- bigbuff: http://www.mediafire.com/?6tknqxr4ptbxu68
- มดตะนอย: http://www.4shared.com/mp3/zUtk8IB6/1856.html
- amREDshirt: http://www.mediafire.com/?89ybq56c807ercb
PEACE TV LIVE
24Tv
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556
คลิป รายการนายแน่มาก เดือนเมษายน 2556 วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2556
วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556
โอ๊คพานทองแท้ โชว์รูป "กรณ์ และ เมีย" ดักรอพบ"ทักษิณ" ที่ฮ่องกง

Oak Panthongtae Shinawatra
ผมไม่ทราบว่าพฤติกรรมลับๆล่อๆ คลุมเครือๆ ทำไมนิยมทำกันนักครับ พรรคฯนี้
คราว ก่อนก็ทีนึง ออกมาปล่อยข่าวเองว่า สุภาพสตรีสูงศักดิ์มาขอสุเทพฯให้ไปพบทักษิณฯ ผมถามไปถามมา ทำท่าจะกลายเป็นมาขอทักษิณฯให้สุเทพฯเข้าพบเสียมากกว่า
มาคราวนี้อีก เหมือนกัน ไปฮ่องกงจะไปพบหรือไม่พบใคร ได้เข้าพบหรือไม่ได้เข้าพบ ก็ชี้แจงกันไปตรงๆครับ ไม่ใช่พูดกันงึมงำๆ ข้าพศพผัวศพเมีย เรียกเสียงกรี๊ดสลิ่มเข้าว่า
จะชี้แจงกับพี่น้องประชาชนทั้งทีพูดไม่ เคลียร์แบบนี้ ไม่ดีกับทุกๆฝ่ายครับ ฝั่งผมนะไม่เท่าไหร่ครับ หนักเเน่นกันอยู่เเล้ว เเต่สลิ่มทั้งหลายอ่ะดิ ยิ่งขวัญอ่อนกันอยู่
ดร.เสรีฯ อดีตแฟนคลับตัวยง อุตส่าห์ถามด้วยความเป็นห่วง กลับโดนสลิ่มบ้องตื้นขี้ตกใจทั้งหลายรุมด่ากันกระเจิง จนถอนสมอประกาศเลิกเชียร์ปชป.กันไปคนนึงแล้ว
อธิบายกันแค่นี้ทำกัน ไม่เป็น ก็อย่าจะไปคิดทำการใหญ่กันเลยครับ ก็แค่บอกไปตรงๆว่า วันนั้นที่ฮ่องกงไปทำอะไร บังเอิญหรือจงใจ ที่ไปนั่งเล่นอยู่เป็นชั่วโมง2ชั่วโมง ไปดักรอพบใครหรือเปล่า ได้เข้าพบหรือไม่ได้เข้าพบ ก็พูดความจริงไปเท่านั้นเอง
ฝั่งผมชี้แจงชัดเจน "จะบังเอิญอย่างไร ก็ไม่ให้พบ" เคลียร์มั๊ยครับ??
ปล. ถ้านึกไม่ออกว่าวันไหน ดูจากในรูปก็ได้ บังเอิญมีคนถ่ายภาพวิวแล้วติดมาครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=500410483340723&set=a.187295081318933.44541.186006744781100&type=1&theater
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล วันที่16 เมษายน 2556
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล วันที่16 เมษายน 2556
รางวัลที่ 1 คือ 843846
เลขท้าย 3 ตัว 834,862,906,828
เลขท้าย 2 ตัว 86

ตรวจหวย งวด 16 เม.ย. ทุกรางวัล ที่นี่ >> http://lottery.kapook.com/
รางวัลที่ 1 คือ 843846
เลขท้าย 3 ตัว 834,862,906,828
เลขท้าย 2 ตัว 86

ตรวจหวย งวด 16 เม.ย. ทุกรางวัล ที่นี่ >> http://lottery.kapook.com/
วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556
สบน.ไขปมหนี้สาธารณะ ยันกู้2ล้านล้านไม่มีปัญหา
สบน.ไขปมหนี้สาธารณะ ยันกู้2ล้านล้านไม่มีปัญหา
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ความเห็นที่แตกต่างกันเรื่องหนี้สาธารณะสร้างความสับสนให้คนที่ติดตามข่าวนี้ไม่น้อย
ฝ่าย รัฐบาลยืนยันว่าแม้จะมีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และเงินกู้อื่นๆ หนี้สาธารณะสูงสุดของไทยอยู่ที่ 49% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในปรเะเทศ (จีดีพี) จากขณะนี้อยู่ในระดับ 44% ต่อจีดีพี ซึ่งไม่เกินกรอบวินัยการเงินการคลังที่ 60% ต่อจีดีพี
ด้านฝ่ายที่คัดค้านมองแนวโน้มหนี้สาธารณะของไทย ช่วงปี 2555-2562 จะอยู่ในระดับ 60-80% ต่อจีดีพี
