Tag : ศาล รัฐธรรมนูญ คดี สมัคร สุนทรเวช. / 15-03-13 12:41 อ่าน : 1,822
คอลัมน์ : การเมือง / ศาลรัฐธรรมนูญ
วันนี้ ( 15 มี.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญจัดสัมมนา เรื่อง "การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย" โดยนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า ที่ผ่านมาประชาชนยังคงสับสนและบางครั้งก็มีการต่อต้านการทำหน้าที่ของศาล อาทิคำวินิจฉัยที่ให้ นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการอ้างถึงพจนานุกรมนั้น
นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ชี้แจงว่า คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัครนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน ทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัครรับจ้างจริงหรือไม่ ขณะที่การต้องรีบเร่งอ่านคำวินิจฉัยในวันตัดสินคดี ก็ทำให้การเขียนคำวินิจฉัยในคดีผิด พลาดได้ง่ายด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้วางกรอบคำวินิจฉัยที่เป็นไปได้ในคดีต่างๆ ไว้ก่อน และนำมาปรับใช้ในการเขียนคำวินิจฉัยจริง เพื่อให้อ่านคำวินิจฉัยได้ทันในวันตัดสินคดี ขณะที่ ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องทำความเข้าใจกับมวลชนของพรรคการเมือง ควบคู่การทำหน้าที่รักษากฎหมาย
http://www.tnews.co.th/html/news/53233/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94-!!.html
ศาล รธน.ยอมรับคำวินิจฉัย"สมัคร"พ้นนายกฯผิดพลาด"เรืองไกร"ถามจะรับผิดชอบอย่างไร
updated: 15 มี.ค. 2556 เวลา 15:15:42 น.
จากกรณี นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
กล่าวตอนหนึ่งในงานสัมมนา"การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญใน
ระบอบประชาธิปไตย โดยระบุถึง คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช
อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดี จัดรายการอาหาร”ชิมไปบ่นไป” ว่า
เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน
ทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย
ต้องระบุก่อนว่านายสมัครรับจ้างจริงหรือไม่
ขณะที่การต้องรีบเร่งอ่านคำวินิจฉัยในวันตัดสินคดี
ก็ทำให้การเขียนคำวินิจฉัยในคดีผิดพลาดได้ง่ายด้วยนั้น
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม นายเรืองไกร ลีกิจวรรณะ อดีต สว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้อง ตรวจสอบการดำรงตำแหน่งนายกฯของนายสมัครในคดีนี้ เปิดเผยว่า ตนมองว่าเป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวของนายวสันต์คนเดียว ที่เป็นการพูดนอกศาล ทั้งนี้ ถ้าเห็นว่าคำวินิจฉัยของนายวสันต์ผิดพลาดจริง คณะตุลาการอีก 8 ท่าน ที่ร่วมลงมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ในการตัดสินคดีครั้งนั้น จะมีความเห็นว่าคำวินิจฉัยนั้นผิดพลาดเช่นเดียวกับนายวสันต์หรือไม่ ถ้าคณะตุลาการทั้งหมดเห็นตรงกันว่าผิดพลาดก็สมควรกลับคำวินิจฉัย คืนตำแหน่งให้นายสมัคร และออกมาขอโทษประชาชน
นายเรืองไกร กล่าวว่า อย่างไรก็ตามตนขอฝากให้นายวสันต์ทำหน้าที่ในฐานะประธานศาลให้ถูกต้อง และถ้ารู้ตัวว่าผิดจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร โดยเฉพาะในขณะนี้ที่สังคมมีการกังขาในการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญกัน อย่างกว้างขวาง
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม นายเรืองไกร ลีกิจวรรณะ อดีต สว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้อง ตรวจสอบการดำรงตำแหน่งนายกฯของนายสมัครในคดีนี้ เปิดเผยว่า ตนมองว่าเป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวของนายวสันต์คนเดียว ที่เป็นการพูดนอกศาล ทั้งนี้ ถ้าเห็นว่าคำวินิจฉัยของนายวสันต์ผิดพลาดจริง คณะตุลาการอีก 8 ท่าน ที่ร่วมลงมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ในการตัดสินคดีครั้งนั้น จะมีความเห็นว่าคำวินิจฉัยนั้นผิดพลาดเช่นเดียวกับนายวสันต์หรือไม่ ถ้าคณะตุลาการทั้งหมดเห็นตรงกันว่าผิดพลาดก็สมควรกลับคำวินิจฉัย คืนตำแหน่งให้นายสมัคร และออกมาขอโทษประชาชน
นายเรืองไกร กล่าวว่า อย่างไรก็ตามตนขอฝากให้นายวสันต์ทำหน้าที่ในฐานะประธานศาลให้ถูกต้อง และถ้ารู้ตัวว่าผิดจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร โดยเฉพาะในขณะนี้ที่สังคมมีการกังขาในการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญกัน อย่างกว้างขวาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น