมัย 14 ต.ค. 6 ต.ค. ไพศาลจับภาพความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างนักกฎหมายกับรัฐประหารอย่างชัดเจน มีชีวิตชีวา ซึ่งความตอนหนึ่งระบุว่าต้องเดินทางเขาไปยังกองบัญชาการทหาร โดยมีโน้ตบุ๊กและตำรารวมทั้งกฎหมายต่างๆ อย่างฉุกเฉินกลางดึก ทำไมทหารต้องการนักกฎหมายเวลาก่อรัฐประหาร เกษียร เตชะพีระ กล่าวว่า ศาสตราจารย์ เฟรด วอเรน ริกส์ เสนอว่าการเมืองไทยเป็นอำมาตยาธิปไตย โดยมีความสัมพันธ์แบบสนธิพลังร่วมระหว่างทหารกับข้าราชการพลเรือน คือทหารเท่านั้นที่ยึดอำนาจได้เพราะมีกำลังอาวุธ ขณะที่ข้าราชการพลเรือนไม่มี แต่แม้ทหารจะขึ้นเป็นผู้นำก็ต้องอาศัยข้าราชการพลเรือนที่จะสามารถทำในสิ่งที่ทหารขาด คือ ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ด้านเทคนิคอันสลับซับซ้อน เช่น ต้องออกประกาศคำสั่ง ต้องร่างรัฐธรรมนูญ วางแผนเศรษฐกิจ การทูต ฯลฯ ทหารจึงต้องแบ่งอำนาจให้ข้าราชการพลเรือน เนติบริการ รัฐศาสตร์บริการ เทคโนแครตการคลังการเงิน ผีเน่าจึงต้องการโลงผุด้วยประการฉะนี้ เกษียรยังกล่าวถึงสองสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จากการปฏิวัติ2475 คือ นิติรัฐ และการใช้กำลังทหารยึดอำนาจ ในช่วงของรัฐบาลจอมพล ป.จะพบว่ามีความพยายามประสานสองหลักนี้ คื มีหลักนิติรัฐอยู่และเหนี่ยวรั้งไม่ให้เป็นเผด็จการ ตลอดสมัยรัฐบาลจอมพลป. จะดีจะชั่วหลักนิติรัฐยังมี แต่ยังมีการใช้กำลังบังคับ ไม่ว่าจะเป็นศาลพิเศษหรือออกกฎหมายพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่มันยังมีสมดุลบางอย่างระหว่างของใหม่สองอย่างที่เป็นไปได้ว่าจะขัดกัน ดุลมาเสียไปหลัง 2490 เข้าสู่ยุคจอมพล ป. สมัยสอง เหลือแต่จอมพล ป. คณะทหารและเผ่า ศรียานนท์ มาคุมตำรวจ เริ่มมีการใช้อำนาจเถื่อนของผู้รักษากฎหมายโดยเฉพาะตำรวจ มีการใช้กำลังบังคับ จี้ลักพาตัว ฆ่าปิดปาก โดยพลตำรวจอัศวินแหวนเพชร และการฆาตกรรมทางการเมืองก็เริ่มอย่างเป็นเรื่องเป็นราว คนที่เคยเห็นหน้าค่าตาลุกขึ้นมาฆ่ากันเป็ฯว่าเล่นเป็นสิบๆ ศพ มีการฆ่าทางการเมือง ปูทางไปสู่จุดสุดยอดในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ ไปสู่ยุค ‘กฎหมายนั้นหรือก็คือกู’ มีการใช้กำลังบังคับด้วยอำนาจเผด็จการ ยิงเป้า จับคนขังคุก ยึดทรัพย์ ปฏิวัติ และสุดท้ายการฆ่ากันทางการเมืองได้ขยายมาสู่การฆ่าประชาชนซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายทางการเมือง เช่น กรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง นี่คือหลัก The Rules of Law กลายมาเป็น The Rules of กู, มีการบัญญัติมาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ที่ระบุว่าให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย นี่คือการทำให้หลักกูกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอย่างเป็นระบบ และเมื่อกระทำการใดๆ แล้วก็แจ้งให้สภาทราบ เช่นยิ่งเป้าคนแล้วค่อยมาบอกสภา อะไรคือผลของมาตรา 17 มันคือการรวบอำนาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการไว้ในมือนายกรัฐมนตรีคนเดียว มันคือการทำให้อำนาจอาญาสิทธิ์แก่คนๆ เดียวได้ปกครองอย่างไม่มีใครขัดขวางได้ กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยเอาไปบัญญัติไว้ในมาตรา 17 จะบัญญัติเช่นนั้นได้ต้องใช้นักกฎหมาย นักกฎหมายจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสถาปนาหลักกูแทนที่หลัก The Rules of Law เกิดนิติธรรมอย่างไทยขึ้น เกษียร กล่าวว่า อาจารย์เสน่ห์ จามริก ชี้ไว้ในหนังสือการเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญว่า บรรดาประกาศ คำสั่งคณะปฏิวัติที่ก่อโดยคนถือปืน ได้รับการปฏิบัติต่อจากนักกฎหมายว่า ศักดิ์สิทธิ์เทียบกฎหมายที่ผ่านสภาฯ โดยชอบ นี่เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของนักนิติศาสตร์ไปอย่างมหาศาล