หนังสือ พิมพ์ข่าวสดจึงสัมภาษณ์ น.ส. จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งเป็นผู้ชี้แจงได้กระจ่างชัดที่สุด
ข้อเป็นห่วงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท การกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ประชานิยมของรัฐบาล ทำให้หนี้สาธารณะเกิน 60% ต่อจีดีพี
พยายาม ติดตามข้อมูลว่าทำไมจึงแตกต่างกัน พบว่ามีการนำตัวเลขประชานิยม อาทิ รถคันแรก มาบวกในหนี้สาธารณะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับหนี้สาธารณะเลย เพราะเงินที่คืนให้กับโครงการรถคันแรกเป็นเงินที่เก็บมาจาก ผู้ซื้อรถยนต์ ไม่ได้กู้เงินมาจ่าย
ส่วนโครงการรับจำนำข้าวนั้นกำหนดกรอบกู้เงิน ไว้ไม่เกิน 4.1 แสนล้านบาท กู้ช่วง 2 ปีงบประมาณคือ 2555-2556 จะได้รับเงินคืนจากการขายข้าวบ้าง ไม่ใช่จะเสียหายทันที 4.1 แสนบาท การนำทุกอย่างมารวมในหนี้ ตัวเลขจึงสูง
สวนทางกับนักวิชาการ และฝ่ายค้านที่มองว่าหนี้สาธารณะจะสูง 60-80%
ใน การบริหารหนี้สาธารณะมีคณะกรรมการเกี่ยวข้องหลายคณะ มีระเบียบข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากรอบจะกำหนดไว้ 60% ต่อจีดีพี แต่รัฐบาลกำหนดแนวทางปฏิบัติต้องไม่เกิน 50% ต่อจีดีพี เพื่อให้มีช่องว่างไว้สำหรับกู้เงินหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
คนที่ คิดตัวเลขจะนำอะไรมาบวกก็ได้ เพื่อให้ตัวเลขสูง แต่ในส่วนของสบน.เอง ยืนยันว่าตัวเลขที่ไม่เกิน 50% ต่อจีดีพีนั้นรวมหนี้ทุกอย่างตามกฎหมายแล้ว คือ หนี้รัฐบาล หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้สถาบันการเงินของรัฐ(แบงก์รัฐ) ที่รัฐบาลค้ำประกัน หนี้หน่วยงานรัฐอื่นๆ
สบน.นำเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เงินกู้บริหารน้ำ 3.01 แสนล้านบาท เงินกู้ประกันภัยพิบัติล่าสุดที่กู้ยังไม่ถึง 5 หมื่นล้านบาท มาคำนวณ พบว่าหนี้สาธารณะสูงสุดคือในปี 2559-2560 อยู่ที่ 49% ต่อจีพีดี โดยในปี 2560 คาดว่าจีดีพีจะมีมูลค่า 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้สาธารณะที่ระดับ 8 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 5 ล้านล้านบาท
การก่อหนี้ของไทยอาจซ้ำรอยวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป และญี่ปุ่น
หนี้ ของไทยที่มีแผนก่อหนี้ใหม่ อาทิ 2 ล้านล้านบาท ถือเป็นหนี้ที่มีคุณภาพ เพราะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่มีผลตอบแทนในอนาคต ทำให้ระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเหล่า นั้น ระดับหนี้สาธารณะของไทยยังต่ำกว่ามาก ของไทยอยู่ที่ 44% ต่อจีดีพี เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น หนี้สาธารณะอยู่ในระดับ 237% ต่อจีดีพี กรีซ 171% สิงคโปร์ 106% อิตาลี 126% สหรัฐ 107% เวียดนาม 50% มาเลเซีย และลาว ที่ 53% พม่า 44% เกาหลีใต้ 34% กัมพูชา 29% จีน 22%
กรอบหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ 60% ต่อจีดีพี จะแน่ใจได้อย่างไรว่าในอนาคต สบน.จะบริหารไม่ให้เกินระดับนี้
กรอบ หนี้แม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับ ที่ผ่านมาการกำหนดกรอบหนี้มีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ อาทิ ช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง กำหนดกรอบหนี้ไว้สูงสุดถึง 65% เพราะต้องไปกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หนี้พุ่งสูงสุดที่ 61.71% ในปี 2543 หลังจากนั้นปรับหลายครั้งจนล่าสุดอยู่ที่ 60%