ซึ่งปรีดี พนมยงค์เคยกล่าวว่า หน้าที่ของนักกฎหมายคือการอธิบายหลักที่ว่าด้วยสิทธิของมนุษยชนอันจำเป็นสูงสุดในการศึกษากฎหมายปกครอง และยืนยันว่ากำเนิดแห่งระบอบรัฐธรรมนูญไทยเป็นข้อตกลงหรือสัญญาอันเป็นพระราชประสงค์ของพระปกเกล้าฯ ที่เป็นแม่บทสำคัญ ไม่อาจถวายคืนได้ แต่หลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยนักนิติศาสตร์ในระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ เช่นบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, มีชัย ฤชุพันธ์, วิษณุ เครืองาม นำเสนอตีความว่ากำเนิดแห่งรัฐธรรมนูญไทยนั้นเป็นพระบรมราชานุญาต และดังนั้นการถวายพระราชอำนาจคืน ในความหมายถวายอำนาจอธิปไตยคืนจึงเป็นไปได้ในหลักกฎหมายและทำได้ในความเป็นจริง และยังได้อธิบายความชอบธรรมแห่งธรรมราชา จนหลักเหล่านี้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญไทย “ฝรั่งนั้นเสมอภาคกันแบบลูกกำพร้าไม่มีพ่อ ไม่สามารถซาบซึ้งกับหลักพ่อปกครองลูกแบบไทยๆ ได้” เกษียรกล่าว เขากล่าวด้วยว่า บทบาทสำคัญของนักกฎหมายกลุ่มนี้คือ หนึ่ง เป็นช่างเทคนิคด้านอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ โดยนักกฎหมายเหล่านี้มีความสามารถเป็นพิเศษในการจำกฎหมายจำนวนมาก ใครๆ ต้องวิ่งไปหามีชัย บวรศักดิ์ วิษณุ บุคคลเหล่านี้ก็จะไปนั่งตำแหน่งสำคัญด้านกฎหมายเป็นประจำ เป็นการส่งต่อกัน ไม่ว่าจะเป็น เลขานายก รองนายกฯ และคณะกรรมการกฤษฎีกา เรียกว่า เป็นช่างเทคนิคด้านอำนาจอธิปไตย สอง นักกฎหมายเหล่านี้จะเกลี่ยเชื่อมรอยต่อการเมืองการปกครองระหว่าง ประชาธิปไตยกับเผด็จการ คือไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ล้วนมีสิ่งเดียวกัน คือมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งสิ้น ดังนั้นการเปลี่ยนระบอบที่เป็นเรื่องใหญ่ในที่อื่นๆ จึงเป็นเรื่องเกลี่ยเชื่อมได้โดยรักษาสถาบันและความมั่นคงของสถาบันไว้เป็นหลัก โดยอ้างงว่าสถาบันกษัตริย์เป็นที่สถิตของอำนาจอธิปไตย การเปลี่ยนผ่านจึงลื่น เนียน เพราะมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักยึดอยู่ ท่านเหล่านี้ยังประสานหลักนิติธรรมกับอำนาจธรรมราชา แสดงออกเป็นรูปธรรมในปรากฏการณ์ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เรื่องที่ผิดปกติหรือเป็นความเจ็บป่วยทางสังคมนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นธรรมชาติของ 'ความเป็นไทย' ไป ปัญหา เกิดคือเมื่อมีนักกฎหมายที่ไมเห็นด้วย คือนิติราษฎร์ ซึ่งเป็น ‘ปีศาจของธรรมศาสตร์’ ดูง่ายๆ ก็คือ หาที่จัดงานยาก ต่างกับการจัดเวทีแบบอื่นๆ เช่น จะต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างไร แต่หัวข้อที่นิติราษฎร์จัดคือ การต่อต้านรัฐประหาร และมีอะไรบางอย่างที่แปลกใหม่ไม่เป็นที่คุ้นเคยในงานวิชาการ เช่น ก่อนเวทีเริ่มจะมีการเอาขนมไหว้พระจันทร์ หรือเอาหนังสือมาให้อ.วรเจตน์เซ็นต์ชื่อ นอกจากนี้สิ่งที่นิติราษฎร์ทำนั้นผิดหลักธรรมชาติ ธรรมดาของนักกฎหมาย และแปลก คือไม่ยอมรับอำนาจของการรัฐประหาร ขณะที่รูปแบบกิจกรรมของนิติราษฎร์โดยเฉพาะในระยะหลัง เริ่มนำเสนอหัวข้อที่แหลมคมขึ้น เช่นการลบล้างผลพวงรัฐประหาร เกษียรกล่าวถึงข้อเสนอต่อนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่า คำขวัญของนิติราษฎร์ คือ ‘นิติศาสตร์เพื่อราษฎร’ นั้น น่าคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้เป็น ‘ธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร’ เพราะนิติราษฎร์ไม่ได้โดดเดี่ยว หรือไม่มีเพื่อนมิตรที่เห็นด้วย แต่ควรมีการขยายแวดวงการเสวนาทางวิชาการ และรูปแบบอื่น ไม่เฉพาะการจัดตลาดวิชาการเพื่อมวลชน โดยกระบวนการนั้น นิติราษฎร์และเพื่อนนักวิชาการจะได้แลกเปลี่ยนและปรับแนวคิดให้หลากหลายขึ้น ไปสู่รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร เศรษฐศาสตร์เพื่อราษฎร ประวัติศาสตร์เพื่อราษฎร วารสารศาสตร์เพื่อราษฎร เพื่อกลับไปสู่จิตวิญญาณเดิมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือ ธรรมศาสตร์ทั้งธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร

วันนี้ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเวทีวิชาการนิติราษฎร์เสวนา 2 ปี นิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร โดยเป็นเวทีวิชาการที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกการครบรอบ 6 ปี การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยในงานมีกลุ่มประชาชนและกลุ่มคนเสื้อแดงมาร่วมฟังการบรรยายจนล้นออกมาจาก หอประชุมศรีบูรพา



นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรในหัวข้อ รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวว่า เมื่อมีการรัฐประหารแล้วอำนาจอธิปไตยควรจะไปอยู่ทีประชาชนหรือที่องค์พระมหา กษัตริย์ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะนิติราษฎร์ที่จะหาคำตอบนั้น นอกจากนี้ในสมัยก่อนเมื่อเกิดการรัฐประหารจะไม่มีนักกฎหมายคนไหนออกมาปกป้อง หรือป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประะหารแต่หลังจากเกิดการรัฐประหารปี  2549 ก็มีกลุ่มนักกฎหมายบางกลุ่มออกมาตะโกนให้สังคมรู้ว่า ยังมีวิธีที่จะลบผลพวงและป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารในอนาคตได้



นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า ถ้า สามารถทำให้ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ในเรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหารเป็น จริงได้ ก็จะสามารถนำตัวผู้ก่อการรัฐประหารถูกดำเนินคดีในชั้นศาลได้ แต่ ที่ยังไม่สามารถปรากฎเป็นจริงได้นั้นเพราะคณะนิติราษฎร์ไม่มีอำนาจทางการ เมือง ดังนั้นสิ่งที่ควรช่วยกันก็คือ ประชาชนจะต้องเผยแพร่ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ให้เผยแพร่ออกไปให้มากที่สุด เพื่อฝ่ายการเมืองจะนำไปปฎิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้ แล้วแม้ข้อเสนอของนิติราษฎร์จะไม่สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันใกล้ แต่ข้อเสนอก็ยังอยู่และถูกเผยแพร่้ไปแล้ว ดังนั้นถ้าเกิดมีการรัฐประหารในอนาคต ข้อเสนอของนิติราษฎร์จะถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างแน่นอน



 การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เป็นต้นกำเนิดให้รัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นสากล โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหารในครั้งนั้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญกับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ถ่วงดุล หรือสอดคล้องกันตามหลักรัฐธรรมนูญสากลเหตุเพราะรัฐธรรมนูญฉบับถาวรปี   2492 มีการเพิ่มองคมนตรีขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์ กำหนดให้องคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการ ห้ามมีการแก้่ไขกฎมณเฑียรบาล ซึ่งไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นสากลให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์มีอิสระ ต่ออำนาจของประชาชนขนาดนี้ ดังนั้นข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญก่อนการรัฐ ประหารปี 2490 เป็นต้นแบบในการจัดร่างรัฐธรรมนูญโดยคณะนิติราษฎร์ เหตุเพราะช่วงปี 2475 ถึง 2490 สังคมไทยในช่วงนั้นมีการถ่วงดุลกันระหว่างองค์กรทางการเมืองกับสถานะของ สถาบันนั้นมีความสอดคล้องกับหลักสากล