รัฐบาลมีนโยบายลดขาด ดุลงบประมาณทุกปี มีเป้าหมายจัดทำงบสมดุลในปี 2559 ทำรายรับให้เท่ากับรายจ่าย การกู้มาชดเชยขาดดุลปีละ 2-4 แสนล้านบาท จะลดลงเหลือเพียงกู้ตามโครงการที่ยังค้างอยู่คือ 2 ล้านล้านบาท จึงมั่นใจว่าการบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปตามแผนที่วางไว้
สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เหมาะสมของไทย
คง ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ สถาน การณ์ทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นในการใช้เงิน พร้อมทั้งต้องพิจารณาถึงตลาดตราสารหนี้ที่รองรับพันธบัตรและการกู้เงินจาก รัฐบาล
ในอดีตช่วงปี 2539 อยู่ในระดับที่ต่ำมากเพียง 14.55% ต่อจีดีพี แต่พอเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ขึ้นมาอยู่ที่ 35.58% ต่อจีดีพี และเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 61.71% ต่อจีดีพี ในช่วงปี 2543 หลังจากนั้นเริ่มปรับลดลงมาอยู่ที่ 37.27% ต่อจีดีพี เมื่อปี 2551 จนล่าสุดในปี 2556 อยู่ในระดับ 44% ต่อจีดีพี
ระดับหนี้ผูกพันกับจี ดีพี ขณะนี้มีมูลค่าที่ 12 ล้านล้านบาท คาดการณ์ว่าจากนี้ไปจีดีพีโตเฉลี่ยอย่างน้อย 4.5% คาดว่าในปี 2663 จะมีระดับจีดีพีที่ 20.2 ล้านล้านบาท ถ้าดูแล้วหากจะก่อหนี้ในระดับ 50% ต่อจีดีพี สามารถมีหนี้รวมต้องไม่เกิน 10.1 ล้านบาท เทียบกับขณะนี้จีดีพีมูลค่า 12 ล้านล้านบาท มีระดับหนี้สาธารณะที่ 5 ล้านล้านบาท หรือ 44%
รายได้ที่จะนำเงินมาใช้หนี้มาจากส่วนไหนบ้าง
หลักๆ คือจากภาษีต่างๆ การจัดเก็บภาษีจะเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนที่เป็นแหล่งรายได้รอง อาทิ เงินนำส่งของรัฐวิสาหกิจ รายได้จากทรัพย์สินที่กรมธนารักษ์ถืออยู่ ปีนี้รัฐบาลตั้งเป้าจัดเก็บที่ระดับ 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการจัดสรรเงินมาใช้หนี้เงินกู้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น เป็นไปตามการพิจารณาของสำนักงบประมาณ ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับกว่า 10% ของงบประมาณรายจ่าย เงินที่ได้รับจัดสรรมาชำระหนี้ต้องไม่เกินจากกรอบความยั่งยืนทางการคลัง กำหนดไว้ไม่เกิน 15% ของงบประมาณรายจ่าย
ไทยยังมีหนี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่นับรวมเป็นหนี้สาธารณะ (หนี้แฝง) เท่าไหร่
เท่า ที่ดูมีจำนวนไม่มากนัก คือหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่กว่า 7,000 แห่ง เท่าที่ดูเบื้องต้นในระดับหมื่นล้าน ส่วนหนี้อื่นๆ เคยมีผู้โยงไว้คือ หนี้ของแบงก์รัฐ ที่กู้เอง ซึ่งตามกฎหายไม่ถือว่าเป็นหนี้สาธารณะ แต่เชื่อว่าในระบบการดูแลแบงก์รัฐ ที่มีทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดูแลอยู่คงไม่เกิดปัญหาง่ายๆ หากมีปัญหาจริง กระทรวงการคลังต้องเพิ่มทุน หรือควบรวมกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับหนี้สาธารณะ เพียงแต่ถูกเชื่อมโยงว่าแบงก์รัฐ หากเกิดปัญหารัฐก็ต้องดูแล
การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทฝ่ายค้านระบุว่าผิดกฎหมาย เพราะเป็นเงินนอกงบประมาณ