ส่วนนายปิยบุตร แสวกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า ไม่ว่าจะมีการรัฐประหารกี่ครั้ง อำนาจสูงสุดก็จะเป็นของประชาชน ไม่มีทางถอยเป็นก่อนปฎิวัติ 2475  อีกแล้ว แล้วแม้บางครั้งอำนาจของประชาชนจะถูกฉกฉวยเพราะอำนาจที่ไม่สอดคล้องกับ ประชาธิปไตยบ้าง อย่างไรเสียประชาชนก็จะทวงอำนาจที่เคยเป็นของตัวเองคืนมา
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็เป็นการช่วงชิงอำนาจสูงสุดของประเทศจากพระมหากษัตริย์ไปสู่ประชาชน โดยพระมหากษัตริย์ยินยอมที่จะให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนผ่านการลงพระ ปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
แต่ปัญหาสำคัญของสังคมไทยและกระบวรการยุติธรรม ของไทยก็คือ นักกฎหมายยุคปัจจุบันกลับไม่ซึมซับแนวคิดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงตีความกฎหมายไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เกิดปัญหาสอง
มาตรฐาน ด้วยเหตุนี้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมของไทย ใช้หลักนิติรัฐนิติธรรมแบประชาธิปไตย นักกฎหมายจะต้องตีความกฎหมายตามแนวคิดการปกครองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไม่ใช่มีสำนึกทางกฎหมายว่าอำนาจสูงสุดมิใช่เป็นของประชาชน
ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กล่าวถึงความชอบธรรมของประชาชนในการยืนยันถึงอำนาจอธิปไตย ว่า นักกฎหมายของฝ่ายประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้สร้างวาทกรรมที่ครอบงำสังคมไทยมาเป็นเวลานานคือ “อเนกนิกรสมโสรสมมติ” กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองในการใช้อำนาจปกครองที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ซึ่งมาจากคติทางพระพุทธศาสนาใช้มาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ “กษัตริย์ถูกพร้อมใจให้เลือกเป็นผู้ปกครองเพราะทุกคนยินยอมพร้อมใจกันเลือกให้เป็นผู้ปกครอง” ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ “ผู้ปกครองเป็นผู้ถูกเลือกให้ขึ้นไปปกครอง” มิใช่ “ผู้ถูกปกครองยอมศิโรราบให้แก่ผู้ปกครอง”


ในประวัติศาสตร์ของไทยกลับไม่มีราษฎรเกี่ยวข้องในกระบวนการการเลือกผู้ปกครองอย่างแท้จริง นอกจากเหล่าชนชั้นสูงและขุนนางที่เป็น “นิกรสมมติ”แทน และคติ “อเนกนิกรสมโมสรสมมติ” กลับถูกนำไปสร้างคำอธิบายให้กับการปกครองเผด็จการที่ใช้คำอื่น ๆ ของไทยในเวลาต่อมา เช่น คติการปกครองแบบพ่อปกครองลูกที่แพร่หลายในช่วงหลัง พ.ศ.2500 ประชาชนมีหน้าที่เชื่อฟังผู้ปกครองแบบอำนาจไหลจากบนลงล่างด้วยเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนไทยยอมจำนนยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้น ประชาชนต้องยืนหยัดอำนาจประชาธิปไตยของตนเอง เพราะประชาชนเป็นผู้ตั้งผู้ปกครอง
 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348992667&grpid=03&catid=03&utm_source=twitterfeed&utm_medium=twitter

น.ส.สาวตรี สุขศรี นักวิชาการนิติราษฎร์ กล่าวว่า คอป.ควรเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการแอบอ้างความเป็นกลาง เพื่อรับรองความชอบธรรม ให้มีการปราบปรามประชาชน ซึ่งจากการอ่านรายงานของคอป.เกือบ 300 หน้า มีข้อสงสัย คือ คอป.ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลที่มีผลพวงจากรัฐประหาร ซึ่งจะมีความเป็นกลางในการตรวจสอบอย่างไร โดยครึ่งหนึ่งของรายงานอธิบายถึงปัญหา มากกว่าข้อเสนอที่จะทำให้เกิดความปรองดรอง ข้อสงสัยต่อมา คือ ความเป็นกลางของหน่วยงานต่างๆ แต่ไม่พูดว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีความไม่เป็นกลางหลายคดี แต่กลับระบุเพียงคดีซุกหุ้นเพียงคดีเดียว และพบว่า เรื่องการชุมนุมปิดพื้นที่ของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ก่อให้เกิดปัญหาจำนวนมาก ขณะเดียวกันกลับไม่พูดถึงกรณีคนเสื้อเหลืองปิดสนามบินที่สร้างผลกระทบมหาศาล เช่นกัน

 น.ส.สวตรี กล่าวต่อว่า ยังพบว่า คอป. บอกว่านักการเมืองคอร์รัปชั่น ในขณะเดียวกันกลับไม่มีการรายงานว่า การคอร์รัปชั่นของศาล องค์กรอิสระ หรือ องคมนตรี ที่มีข้อสงสัยเช่นเดียวกัน หรือ เรื่องชายชุดดำ ทำไมไม่มีใครชี้ว่าเป็นฝ่ายใคร ทั้งนี้พบว่าการสลายการชุมนุม มีหลักฐานจำนวนมาก ทั้งกระสุน รอยเลือด แต่กลับพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ก็มีการล้างเมืองครั้งใหญ่ทันที ทั้งที่มีหลักฐานจำนวนมาก ทั้งนี้มีข้อเสนอของคอป.จำนวนมาก เช่น การยุติความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรง ซึ่งการเสนอเหล่านี้ ที่ คอป.มองว่าจะทำให้เกิดความไม่ปรองดองนั้น ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ได้รับการแก้ไขเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำยังเกิดขึ้นในสังคม ปัญหาของประชาชนยังไม่ได้รับการแก้ไข
 http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME9UQXdOemcwTWc9PQ==&utm_source=KhaosodOnline&utm_medium=KhaosodOnline
30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ “การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่ากิจกรรมต่อไปของนิติราษฎร์คือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเวทีเสวนา วรเจตน์กล่าวว่า รัฐประหาร 2490 โดยผิน ชุณหวัณ เป็นต้นแบบของการทำรัฐประหารปัจจุบันคือ ล้มลางการปกครองแล้วเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว และจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ รัฐประหารครั้งที่เปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิงคือจอมพลสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2500 ตามด้วย รัฐประหารอีกครั้ง 2501 ใช้เวลายาวนานก่อนจะก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 รัฐประหารอีกครั้งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ตามกฎหมายในส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ รัฐประหารปี 2534 โดยพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ. 2534 ขึ้นมา รัฐประหารที่สำคัญๆ นั้นส่งผลกระทบต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร แม้บางช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจะปกครองไปในเชิงอำนาจนิยมบ้าง แต่ก็มีกฎหมายเหนี่ยวรั้งอยู่จนถึง พ.ศ. 2489 แต่หลังรัฐประหาร โดยผิน ชุณหวัณ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2490ได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ มีผลเป็นการสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก่อนรัฐประหารปี 2490 กฎเกณฑ์การถ่วงดุลของสถาบันทางการเมืองได้มาตรฐานสากลพอสมควร แต่หลังรัฐประหารครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญหลายเรื่อง ประการแรก คือ การจตัดตั้งให้มีคณะอภิรัฐมนตรี ถ้าครม. จะเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่ทำไว้ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อน รัฐธรรมนูญปี 2492 ก็ได้เป็นต้นแบบให้รัฐธรรมนูญต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน คือ การกำหนดให้มีองคมนตรี และในกรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการฯ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฯ กำหนดห้ามยกเลิก-แก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วนการสืบสันตติวงศ์ และอำนาจในการวีโต้กฎหมายของสถาบัน ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้สืบต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน นี่จึงเป็นที่มาที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้กลับไปใช้แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางก่อนปี 2490 เพราะเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับองค์กรทางการเมืองที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากที่สุด แม้ปี 2517 รัฐธรรมนูญได้ถูกแก้ให้พระราชธิดาสืบสันตติวงศ์ได้ แต่หลายท่านก็ไม่ทราบยว่าหลังรัฐประหารปี 2534 ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ 2 เรื่อง คือ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งแล้ว ให้เชิญรัชทายาทที่แต่งตั้งไว้โดยให้รัฐสภารับทราบ ต่างจากเดิมที่ให้รัฐสภาเห็นชอบ อีกประการคือ แม้ว่ารัฐธรรมนูญบางช่วงเช่น ปี 2492 จะถึงขนาดห้ามแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ปี 2517 ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยวิธีเดียวกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่กฎเกณฑ์นี้ได้รับการยกเลิกไปปี 2534 เพราะหลังรัฐประหาร รัฐธรรมนูญถาวรปี 34 เพิ่มเติมว่าการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลเรื่องการสืบสัตติวงศ์กระทำได้โดยพระมหากษัตริย์เท่านั้น และหลักดังกล่าวรับกันต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปี 2540-2550 คงไว้เหมือนเดิมทุกตัวอักษร ขณะนี้กำลังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีข้อห้ามในทางสาธารณะว่าจะไม่แตะต้องกฎเกณฑ์ในหมวดพระมหากษัตริย์ทั้งๆ ที่ไม่มีการห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญ ประเด็นสำคัญในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็มีการพูดถึงการแตะหรือเปลี่ยนแปลงหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ คำถามคือ การที่รัฐบาลยกร่างฯ แล้วไม่ให้แตะหมวดกษัตริย์ทั้งหมวดนั้นมากเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดห้ามแก้แค่ 2 ประเด็นคือ ห้ามแก้ไขรูปของรัฐ การห้ามแก้เรื่องพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กับกับห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่ได้ห้ามแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ ไม่มีการห้ามไม่ให้แก้ไขเรื่ององคมนตรี การห้ามแก้ไขดังกล่าวในร่างแก้ไขฯ ที่กำลังจัดทำนั้น จึงเป็นสิ่งที่มากกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ วรเจตน์ พบว่าการรัฐประหารในระบบกฎหมายไทย ส่งผลในทาง tradition (จารีต) ในหมู่นักกฎหมายไทยตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมาว่า เมื่อผู้ใดยึดอำนาจรัฐแล้วสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างมั่นคง เขาก็เป็นรัฏาธิปัตย์ ศาลและวงการกฎหมายก็เดินตาแนวคิดแบบนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดการเดินตามแนวคิดแบบนี้ได้ก็ต้องมีการรัฐประหารสำเร็จ ไม่ได้แยกแยะการปฏิวัติในแง่การเปลี่ยนแปลงระบอบกับการแย่งชิงอำนาจรัฐออกจากกัน อ.หยุด แสงอุทัย ได้เสนอไว้และตนมีความเห็นต่างคือ ประเด็นเรื่องความเป็นรัฎฐาธิปัตย์จากการทำรัฐประหาร โดยอ้างอิงจากศาลเยอรมันหลังสงครามโลกที่มีการสถาปนาอาณาจักรไรซ์ เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ ตอนเกิดสาธารณรัฐไวมาร์ มีปัญหาว่าตอนเปลี่ยนระบอบ ตัวอำนาจที่ก่อตั้งใหม่จะถูกโต้แย้งไม่ได้ เพราะได้ตั้งอำนาจขึ้นสำเร็จแล้ว เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นรัฏฐาธิปัตย์ในระบอบการปกครองแบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบรัฐ การปกครองไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่การแย่งชิงอำนาจจากรัฐบาลดังที่เกิดขึ้นในไทย ซึ่งมีความแตกต่างกัน ถามว่าของเรามีคราวไหนที่เป็นการเปลี่ยนระบอบอย่างสิ้นเชิง ก็คือ การอภิวัฒน์ 2475 ในทางรัฐศาสตร์ชัดเจนว่าเป็นการปฏิวัติ แม้ไม่ได้เกิดจากการลุกฮือแต่ทำโดยกลุ่มคนคือคณะราษฎร เปลี่ยนระบอบและตั้งมั่นระบอบใหม่ขึ้น แต่การรัฐประหารโดยผิน