ที่ผ่านมามีการกู้เงินในลักษณะนี้หลายครั้ง และคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 12 (กฎหมายการคลัง) พิจารณาแล้วว่าทำได้
ภาระหนี้ 2 ล้านล้านบาท ที่กำหนดให้ใช้หนี้ใน 50 ปี เหมาะสมหรือไม่
การ พิจารณาเรื่องใช้หนี้ 50 ปีนั้น สบน.นำตัวอย่างมาจากญี่ปุ่นที่การกู้ส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาใช้หนี้ชัดเจน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของไทย ที่กำหนดเวลาใช้หนี้อย่างชัดเจน
สำหรับ ระยะเวลาในการใช้หนี้ สบน.คิดจากผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง อาทิ รถไฟ ท่าเรือ ถนน ที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องสูงสุด 50 ปี ดังนั้นการใช้หนี้ 50 ปีจึงเหมาะสม ที่บอกกันว่าเป็นการสร้างหนี้ให้ลูกหลาน สบน.มองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมเช่นกัน เพราะสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ทำให้เพื่อลูกหลานใช้ประโยชน์ ลูกหลานควรต้องใช้หนี้ที่เกิดขึ้น
หวังว่าคำอธิบายของผู้อำนวยการสบน. น่าจะสร้างความกระจ่างได้บ้างตามสมควร
หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEUwTURRMU5nPT0%3D§ionid=TURNd05RPT0%3D&day=TWpBeE15MHdOQzB4TkE9PQ%3D%3D
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ความเห็นที่แตกต่างกันเรื่องหนี้สาธารณะสร้างความสับสนให้คนที่ติดตามข่าวนี้ไม่น้อย
ฝ่าย รัฐบาลยืนยันว่าแม้จะมีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และเงินกู้อื่นๆ หนี้สาธารณะสูงสุดของไทยอยู่ที่ 49% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในปรเะเทศ (จีดีพี) จากขณะนี้อยู่ในระดับ 44% ต่อจีดีพี ซึ่งไม่เกินกรอบวินัยการเงินการคลังที่ 60% ต่อจีดีพี
ด้านฝ่ายที่คัดค้านมองแนวโน้มหนี้สาธารณะของไทย ช่วงปี 2555-2562 จะอยู่ในระดับ 60-80% ต่อจีดีพี
หนังสือ พิมพ์ข่าวสดจึงสัมภาษณ์ น.ส. จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งเป็นผู้ชี้แจงได้กระจ่างชัดที่สุด
ข้อเป็นห่วงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท การกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ประชานิยมของรัฐบาล ทำให้หนี้สาธารณะเกิน 60% ต่อจีดีพี
พยายาม ติดตามข้อมูลว่าทำไมจึงแตกต่างกัน พบว่ามีการนำตัวเลขประชานิยม อาทิ รถคันแรก มาบวกในหนี้สาธารณะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับหนี้สาธารณะเลย เพราะเงินที่คืนให้กับโครงการรถคันแรกเป็นเงินที่เก็บมาจาก ผู้ซื้อรถยนต์ ไม่ได้กู้เงินมาจ่าย
ส่วนโครงการรับจำนำข้าวนั้นกำหนดกรอบกู้เงิน ไว้ไม่เกิน 4.1 แสนล้านบาท กู้ช่วง 2 ปีงบประมาณคือ 2555-2556 จะได้รับเงินคืนจากการขายข้าวบ้าง ไม่ใช่จะเสียหายทันที 4.1 แสนบาท การนำทุกอย่างมารวมในหนี้ ตัวเลขจึงสูง
สวนทางกับนักวิชาการ และฝ่ายค้านที่มองว่าหนี้สาธารณะจะสูง 60-80%
ใน การบริหารหนี้สาธารณะมีคณะกรรมการเกี่ยวข้องหลายคณะ มีระเบียบข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากรอบจะกำหนดไว้ 60% ต่อจีดีพี แต่รัฐบาลกำหนดแนวทางปฏิบัติต้องไม่เกิน 50% ต่อจีดีพี เพื่อให้มีช่องว่างไว้สำหรับกู้เงินหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