ชุณหวัณ ไม่ได้เปลี่ยนความคิดผู้ทรงอำนาจรัฐ หรือระบอบการปกครอง แต่เป็นการแย่งชิงอำนาจรัฐบาล แต่นักกฎหมายไทยมักจะเอามาเทียบในระนาบเดียวกัน เคยมีคนเสียดสีเมื่อครั้งนิติราษฎร์เสนอให้ลบล้างผลพวงรัฐประหารว่า ทำไมไม่เสนอให้ล้มล้างการอภิวัฒน์ 2475 เสียเลย นั่นเพราะเขาไม่เข้าใจว่า 2475 คือการเปลี่ยนตัวระบอบรัฐ มีคุณค่าที่แตกต่างไปจากการยึดอำนาจหรือล้มอำนาจรัฐบาลเฉยๆ เพื่อเปลี่ยนตัวรัฐบาล วรเจตน์ กล่าวต่อว่า แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ความคิดนี้ก็ฝังแนบแน่นในทางกฎหมาย ทำให้เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ต้องห้ามเปลี่ยนแปลงหมวดสถาบันฯ ส่งผลให้แก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่ององคมนตรีไม่ได้ นี่เป็นความสำเร็จอย่างสูงสุดของการรัฐประหารปี 2490 และรัฐธรรมนูญปี 2492 ที่ได้ทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญปักหลักฝังแน่น ไม่มีใครตั้งคำถามว่าสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ไม่มีใครตั้งคำถามนี้อีกจนถึงปัจจุบัน แนวคิดนี้ก็ดำรงอยู่และจะดำรงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่เราไม่สามารถพูดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด โดย strict แค่การไม่แตะต้องรูปแบบการปกครอง วรเจตน์ กล่าว่า สิ่งที่ปรากฏทุกวันนี้มันรุนแรงกว่า หรือมากกว่าการเขียนห้ามแก้รัฐธรรมนูญเสียอีก เพราะถึงแม้ทุกวันนี้จะไม่ได้ห้ามแก้ในเชิงลายลักษณ์ แต่ที่สุดแล้วทุกคนจะไม่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา ว่ารัฐธรรมนูญให้แก้ไขหมวดสถาบันฯ ได้อย่างสันติ ผลคือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เหนือการเมืองก็จะปรากฏเป็นจริงไม่ได้ เพราะถูกล็อกไว้โดยสำนึกที่สืบทอดมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2492 เขากล่าวว่า สิ่งที่นิติราษฎร์เสนอลบล้างผลพวงการรัฐประหารนั้นเป็นเพียงเทคนิค แต่เราไม่ได้เสนอเลยไปถึงเรื่องสำนึกเพราะไม่สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ความสำเร็จของการทำรัฐประหารในสังคมไทยไม่ได้สำเร็จเพียงแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์รัฐธรรมนูญ แต่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของรัฐประหาร 2490 ก่อเกิดธรรมนูญชั่วคราว และรัฐธรรมนูญปี 2492 คือ การฝังสำนึกห้ามแตะต้องรัฐธรรมนูญหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ “เพื่อให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้า เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ต่อหน้าเราได้ ถ้าเราต้องการการปรองดอง ที่สมานฉันท์อย่างแท้จริง อย่างน้อยรัฐธรรมนูญต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สถาบันการเมือง ศาล และกองทัพ” วรเจตน์ กล่าว เขากล่าวว่า แต่ตราบที่สำนึกเช่นนี้ยังมีอยู่ การเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญใหม่จึงไม่ได้ทำได้ง่ายนัก การรัฐประหารไม่ได้สำเร็จได้ด้วยอำนาจทหาร แต่สำเร็จได้โดยการไม่ต่อต้านหรือมองเห็นกฎเกณฑ์ที่เป็นผลผลิตของการรัฐประหาร ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์ให้ย้อนไปสู่กฎเกณฑ์ก่อนปี 2490 คือ ต้องเปิดโอกาสให้คนที่เขาเห็นเป็นอย่างอื่นได้มีโอกาสพูดในที่สาธารณะ และมาอภิปรายกันว่า อะไรดีกว่า แล้วให้คนส่วนใหญ่ได้เลือกทางของเขาที่จะเดินต่อไปในวันข้างหน้าอย่างดีที่สุดกับสังคมและประเทศชาติ “ผมตั้งใจพูดกับท่านเป็นประเด็นหลักประเด็นเดียวเพราะผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้” วรเจตน์ กล่าว
 http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42906

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

twitter

ห้องแชทKonthaiuk