คนที่ คิดตัวเลขจะนำอะไรมาบวกก็ได้ เพื่อให้ตัวเลขสูง แต่ในส่วนของสบน.เอง ยืนยันว่าตัวเลขที่ไม่เกิน 50% ต่อจีดีพีนั้นรวมหนี้ทุกอย่างตามกฎหมายแล้ว คือ หนี้รัฐบาล หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้สถาบันการเงินของรัฐ(แบงก์รัฐ) ที่รัฐบาลค้ำประกัน หนี้หน่วยงานรัฐอื่นๆ
สบน.นำเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เงินกู้บริหารน้ำ 3.01 แสนล้านบาท เงินกู้ประกันภัยพิบัติล่าสุดที่กู้ยังไม่ถึง 5 หมื่นล้านบาท มาคำนวณ พบว่าหนี้สาธารณะสูงสุดคือในปี 2559-2560 อยู่ที่ 49% ต่อจีพีดี โดยในปี 2560 คาดว่าจีดีพีจะมีมูลค่า 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้สาธารณะที่ระดับ 8 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 5 ล้านล้านบาท
การก่อหนี้ของไทยอาจซ้ำรอยวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป และญี่ปุ่น
หนี้ ของไทยที่มีแผนก่อหนี้ใหม่ อาทิ 2 ล้านล้านบาท ถือเป็นหนี้ที่มีคุณภาพ เพราะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่มีผลตอบแทนในอนาคต ทำให้ระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเหล่า นั้น ระดับหนี้สาธารณะของไทยยังต่ำกว่ามาก ของไทยอยู่ที่ 44% ต่อจีดีพี เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น หนี้สาธารณะอยู่ในระดับ 237% ต่อจีดีพี กรีซ 171% สิงคโปร์ 106% อิตาลี 126% สหรัฐ 107% เวียดนาม 50% มาเลเซีย และลาว ที่ 53% พม่า 44% เกาหลีใต้ 34% กัมพูชา 29% จีน 22%
กรอบหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ 60% ต่อจีดีพี จะแน่ใจได้อย่างไรว่าในอนาคต สบน.จะบริหารไม่ให้เกินระดับนี้
กรอบ หนี้แม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับ ที่ผ่านมาการกำหนดกรอบหนี้มีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ อาทิ ช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง กำหนดกรอบหนี้ไว้สูงสุดถึง 65% เพราะต้องไปกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หนี้พุ่งสูงสุดที่ 61.71% ในปี 2543 หลังจากนั้นปรับหลายครั้งจนล่าสุดอยู่ที่ 60%
รัฐบาลมีนโยบายลดขาด ดุลงบประมาณทุกปี มีเป้าหมายจัดทำงบสมดุลในปี 2559 ทำรายรับให้เท่ากับรายจ่าย การกู้มาชดเชยขาดดุลปีละ 2-4 แสนล้านบาท จะลดลงเหลือเพียงกู้ตามโครงการที่ยังค้างอยู่คือ 2 ล้านล้านบาท จึงมั่นใจว่าการบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปตามแผนที่วางไว้
สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เหมาะสมของไทย
คง ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ สถาน การณ์ทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นในการใช้เงิน พร้อมทั้งต้องพิจารณาถึงตลาดตราสารหนี้ที่รองรับพันธบัตรและการกู้เงินจาก รัฐบาล
ในอดีตช่วงปี 2539 อยู่ในระดับที่ต่ำมากเพียง 14.55% ต่อจีดีพี แต่พอเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ขึ้นมาอยู่ที่ 35.58% ต่อจีดีพี และเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 61.71% ต่อจีดีพี ในช่วงปี 2543 หลังจากนั้นเริ่มปรับลดลงมาอยู่ที่ 37.27% ต่อจีดีพี เมื่อปี 2551 จนล่าสุดในปี 2556 อยู่ในระดับ 44% ต่อจีดีพี
ระดับหนี้ผูกพันกับจี ดีพี ขณะนี้มีมูลค่าที่ 12 ล้านล้านบาท คาดการณ์ว่าจากนี้ไปจีดีพีโตเฉลี่ยอย่างน้อย 4.5% คาดว่าในปี 2663 จะมีระดับจีดีพีที่ 20.2 ล้านล้านบาท ถ้าดูแล้วหากจะก่อหนี้ในระดับ 50% ต่อจีดีพี สามารถมีหนี้รวมต้องไม่เกิน 10.1 ล้านบาท เทียบกับขณะนี้จีดีพีมูลค่า 12 ล้านล้านบาท มีระดับหนี้สาธารณะที่ 5 ล้านล้านบาท หรือ 44%
รายได้ที่จะนำเงินมาใช้หนี้มาจากส่วนไหนบ้าง
หลักๆ คือจากภาษีต่างๆ การจัดเก็บภาษีจะเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนที่เป็นแหล่งรายได้รอง อาทิ เงินนำส่งของรัฐวิสาหกิจ รายได้จากทรัพย์สินที่กรมธนารักษ์ถืออยู่ ปีนี้รัฐบาลตั้งเป้าจัดเก็บที่ระดับ 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการจัดสรรเงินมาใช้หนี้เงินกู้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น เป็นไปตามการพิจารณาของสำนักงบประมาณ ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับกว่า 10% ของงบประมาณรายจ่าย เงินที่ได้รับจัดสรรมาชำระหนี้ต้องไม่เกินจากกรอบความยั่งยืนทางการคลัง กำหนดไว้ไม่เกิน 15% ของงบประมาณรายจ่าย
ไทยยังมีหนี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่นับรวมเป็นหนี้สาธารณะ (หนี้แฝง) เท่าไหร่
เท่า ที่ดูมีจำนวนไม่มากนัก คือหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่กว่า 7,000 แห่ง เท่าที่ดูเบื้องต้นในระดับหมื่นล้าน ส่วนหนี้อื่นๆ เคยมีผู้โยงไว้คือ หนี้ของแบงก์รัฐ ที่กู้เอง ซึ่งตามกฎหายไม่ถือว่าเป็นหนี้สาธารณะ แต่เชื่อว่าในระบบการดูแลแบงก์รัฐ ที่มีทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดูแลอยู่คงไม่เกิดปัญหาง่ายๆ หากมีปัญหาจริง กระทรวงการคลังต้องเพิ่มทุน หรือควบรวมกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับหนี้สาธารณะ เพียงแต่ถูกเชื่อมโยงว่าแบงก์รัฐ หากเกิดปัญหารัฐก็ต้องดูแล
การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทฝ่ายค้านระบุว่าผิดกฎหมาย เพราะเป็นเงินนอกงบประมาณ
ที่ผ่านมามีการกู้เงินในลักษณะนี้หลายครั้ง และคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 12 (กฎหมายการคลัง) พิจารณาแล้วว่าทำได้
ภาระหนี้ 2 ล้านล้านบาท ที่กำหนดให้ใช้หนี้ใน 50 ปี เหมาะสมหรือไม่
การ พิจารณาเรื่องใช้หนี้ 50 ปีนั้น สบน.นำตัวอย่างมาจากญี่ปุ่นที่การกู้ส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาใช้หนี้ชัดเจน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของไทย ที่กำหนดเวลาใช้หนี้อย่างชัดเจน
สำหรับ ระยะเวลาในการใช้หนี้ สบน.คิดจากผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง อาทิ รถไฟ ท่าเรือ ถนน ที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องสูงสุด 50 ปี ดังนั้นการใช้หนี้ 50 ปีจึงเหมาะสม ที่บอกกันว่าเป็นการสร้างหนี้ให้ลูกหลาน สบน.มองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมเช่นกัน เพราะสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ทำให้เพื่อลูกหลานใช้ประโยชน์ ลูกหลานควรต้องใช้หนี้ที่เกิดขึ้น
หวังว่าคำอธิบายของผู้อำนวยการสบน. น่าจะสร้างความกระจ่างได้บ้างตามสมควร
หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEUwTURRMU5nPT0%3D§ionid=TURNd05RPT0%3D&day=TWpBeE15MHdOQzB4TkE9PQ%3D%3D
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)